พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นผิดพลาดในคดีซื้อขายรถยนต์พิพาท ศาลต้องสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 เพื่อวินิจฉัยประเด็นสุจริตและค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรับผิดจากการซื้อขายรถยนต์คันที่ถูกลักมา: มาตรา 481 vs. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายรถยนต์ให้โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าเป็นรถยนต์ของผู้อื่นที่ถูกคนร้ายลักไป เจ้าพนักงานตำรวจจึงได้ยึดรถยนต์ไปจากโจทก์ ขอให้จำเลยใช้ราคารถยนต์พร้อมด้วยค่าเสียหายจำเลยให้การว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2526แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความไว้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องอายุความรับผิดในการรอนสิทธิไว้ในลักษณะซื้อขาย มาตรา 481เพียงมาตราเดียว โดยกำหนดอายุความไว้สามเดือน จึงพอถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความในเรื่องความรับผิดในการรอนสิทธิแล้ว การที่จะนำอายุความสามเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 481 มาใช้บังคับนั้น ข้อเท็จจริงต้องได้ความว่า โจทก์ได้ประนีประนอมยอมความคืนรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอก หรือยอมคืนรถยนต์ให้ตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง การที่รถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเนื่องจากเป็นรถยนต์ของผู้อื่นที่ถูกลักมาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ความรับผิดของจำเลยผู้ขายจึงไม่ตกอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481แต่ต้องตกอยู่ในอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีอายุความสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถยนต์ที่ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ และอายุความฟ้องคดี
โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์จากจำเลยทั้งสอง แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองโอนรถยนต์ให้กับโจทก์นั้น บุคคลอื่นเป็นเจ้าของ มิใช่จำเลยทั้งสองต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดรถยนต์ไปเป็นของกลางเพื่อคืนให้แก่เจ้าของเดิม ถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิ รถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไปทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ได้ ต้องเช่ารถผู้อื่นมาใช้แทนนับได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้นับตั้งแต่วันที่ถูกยึดไปและสามารถคิดดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน โจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะคาดคิดได้ว่าถ้าโจทก์ไม่ยอมให้ยึดรถยนต์ โจทก์อาจจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ไม่ใช่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งมีอายุความ 3 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 ต้องใช้อายุความธรรมดา10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยพ่อค้า ผู้ซื้อสุจริตได้รับความคุ้มครองจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม
โจทก์ทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ชำระราคาและรับมอบรถยนต์พิพาทมาแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนมาเป็นชื่อของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันจัดทำทะเบียนรถยนต์และโอนทะเบียนรถยนต์พิพาททั้งสองคันให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนี้ เฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้น ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายต่อโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำทะเบียนและจดทะเบียนโอนรถยนต์เป็นชื่อของโจทก์ทั้งสอง ถ้าไม่ไปจดทะเบียนขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนเท่านั้น เมื่อรถยนต์พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทกับโจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการจัดทำและโอนทะเบียนรถยนต์เกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ทั้งสองได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้ จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดได้ตามฟ้อง ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้ายานพาหนะและของเก่าทุกชนิด มีสำนักงานที่ทำการเป็นหลักแหล่งเปิดเผย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาเพื่อขายให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยให้นำรถยนต์เก่าของโจทก์ทั้งสองแลกกับรถยนต์พิพาท และชำระราคาส่วนที่เหลือ มิใช่เป็นการเช่าซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะการแสวงหากำไรเช่นปกติของพ่อค้ารับแลกเปลี่ยนรถยนต์ทั่ว ๆ ไป จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 การที่โจทก์ทั้งสองซื้อรถยนต์พิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยสุจริตแม้รถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 อยู่ โจทก์ทั้งสองย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยไม่ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 3จนกว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะชดใช้ราคาให้ และในกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมิใช่เป็นการละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองระหว่างที่ครอบครองรถยนต์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์และช่วงเวลาการเกิดภาษี การแก้ไขเพิ่มเติมพยานหลักฐาน และอำนาจศาลในการวินิจฉัยเกินคำขอ
บริษัท พ. ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่า เมื่อบริษัท พ.ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O (Delivery Order) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัท ส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัท พ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัท ส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัท พ. ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส.ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (Purchase Form) ส่งให้บริษัท พ. แล้วบริษัท พ.จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส.เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ.ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ.ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้น วันที่บริษัท พ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาด แต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส.มีคำสั่งซื้อบริษัท พ.จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79จัตวา (3)
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายรถยนต์, ค่าสินไหมทดแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรถยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่งพ่นสีใหม่เป็นสีเดิม ความจริงเป็น รถยนต์รุ่นเก่า และเคยเปลี่ยนสีมาหลายครั้งกับกล่าวอ้างคุณสมบัติ ของรถยนต์ซึ่งไม่เป็นความจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อขายรถยนต์จึงเกิดจากกลฉ้อฉลให้สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถยนต์ ยัง คงเป็นยี่ห้อเดียวกับที่โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลยจึง มิได้ ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้นโจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์ จาก จำเลยโจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมี สิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะเป็นบิดาจำเลยที่ 2และการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะทำกันที่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ประกอบกิจการ บริษัทที่จำเลย ที่ 2ทำงานอยู่ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในใบสั่งซื้อ รถยนต์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำขึ้น คงมีแต่ลายมือชื่อ ของ จำเลย ที่ 2ลงชื่อในฐานะผู้จัดการหรือผู้ขายเท่านั้น พฤติการณ์ ดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายรถยนต์กับโจทก์ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 123 ไว้ จึงต้องถือหลัก ทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์จากตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ และการโอนกรรมสิทธิ์ที่จำกัด
รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 1 ออกเป็นตัวแทนขายรถคันพิพาทให้โจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ รถคันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคันพิพาทกับโจทก์ การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์มือสอง: สิทธิเรียกร้องโอนกรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีความสัมพันธ์กับรถ
รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 มิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคันพิพาทกับโจทก์ การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาดและการยึดหน่วงเอกสาร การจดทะเบียนรถยนต์เป็นของผู้อื่นเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
การซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถและสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมชำระราคารถยนต์ครบถ้วนแล้วจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แต่มีหน้าที่ส่งมอบแก่โจทก์ร่วม การที่จำเลยนำสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวไปจดทะเบียนใส่ชื่อบริษัท ซ. จำกัด เป็นเจ้าของรถถือได้ว่าเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารใดของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เป็นการผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การซื้อขายรถยนต์ที่ถูกลักมา โดยผู้ซื้อทราบถึงความผิด
จำเลยได้ รับซื้อ และขายรถของกลางโดย รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูก คนร้ายลักมา ถึง แม้จำเลยได้ ทำในนามของบริษัท จ.จำกัดหรือบริษัท อ. จำกัด ในฐานะ ที่จำเลยเป็นลูกจ้างก็ตาม ถือ ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการรับซื้อ ไว้และช่วย จำหน่ายซึ่ง ทรัพย์อันได้ มาโดย การกระทำผิดฐาน ลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิด ฐานรับของโจร.