คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดใช้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับขายที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ผู้รับโอนไม่ได้รับการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการโอน ย่อมไม่เป็นธรรม
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการพิพากษาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งซึ่งเป็นการบังคับขายตามกฎหมายมิใช่เป็นการซื้อขายโดยสมัครใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ต้องการคุ้มครองผู้เช่านาให้ได้สิทธิซื้อที่นาที่เช่าอยู่ก่อนคนอื่นเท่านั้นแต่ยังต้องการคุ้มครองผู้รับโอนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ไม่ต้องเสียหายเกินสมควรโดยให้ได้รับการชดใช้คืนซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นานั้นมาอย่างบริบูรณ์ด้วยการให้ผู้รับโอนรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นจำนวนท่วมราคาซื้อขายทั้งๆที่ผู้รับโอนถูกบังคับขายเช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ผู้รับโอนมิได้รับการชดใช้ซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นามาอย่างบริบูรณ์และไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับโอนตามเจตนารมณ์ของกฎหมายค่าธรรมเนียมในการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่านาจะต้องรับภาระเองดังนั้นแม้คำพิพากษาศาลฎีกาจะมิได้กำหนดให้โจทก์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์ก็จะอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขายหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากราคาซื้อขายที่กำหนดในคำพิพากษาไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาและจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลโดยมิใช่คำร้องที่สามารถทำได้ฝ่ายเดียวศาลย่อมมีอำนาจส่งสำเนาให้โจทก์เพื่อให้โอกาสคัดค้านและเมื่อศาลฟังคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วก็สามารถมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(2)หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้วหากโจทก์ยังคงไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาจำเลยที่2ก็ชอบที่จะขอออกคำบังคับและหมายบังคับคดีเพื่อบังคับคดีแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชดใช้เช็คปลอม แม้จะไม่ได้ประมาทเลินเล่อ แต่เมื่อลายมือชื่อไม่ตรงกับตัวอย่าง
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือมีผู้ลักและปลอมลายมือชื่อโจทก์ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับแล้วนำไปเบิกเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยพนักงานของจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่แล้วจ่ายเงินไปทำให้โจทก์เสียหายจำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะความประมาทเลินเล่อเท่านั้นส่วนลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับปลอมหรือไม่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ทั้งได้ให้การว่าโจทก์ให้บุคคลภายนอกเลียนแบบลายมือชื่อโจทก์ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องนำเจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเบิกความรับรองผลการตรวจพิสูจน์อีก การที่โจทก์เก็บรักษาเช็คไว้ในลิ้นชักที่มีกุญแจใส่อยู่ในบ้านและลูกกุญแจแขวนไว้ใต้โต๊ะทำงานเป็นการเก็บรักษาเช็คดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำตามปกติธรรมดาถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อการที่พนักงานของจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปแม้จะอ้างว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ต่อค่ารักษาพยาบาล และการหักชดใช้จากประกันชีวิต
จำเลยผู้รับประกันภัยรถยนต์ในประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้ประสบภัยตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)โดยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม. มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะและจะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากการล่าช้าในการชดใช้
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์... พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสองบัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้งสองนี้ เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8394/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนกำหนดและการชดใช้ค่าเสียหายของผู้รับจ้าง
สัญญาว่าจ้างถมดินระหว่างผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้างไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดแห่งการทำงานของผู้รับจ้างไว้ เมื่อผู้รับจ้างมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ผู้ว่าจ้างไม่ประสงค์จะให้ผู้รับจ้างถมดินต่อไป แม้ผู้ว่าจ้างอาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่ผู้รับจ้างได้ก็ตาม แต่ผู้ว่าจ้างต้องเสียสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใด ๆอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นแก่ผู้รับจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 605
ค่าสินไหมทดแทนที่ให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 605 นั้น มิได้จำกัดเฉพาะค่าแรงงานและทุนที่ลงไปเท่านั้น แต่รวมไปถึงค่าขาดผลประโยชน์หรือผลกำไรที่ผู้รับจ้างควรจะได้รับจากกิจการงานนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิยังไม่จดทะเบียน
โจทก์เป็นประธานกรรมการและเลขานุการจัดตั้งมูลนิธิ น.พระครู ส.ในฐานะเจ้าอาวาสวัดจำเลยได้ยืมเงินจำนวน 150,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ น.ไปจากโจทก์ ดังนี้ แม้มูลนิธิ น.จะยังไม่ได้จดทะเบียนก่อตั้งให้สมบูรณ์ และเงินที่พระครู ส.ขอยืมไปเป็นเงินที่ได้รับบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ น. มิใช่เงินของโจทก์ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของโจทก์ หากมูลนิธิ น.ได้จดทะเบียนก่อตั้งสมบูรณ์ตามกฎหมายโจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งมอบคืนให้แก่มูลนิธิ น. ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินคืน ทั้งได้ทวงถามแล้ว พระครู ส.ไม่ยอมชดใช้ ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดประโยชน์จากรถราชการเสียหาย: จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จนกว่าจะมีการชดใช้
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์จนเพลิงลุกไหม้เสียหายหมดทั้งคัน รถโจทก์เป็นรถที่ใช้ในราชการประจำอยู่โรงพยาบาล หลังจากจำเลยก่อเหตุละเมิดแล้วไม่ยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการมิได้ใช้รถซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการละเมิด ดังนั้นนอกจากจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์และอุปกรณ์การแพทย์ให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยยังต้องรับผิดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์มิได้ใช้รถยนต์อันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดในระหว่างที่จำเลยไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีชดใช้ราคารถหาย เมื่อรถคืนสภาพเดิม คดีสิ้นสุด ไม่ต้องชดใช้
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยผู้รับฝากชดใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายจำนวน383,700บาทเท่านั้นเมื่อปรากฎว่าขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ได้รับรถยนต์ตามฟ้องกลับคืนมาแล้วดังนั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทีว่ารถยนต์ของโจทก์ที่ฝากไว้แก่จำเลยทั้งสองสูญหายย่อมหมดไปคดีจึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไปแต่หากจะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ก็จะเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ได้รับรถยนต์กลับคืนแล้วและไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไปศาลฎีกาพิพากษาศาลล่างทั้งสองและให้จำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตระเบียบการลาศึกษาต่อ: การฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคอลไม่ผูกพันการชดใช้
ระเบียบของโจทก์ที่กำหนดว่า พนักงานที่ลาไปศึกษาเมื่อได้ศึกษาสำเร็จแล้วจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าเท่าของเวลาที่ได้ลาไป มิฉะนั้นต้องชดใช้เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้และค่าความเสียหายในระหว่างหรือเนื่องจากการลานั้น หมายถึง กรณีที่พนักงานลาไปศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียนต่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีเท่านั้นแต่กรณีจำเลยเป็นการไปรับการฝึกอบรมในหลักสูตรเทคนิคอล เพาเวอร์ดิสตริบิวชั่น ออฟ อีเลคทริค เพาเวอร์ เนทเวิร์ค ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ-เยอรมัน โดยได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนและโจทก์จ่ายสมทบให้อีกบางส่วน โดยจำเลยไม่ได้ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ว่าจำเลยจะกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ การไปฝึกอบรมของจำเลยจึงไม่ใช่เพื่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรี อันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีความผูกพันต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามระเบียบดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการประมาทของลูกจ้าง และการชดใช้ค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาท ของจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาทเงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้ จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6 การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้น มิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับ ขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอ กว่าตอนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอ หรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
of 14