คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำรุดบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 25/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของชำรุดบกพร่อง: กำหนดอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ จำเลยทำงานไม่เรียบร้อยเป็นเหตุให้พวงมาลัยไม่สามารถบังคับล้อรถได้ รถโจทก์จึงไปชนรถคันอื่นเสียหาย เป็นกรณีการชำรุดบกพร่องอันเกิดจากสัญญาจ้างทำของ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยผู้รับจ้างเสียภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่การชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาจ้างเหมา แม้ไม่มีตราบริษัท และขอบเขตความรับผิดชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบงาน
สัญญาจ้างระบุไว้ว่า ระหว่างบริษัทโจทก์โดยนางสาว ว.ผู้ว่าจ้างและจำเลยผู้รับจ้าง เมื่อนางสาว ว. ลงนามในสัญญาและบริษัทโจทก์ได้ยอมรับเอาผลงานที่จำเลยทำให้ตามสัญญาจนกระทั่งบริษัทโจทก์ได้จ่ายค่าจ้าง ให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาแล้วแม้จะไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทตามข้อบังคับ บริษัทโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาลมิได้กำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ผู้รับจ้างต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับจ้างใช้เครื่องยนต์เก่าหรือไม่ เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ว่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่องจากการก่อสร้าง: คดีขาดอายุความหากเกิน 1 ปีนับจากวันตรวจพบ
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยผู้รับจ้าง โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างทำการตรวจการก่อสร้างแล้ว เห็นว่า จำเลยทำการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาเรียบร้อย ต่อมาได้ตรวจพบความชำรุดบกพร่องของอคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น มิฉะนั้น คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 604 หาใช่เป็นกรณีผิดสัญญาจ้างซึ่งมีอายุความ 10 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่องจากการก่อสร้าง: นับจากวันที่ตรวจพบความชำรุด ไม่ใช่จากวันที่ส่งมอบงาน
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยผู้รับจ้างโดยคณะกรรมการตรวจการจ้างทำการตรวจการก่อสร้างแล้วเห็นว่าจำเลยทำการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาเรียบร้อย ต่อมาได้ตรวจพบความชำรุดบกพร่องของอาคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น มิฉะนั้น คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 หาใช่เป็นกรณีผิดสัญญาจ้างซึ่งมีอายุความ 10 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องสัญญาจ้าง: ข้อตกลงในสัญญาเหนือมาตรา 601
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้าง ตามที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากันไว้ เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างธรรมดาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาการก่อสร้างชำรุด: ผู้รับจ้างต้องรับผิดหากผู้ว่าจ้างไม่รับมอบโดยไม่อิดเอื้อน แม้พ้นอายุความ ก็หักกลบลบหนี้ได้
ผู้รับจ้างปลูกอาคารโดยชำรุดบกพร่องไม่ต้องรับผิดต่อเมื่อผู้ว่าจ้างรับมอบอาคารโดยไม่อิดเอื้อน เมื่อผู้ว่าจ้างทักท้วงผู้รับจ้างต้องรับผิดโดยมีอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 601 แต่เมื่อแรกที่ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องยังอยู่ในกำหนด 1 ปี ฉะนั้นแม้พ้น 1 ปี แล้วผู้ว่าจ้างก็หักกลบลบหนี้ค่าจ้างที่ค้างชำระกับค่าเสียหายที่ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดจากทรัพย์สินชำรุด/ขาดจำนวน แบ่งแยกงวดส่งมอบ & ความแตกต่างการไม่ชำระหนี้ vs. ชำรุดบกพร่อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น 2 งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลยหรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลยไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายทรัพย์สินชำรุดบกพร่อง และการแยกพิจารณาหนี้ตามงวดการส่งมอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดชอบจากทรัพย์สินชำรุดบกพร่องและการส่งมอบเป็นงวด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น. ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว. หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้. โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย.
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ. สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด. มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน. แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน. แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง. จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา. แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด. แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง. หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย.หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง. ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่. แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก. เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้. งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว. ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น. แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย. ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง. อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467.
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา. ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย.ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้. และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474. ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป. แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง. จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความชำรุดบกพร่อง: การสะดุดหยุดและเริ่มนับใหม่เมื่อมีการแก้ไขซ่อมแซมและแจ้งยุติการแก้ไข
เมื่อโจทก์ที่ 2 พบบ้านชำรุดบกพร่องในเดือนมกราคม 2552 จำเลยเข้าไปแก้ไขซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดบกพร่อง เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แต่ต่อมาโจทก์ที่ 2 ให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 แจ้งให้จำเลยหยุดทำการแก้ไขชำรุดบกพร่องโดยโจทก์ที่ 2 จะหาบุคคลภายนอกมาแก้ไขเอง จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่เวลานั้นคือวันที่ 7 พฤษภาคม 2552 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วรรคสอง โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2552 ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 2 นำคดีมาฟ้องวันที่ 13 มกราคม 2554 เกินกว่า 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
of 4