คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากค่าขึ้นศาลค้างชำระ และการรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ชำระแล้ว
การที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดในส่วนของดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นสั่งถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลย่อมไม่รับฟ้องอุทธรณ์ในเรื่องดอกเบี้ย แต่ต้องรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะที่เกี่ยวกับทุนทรัพย์ในต้นเงินที่เสียค่าธรรมเนียมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของบันทึกตกลงรับสภาพหนี้: การชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับคืนค่าเช่าที่ชำระในคดีบังคดีและการบังคับชำระค่าเช่าของผู้เช่า
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินดังกล่าวได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้รักษาทรัพย์ผู้ร้องทำบันทึกไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจะนำค่าเช่าส่งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและได้ชำระค่าเช่าจำนวนหนึ่งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวย่อมตกเป็นของจำเลยผู้ร้องไม่มีสิทธิขอรับคืน
แม้ผู้ร้องจะได้ทำบันทึกไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จะนำค่าเช่าที่ผู้ร้องเป็นผู้เช่าทรัพย์สินที่ถูกยึดมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี บันทึกดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต่อมาผู้ร้องไม่ชำระค่าเช่าย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการบังคับเอากับผู้ร้องตามสัญญาเช่าเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการอายัดค่าเช่าดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจบังคับให้ผู้ร้องชำระค่าเช่าที่ค้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรและภาษีหลังนำเข้าสินค้า การวางประกัน และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากร ไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสม หรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสีย ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าและการวางประกัน โดยกรณีไม่ชำระภายในกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันได้
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากรไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธีคือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสมหรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินภาษีอากรคืน: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ตั้งแต่วันชำระอากร ไม่ใช่วันฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์จะให้ผู้มีสิทธิรับเงินอากรคืนเพราะเหตุที่ได้ชำระไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ได้รับดอกเบี้ยของเงินที่จะได้รับคืนในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินที่จะได้รับคืนนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรนั้น หาใช่นับตั้งแต่วันฟ้องไม่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรโดยเฉพาะ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยผิดนัดมาใช้บังคับมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลสำหรับผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในคดีแพ่ง: การชำระค่าธรรมเนียมในนามจำเลย
จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เมื่อจำเลยชนะคดีในชั้นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมนั้นในนามของจำเลยผู้ฎีกาอย่างคนอนาถาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องคดีและการชำระค่าธรรมเนียมศาล ศาลต้องตรวจสอบการชำระค่าธรรมเนียมก่อนดำเนินกระบวนการพิจารณา
ค่าธรรมเนียมศาลที่ต้องเสียเมื่อยื่นคำฟ้องตามตาราง 1และตาราง 2 คิดตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นคำฟ้องเมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ปิดแสตมป์ไม่ครบจำนวนก็สั่งให้โจทก์ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ทำตามก็ให้สั่งไม่รับคำคู่ความนั้น การที่ศาลสั่งให้ส่งสำเนาฟ้องและหมายเรียกจำเลยไปในคราวเดียวกับที่สั่งให้โจทก์ปิดแสตมป์ให้ครบ จึงเป็นการสั่งรับฟ้องก่อนปิดแสตมป์ครบ ไม่มีผลผูกพันคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่ออายุประกันภัย: ต้องทำตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ และชำระดอกเบี้ย/ตรวจสุขภาพ
อ. ผู้เอาประกันชีวิตขาดส่งเบี้ยประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันชีวิตอาจขอต่อบริษัทขยายเวลาออกไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดังนี้ อ. ต้องทำคำขอ ไม่ใช่กรมธรรม์ขยายเวลาออกไปโดยอัตโนมัติการขอต่ออายุกรมธรรม์ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์อ. ขอต่ออายุกรมธรรม์ แต่มิได้ชำระดอกเบี้ยและตรวจสุขภาพก่อนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ยังไม่ถือว่าได้ขยายเวลาออกไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องใช้เงินตามกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินยืมชำระค่าหุ้นขัดมาตรา 1119 ถือว่ายังไม่ได้ชำระ
บริษัทเอาเงินที่ผู้ถือหุ้นให้ยืมมา หักกับราคาหุ้นที่ผู้ถือหุ้นค้างชำระ ขัดต่อ มาตรา 1119 ถือว่ายังไม่ได้ชำระค่าหุ้นในส่วนนี้
of 6