พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยมิชอบ: ผู้ซื้อสุจริตในตลาดมีสิทธิไม่คืนทรัพย์ให้เจ้าของเดิม หากเจ้าของเดิมไม่ชดใช้ราคาซื้อ
แม้จะปรากฏว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของโจทก์ไม่ใช่ของจำเลย แต่ผู้ร้องได้ซื้อมาโดยสุจริตในท้องตลาดผู้ร้องไม่จำต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงเว้นแต่ โจทก์จะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ซึ่งเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ผู้ร้องได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 โจทก์จึงนำยึดทรัพย์ดังกล่าวโดยไม่ชดใช้ราคา ที่ผู้ร้องซื้อมาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อรถจากผู้ขายที่ไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องราคาคืนจากเจ้าของเดิม หากเจ้าของเดิมไม่ชดใช้
ซื้อรถจักรยานยนต์จากผู้ที่ตั้งร้านค้าขายรถประเภทเดียวกัน ซึ่งถือเป็นพ่อค้าขายของชนิดนั้น แม้จะปรากฏว่ารถคันที่ซื้อมานั้นผู้ขายผิดสัญญาเช่าซื้อกับเจ้าของเดิม ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิ์ที่จะยังไม่คืนรถให้แก่เจ้าของเดิม เว้นแต่เจ้าของเดิมจะชดใช้ราคาให้แก่ผู้ซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้มาโดยสุจริต: ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน แม้เจ้าของเดิมมีสิทธิเรียกคืนได้หากชดใช้ราคา
น้ำมันและถังรายพิพาทเป็นของราชการทหาร ถูกคนร้ายลักไปโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตในท้องตลาดแล้วต่อมาจำเลยได้ซื้อและยืมถังไปจากโจทก์และโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเหนือน้ำมันที่ตนซื้อจากโจทก์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แม้เจ้าของอันแท้จริงก็จะมาเรียกน้ำมันคืนไปจากจำเลยไม่ได้ เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา จำเลยต้องชำระราคาน้ำมันและถังให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เรื่องรอนสิทธิ
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11654/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจรและความรับผิดทางแพ่ง: จำเลยต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ถูกลักไป
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เนื่องจากหลังเกิดเหตุลักทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดได้เฉพาะฉนวนไฟฟ้า (เปลือกสายไฟฟ้า) จากจำเลยมิได้ยึดทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปทั้งหมดจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนความผิดฐานรับของโจรว่าจำเลยรับไว้ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปตามฟ้องไว้จากคนร้าย ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับของโจรสายไฟฟ้าของผู้เสียหายตามที่คนร้ายลักไปทั้งหมดด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อหารับของโจร จึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยรับของโจรสายไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อความรับผิดทางแพ่งของจำเลยเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องคืนสายไฟฟ้าหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10499/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อรถประมูลโดยสุจริต ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถให้เจ้าของเดิมหากเจ้าของไม่ชดใช้ราคา
โจทก์เป็นผู้ซื้อรถคันพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตรวจสอบทราบตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2543 แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อรถคันพิพาทได้ไปจากบริษัท จ. ก็ควรจะไปขอคืนรถคันพิพาทจากโจทก์โดยการเตรียมเงินไปชดใช้ราคาที่ซื้อมาให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กลับใช้วิธีไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีในวันดังกล่าวแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้เช่าซื้อ ในข้อหายักยอกรถคันพิพาท ทั้งที่ได้มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2542 แล้ว และปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยนานถึง 1 ปี 4 เดือนเศษ เพิ่งจะมาแจ้งความร้องทุกข์ภายหลังจากทราบแล้วว่าโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อรถคันพิพาทไปจากบริษัท จ. พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โดยจงใจอาศัยอำนาจของเจ้าพนักงานในการที่จะปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. ว่าด้วยการค้นและยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีข้อหายักยอกที่เพิ่งแจ้งความร้องทุกข์ในภายหลังมายึดรถคันพิพาทไป จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รถคันพิพาทเพื่อติดตามและเอารถคันพิพาทคืนจากโจทก์ไม่ได้ เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะได้ชดใช้ราคารถคันพิพาทแก่โจทก์ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ตกอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1332 และแม้ว่ารถคันพิพาทจะเป็นรถคันเดียวกับรถคันที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าซื้อไปในคดีข้อหายักยอก อันน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่ก็มีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รถคันพิพาทเช่นกัน โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการผู้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการแทนในการยึดรถคันพิพาทจากโจทก์โดยไม่ชดใช้ราคาที่ซื้อมา จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าพิพาทไร้ผลผูกพันโจทก์ จำเลยต้องชดใช้ราคาแทนสิทธิการเช่า
ในการอนุมัติให้ทำสัญญาเช่าพิพาทตามรายงานการประชุมคณะกรรมการของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะประธานที่ประชุมนั้น มีการอนุมัติให้ทำสัญญาเช่าพิพาทหลายครั้งต่างวาระกัน แต่กลับระบุว่าเป็นการประชุมคณะกรรมการของโจทก์ครั้งที่ 1/2550 ทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่ามีการจัดทำรายงานการประชุมดังกล่าวขึ้นเพียงเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอจดทะเบียนการเช่าเท่านั้น น่าเชื่อว่าในระหว่างที่จำเลยทั้งสองเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการประชุมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์อย่างแท้จริง ถึงแม้ในขณะนั้นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ซึ่งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของคะแนนเสียงทั้งหมดอยู่แล้ว แต่การจัดให้มีการประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของโจทก์เพี่อขอความเห็นชอบก่อนที่จะมีการทำสัญญาเช่าพิพาทก็เป็นช่องทางอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้ถือหุ้นข้างน้อยสามารถเข้าตรวจสอบการบริหารจัดการของจำเลยทั้งสองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจสอบสัญญาเช่าพิพาทซึ่งเป็นการนำทรัพย์สินของโจทก์ไปจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัว หาใช่ว่าเมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นข้างมากอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของโจทก์ก่อน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาเช่าพิพาทโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของโจทก์อันเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำการแทนโจทก์
คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงออกชัดว่าไม่ได้ประสงค์จะเข้าผูกพันตามสัญญาเช่าพิพาท ค่าเช่าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้นเป็นเพียงฐานในการกำหนดให้ใช้ราคาแทนในกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้มีการยกเลิกเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิการเช่าเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเช่าที่จำเลยทั้งสองได้รับจากบุคคลภายนอกเนื่องจากมีการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอก ก็ยิ่งมิใช่ค่าเช่าทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่โจทก์หากสัญญาเช่าพิพาทดังกล่าวผูกพันโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าอันจะเป็นการแสดงว่าโจทก์รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้น
แม้ตามสัญญาเช่าพิพาทจะระบุว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสัญญาเช่าพิพาท จึงหาใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงและไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
งบการเงินของโจทก์ซึ่งโจทก์นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในแต่ละปีที่คู่ความแต่ละฝ่ายนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้นั้น ก็เป็นเอกสารทางบัญชีที่โจทก์จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด หาใช่เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองหรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และมิใช่เอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
งบการเงินรอบปีบัญชี 2549 และ 2550 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าพิพาท ซึ่งมีค่าเช่ารวม 27,900,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้ค่าเช่าเพียง 2,118,132.42 บาท และมีเงินฝากสถาบันการเงินเพียง 170,714.90 บาท กับมีรายได้รับล่วงหน้า 279,497,498.52 บาท ส่วนงบการเงินรอบปีบัญชี 2556, 2557, 2558, 2559 และ 2560 ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้ค่าเช่าที่ดินรับล่วงหน้าในระยะยาวเป็นเวลา 30 ปี จากผู้เช่าจำนวน 62 ราย ซึ่งรวมจำเลยทั้งสองด้วย แต่งบการเงินดังกล่าวของโจทก์ไม่มีรายละเอียดที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่า รายได้ค่าเช่าก็ดี เงินฝากสถาบันการเงินก็ดี รายได้รับล่วงหน้าก็ดี หรือรายได้ค่าเช่าที่ดินรับล่วงหน้าก็ดี นั้นมีส่วนใดบ้างที่เป็นรายได้จากการที่โจทก์ยอมรับชำระจากจำเลยทั้งสองไว้เป็นค่าเช่าตามสัญญาเช่าพิพาท ลำพังงบการเงินของโจทก์จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าพิพาทจากจำเลยทั้งสองไว้แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์มิได้กระทำการใดอันเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาเช่าพิพาท เมื่อจำเลยทั้งสองทำสัญญาเช่าพิพาทโดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำการแทนโจทก์และโจทก์มิได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาเช่าพิพาทแล้ว สัญญาเช่าพิพาทจึงไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823, 1167
คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงออกชัดว่าไม่ได้ประสงค์จะเข้าผูกพันตามสัญญาเช่าพิพาท ค่าเช่าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้นเป็นเพียงฐานในการกำหนดให้ใช้ราคาแทนในกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้มีการยกเลิกเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิการเช่าเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเช่าที่จำเลยทั้งสองได้รับจากบุคคลภายนอกเนื่องจากมีการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอก ก็ยิ่งมิใช่ค่าเช่าทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่โจทก์หากสัญญาเช่าพิพาทดังกล่าวผูกพันโจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าอันจะเป็นการแสดงว่าโจทก์รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้น
แม้ตามสัญญาเช่าพิพาทจะระบุว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสัญญาเช่าพิพาท จึงหาใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงและไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
งบการเงินของโจทก์ซึ่งโจทก์นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในแต่ละปีที่คู่ความแต่ละฝ่ายนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้นั้น ก็เป็นเอกสารทางบัญชีที่โจทก์จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด หาใช่เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองหรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และมิใช่เอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127
งบการเงินรอบปีบัญชี 2549 และ 2550 ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าพิพาท ซึ่งมีค่าเช่ารวม 27,900,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้ค่าเช่าเพียง 2,118,132.42 บาท และมีเงินฝากสถาบันการเงินเพียง 170,714.90 บาท กับมีรายได้รับล่วงหน้า 279,497,498.52 บาท ส่วนงบการเงินรอบปีบัญชี 2556, 2557, 2558, 2559 และ 2560 ปรากฏว่าโจทก์มีรายได้ค่าเช่าที่ดินรับล่วงหน้าในระยะยาวเป็นเวลา 30 ปี จากผู้เช่าจำนวน 62 ราย ซึ่งรวมจำเลยทั้งสองด้วย แต่งบการเงินดังกล่าวของโจทก์ไม่มีรายละเอียดที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่า รายได้ค่าเช่าก็ดี เงินฝากสถาบันการเงินก็ดี รายได้รับล่วงหน้าก็ดี หรือรายได้ค่าเช่าที่ดินรับล่วงหน้าก็ดี นั้นมีส่วนใดบ้างที่เป็นรายได้จากการที่โจทก์ยอมรับชำระจากจำเลยทั้งสองไว้เป็นค่าเช่าตามสัญญาเช่าพิพาท ลำพังงบการเงินของโจทก์จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าพิพาทจากจำเลยทั้งสองไว้แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์มิได้กระทำการใดอันเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาเช่าพิพาท เมื่อจำเลยทั้งสองทำสัญญาเช่าพิพาทโดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำการแทนโจทก์และโจทก์มิได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาเช่าพิพาทแล้ว สัญญาเช่าพิพาทจึงไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823, 1167