พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกหุ้นส่วน-การชำระเงินทดรองค่าที่ดิน-อำนาจศาล-ข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ
แม้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ผู้เป็นตัวการชดใช้เงินที่จำเลยทั้งสองผู้เป็นตัวแทนออกเงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายไปดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 816 ได้ โดยที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ฟ้องแย้งมาด้วยก็ตาม แต่ในคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยทั้งสองได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินแทนในส่วนของโจทก์เป็นเงินจำนวนเท่าใด อีกทั้งอุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้ความเพียงว่า "สำหรับที่ดินพิพาททั้งสิบสองโฉนด จำเลยทั้งสองออกเงินทดรองจ่ายเป็นค่าที่ดินรวม 4 โฉนด ไปจำนวนเท่าใด ก็สามารถเรียกเก็บจากโจทก์ได้ตามส่วน" เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ชดใช้เงินค่าทดรองจ่ายจำนวนโฉนดละ 70,000 บาท รวม 4 โฉนด แก่จำเลยทั้งสองก่อนรับแบ่งที่ดิน จึงหาชอบด้วยข้อเท็จจริงไม่ จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิเรียกร้องเงินที่ทดรองจ่ายไปสำหรับที่ดินพิพาทอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นไม้: การส่งมอบงาน, การชำระเงิน, และขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่อง
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ข้อ 10 ความว่าการส่งมอบงานตามสัญญานี้ให้หมายถึงการส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ และถูกต้องสมบูรณ์เป็นช่วง ช่วงละ 50 ต้น และข้อ 16 ความว่า ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังต่อไปนี้ (16.1) ชำระราคา ต่อเมื่อผู้รับจ้างได้ทำการปลูกต้นปาล์มน้ำมันจนแล้วเสร็จและ ส่งมอบในแต่ละช่วง ช่วงละ 50 ต้น (16.2) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้างจะทำการจ่ายภายหลัง 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วง (16.3) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้าง จะทำการจ่ายเมื่อครบกำหนดการรับประกันโดยไม่มีข้อชำรุด บกพร่องในงานแต่ละช่วงตามสัญญา ดังนั้น การที่จำเลย จ่ายค่าจ้างงวดแรกให้โจทก์ตามสัญญา แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบ งานตามสัญญาที่แล้วเสร็จและถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เมื่อครบกำหนด 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงานแล้วเสร็จในแต่ละช่วงตามสัญญาจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามข้อ 16.2 จำเลยแจ้งความเสียหาย ให้โจทก์แก้ไขเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2536 โจทก์ยอมรับว่า มีความชำรุดบกพร่องจริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 แสดงว่า นับแต่จำเลยแจ้งความชำรุดบกพร่องครั้งแรกจนถึงวันตรวจสอบ ครั้งหลังเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีครึ่ง น่าเชื่อว่าโจทก์ปรับปรุง แก้ไขนานแล้ว เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ส่งมอบงาน ที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยเมื่อใด แต่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้าง งวดแรกแก่โจทก์ครบถ้วน ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน แล้วเสร็จภายใน 45 วัน คือ ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน และส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 กำหนดเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุด บกพร่องของต้นปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 1 ปี นับแต่ส่งมอบงานในแต่ละช่วง จึงมีกำหนดถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 จำเลยแจ้ง ให้โจทก์ทราบว่าต้นปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก ให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมซึ่งเป็นเวลาหลังจากการรับประกัน ความชำรุดบกพร่องของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่า ความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่โจทก์รับประกัน ความชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดแก้ไขซ่อมแซม ที่กรรมการโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่ามีต้นปาล์มน้ำมันเสียหาย 12 ต้น ก็ไม่มีข้อความใดระบุว่าความเสียหายเกิดขึ้นภายใน ระยะเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุดบกพร่องจำเลยจึง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ค่าจ้างตามสัญญาข้อ 16.3 เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สัญญาไม่เสร็จเด็ดขาดหากยังไม่ได้รังวัดและชำระเงินครบถ้วน การตกลงซื้อขายเพิ่มเติมแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลได้หากมีการชำระเงิน
เอกสารฉบับพิพาท ระบุสาระสำคัญแห่งสัญญาคือฝ่ายจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนเวลาแบ่งชำระราคาที่ดินออกเป็น 2 งวดงวดแรกชำระให้แก่จำเลยไปแล้วในวันทำสัญญา ส่วนงวดที่ 2 กำหนดชำระในเวลาภายหลังจากวันทำสัญญา โดยสภาพแห่งเนื้อความของสัญญา โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันอีก คือโจทก์ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือและจำเลยต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนในสัญญา หาใช่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายและชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในวันทำสัญญาอันจะถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
สำหรับการตกลงขายที่ดินเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผู้จะขายยังต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอน ซึ่งถึงแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่มีการชำระราคาแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
สำหรับการตกลงขายที่ดินเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผู้จะขายยังต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอน ซึ่งถึงแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่มีการชำระราคาแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาฉ้อโกง แม้ชำระเงินบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามเช็คทั้งสองฉบับ ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งสองฉบับและจำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ เงินที่ผู้เสียหายได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนเงินในเช็คฉบับแรกก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ ทั้งหมดที่จำเลยออกเช็คทั้ง 2 ฉบับที่พิพาทเพื่อชำระหนี้แก่ ผู้เสียหาย เมื่อหนี้ดังกล่าวยังมีผลผูกพันจำเลย ทั้งตาม ข้อตกลงที่ผู้เสียหายกับจำเลยร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นระบุ ว่า จำเลยต้องชำระเงินให้ครบถ้วนตามเช็คทั้ง 2 ฉบับผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ และไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้คดีตามเช็คฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อนได้ คดีตามเช็คฉบับแรกจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินหรือหาประกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 นั้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล หาใช่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่คดีนี้แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดี และงดสืบพยานจำเลยไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเภทสัญญา และส่งกลับให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นการชำระเงินและผิดสัญญา
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องวัสดุอุปกรณ์เสียหายจำกัดเฉพาะการชำระเงิน
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน คดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1 ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้ได้มาตราฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้ง สิทธิจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดซื้อพัสดุโดยชอบตามระเบียบ การชำระเงินไม่ผิดกฎหมาย และการไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากพัสดุสูญหาย
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอบและวัสดุไม่มีแล้วจึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำกลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ. 2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินก่อนหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่นและห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบ ของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2530แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 23 และมาตรา 26 จำเลยได้จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531ซึ่งเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7186/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินไม่ครบจำนวนไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ในระหว่างการพิจารณาของศาล แม้จำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่ครบจำนวนเงินในเช็ค ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงฟังได้แต่เพียงว่า หากจำเลยนำเงินตามเช็คมาชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้นำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วน จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและชำระเงินคืน: แม้จะทำกิจการต่อเพียงสั้น ๆ ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาทคืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์