คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับยกเว้นการตรวจสอบภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร ต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรจะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 นั้น จะต้อง เป็นผู้ที่ ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอ แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลา ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โดยโจทก์ยังคงกล่าวอ้างและยืนยันในคำฟ้องปฏิเสธว่า โจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษีกรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือมีคำสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนดดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีในช่วงพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามกำหนด
โจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็นการยกข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ต้องเสียภาษีที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โจทก์คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนด เป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีในช่วงยกเว้นตาม พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 ตามคำฟ้องโจทก์เช่นนี้ เป็นการยกข้อกล่าวอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้ โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม 2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียตามมาตรานี้ ภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนดดังกล่าวโดยโจทก์ยังคงกล่าวอ้างและยืนยันในคำฟ้องปฏิเสธว่า โจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี กรณีของโจทก์จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือมีคำสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนดดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์ หากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีภาษีอากร แม้จำเลยจะอยู่ในระหว่างที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จะอ้างเหตุว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จก่อนสินค้าเสียหาย ไฟไหม้เรือไม่ใช่เหตุคืนภาษี
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก บัญญัติว่า ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ และมาตรา 41 บัญญัติว่า การนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จ แต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจาก เรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเรือ ล. นำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2531ซึ่งเป็น ท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงและจะถ่ายของจากเรือ ความรับผิดในอัน จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่โจทก์นำเข้าจึงเกิดขึ้นในวันที่17 กรกฎาคม 2531 เมื่อโจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่ นำเข้าสำเร็จแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ล. ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าอากรขาเข้าที่ได้ชำระ ไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) ข้อ 2กำหนดให้ผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการค้าพร้อมกับการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และชำระภาษีในวันนำเข้าและ ป.รัษฎากรมาตรา 78 เบญจ(1) บัญญัติว่า วันนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าตามมาตรา 78 ตรี และมาตรา 78 จัตวา หมายความว่าวันที่ ชำระอากรขาเข้าพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคแรก บัญญัติว่า การเสียภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ(1)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยในวันดังกล่าว แม้ของ ที่โจทก์นำเข้านั้นจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ซึ่ง โจทก์ยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของดังกล่าวไปก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิ แก่โจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ได้ชำระ ไปแล้วคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จเมื่อเรือเข้าท่า แม้สินค้าเสียหายก่อนตรวจปล่อย และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องเหตุใหม่
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็น อันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่าย ของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้นเมื่อเรือนำของที่ โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อ ส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับ ของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมาย ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ(1)แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร)ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้วจึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนหรือระหว่างดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้วไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้รับประเมินต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์มิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนยื่นฟ้องโต้แย้งการประเมินของจำเลย แม้กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษียังไม่สิ้นสุดในขณะยื่นฟ้องก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล โจทก์จึงต้องชำระค่าภาษีก่อนยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์เพิ่งชำระภายหลังจากยื่นฟ้องแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีให้ครบก่อนยื่นฟ้อง แม้กำหนดชำระยังไม่ถึง
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้ว ไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา 39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรหลังแจ้งการประเมินและการขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้
ตามแถลงการณ์ของกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ แห่งประมวลรัษฎากรได้ขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากรเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากรได้ยื่นชำระภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งนี้มีเงื่อนไขในข้อ 4 ว่าในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร รับแจ้งการประเมินก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้วผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้นและได้รับอนุมัติเสียก่อน การที่ลูกหนี้ผู้เสียภาษีอากรซึ่งถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น มิใช่กรณีลูกหนี้ซึ่งถูกแจ้งการประเมินภาษีอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าวดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังโดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน ลูกหนี้ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ การที่ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรง ย่อมไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อหนี้สินของลูกหนี้ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วเหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
of 8