พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญา กู้ยืมเงิน การชำระหนี้ และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับ ที่โจทก์ทำสัญญาไว้กับจำเลยที่ 1 นั้น ระบุว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายจึงเป็นกรณีมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความเป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) กรณีหาใช่เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่โจทก์ฟ้องไม่
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 155,505 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินมีจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้รายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระแก่โจทก์ จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
เมื่อการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 155,505 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินมีจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้รายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระแก่โจทก์ จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
เมื่อการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2533/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่หนี้กู้ยืมตามสัญญากู้ยืม ทำให้การโอนไม่เป็นโมฆะ
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า ศ. นำโฉนดที่ดินที่พิพาทไปมอบให้จำเลยเพื่อโอนชำระหนี้เงินยืม 1,500,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้โฉนดที่ดินที่พิพาทมาอย่างไร โดยมิได้อ้างถึงหนังสือสัญญากู้เงินและมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินมาแสดง แม้จะมีข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินที่ระบุว่ามอบโฉนดที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันก็ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ศ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ค้างชำระอยู่ มิใช่หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่มีการออกเช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 656 มาปรับใช้ได้ ความตกลงในการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ศ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ค้างชำระอยู่ มิใช่หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่มีการออกเช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 656 มาปรับใช้ได้ ความตกลงในการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตขายทรัพย์สินที่ถูกยึดเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ศาลไม่อนุญาตหากไม่เข้าเงื่อนไข
ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดทั้งสองแปลงมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยที่ 1 แล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเป็นรายได้รวม 7,875,000 บาท เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่า โจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 และการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 แห่ง ป.วิ.พ. มาในคำร้องด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นประการสำคัญ คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 307 แห่ง ป.วิ.พ. ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์หรือมีการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรม อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดนั้น ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำโดยชอบ ดังนั้น แม้ศาลจะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นได้ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน หาเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 21 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากเงินฝากเมื่อทรัพย์สินอื่นไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินทั้ง 31 แปลง ที่ผู้ร้องนำยึดมีราคาประเมินเพียง 1,274,375 บาท และผู้ร้องอายัดเงินฝากของจำเลยไว้อีก 561,353.06 บาท รวมแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งให้จำเลยชำระเงินจำนวน 11,371,855 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องโดยสิ้นเชิง ถือได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุพ้นวิสัย-การชำระหนี้โดยผู้รับอาวัล: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการผิดนัดชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยและการชำระหนี้โดยผู้รับอาวัล
จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2540 แต่มาชำระวันที่ 8 สิงหาคม 2540 จำเลยทั้งสองย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดแก่โจทก์ ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดไม่ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 320, 321 และ 326 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 6 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2540
กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนจำเลยที่ 1 และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่มิใช่เรื่องการชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เพราะการที่จำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังระงับการดำเนินกิจการนั้น จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานสำเร็จตามแนวนโยบายของทางการ ทั้งการระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้เพราะจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการอันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนจำเลยที่ 1 และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่มิใช่เรื่องการชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เพราะการที่จำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังระงับการดำเนินกิจการนั้น จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานสำเร็จตามแนวนโยบายของทางการ ทั้งการระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้เพราะจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการอันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและผลกระทบต่อการชำระหนี้: การระงับกิจการโดยกระทรวงการคลังไม่ใช่เหตุให้ลูกหนี้ผิดนัด
แม้กระทรวงการคลังมีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแก่โจทก์ในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทถึงกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ได้สำเร็จ และกระทรวงการคลังได้แจ้งให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับอาวัลไปติดต่อเพื่อขอรับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ได้ตามปกติเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแก่โจทก์ตามกำหนดจึงไม่ใช่กรณีที่การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้ว เกิดจากจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้ว เกิดจากจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามกฎหมาย มิฉะนั้นศาลไม่รับฟัง
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว จำเลยจะต้องมีหลักฐานตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดมานำสืบ จำเลยมีแต่เพียงตัวจำเลยและน้องของจำเลยเป็นพยาน ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง สัญญากู้ยืมเงินก็ยังคงอยู่ที่โจทก์และยังไม่มีการแทงเพิกถอน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้นำสืบการใช้เงินตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแยกส่วน: ชำระหนี้ตนเองไม่ปลดภาระจำนองของผู้อื่น, ไถ่ถอนจำนองสิทธิของผู้รับโอน
อ. จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันหนี้ซึ่งโจทก์และ/หรือ อ. มีต่อจำเลย หนี้ของโจทก์และ อ. ที่จำนองเป็นประกันจึงแยกกันเป็นคนละส่วน การที่โจทก์ชำระหนี้ในส่วนของโจทก์ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรวมชำระหนี้ในส่วนของ อ. ด้วย และคงมีผลทำให้ภาระจำนองที่เป็นประกันหนี้ในส่วนของโจทก์ระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ภาระจำนองที่เป็นประกันหนี้ในส่วนของ อ. ยังคงมีอยู่ต่อไปตามสัญญาจำนอง การที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองมาจาก อ. ไม่ทำให้โจทก์มีความรับผิดในฐานะเป็นผู้จำนอง ฐานะของโจทก์เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองซึ่งมีสิทธิที่จะไถ่ถอนจำนองที่ยังคงมีภาระเหลืออยู่นั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 736 และมาตรา 738 ซึ่งหากผู้รับจำนองยอมรับจำนองก็เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 744 (4) เมื่อโจทก์เพียงแต่ชำระหนี้ที่มีต่อจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ โดยโจทก์ยังมิได้ไถ่ถอนจำนอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90-92/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น แม้สัญญาซื้อขายหุ้นไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่กระทบความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 ที่บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉีกหรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ด้วย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลบังคับคดี: คำร้องรับชำระหนี้ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี (ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดี)
คำร้องของผู้ร้องที่ขอรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง คำร้องเช่นนี้ มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีโดยมีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น มาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น และแม้มาตรา 15 วรรคสอง จะบัญญัติให้ศาลที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีดำเนินไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา 32 วรรคสาม แต่ก็หาได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่า ศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลที่บังคับคดีแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 และให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 และให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง