คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขายหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองจ่าย และการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
กรณีตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน จากตัวการ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การซื้อ ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มีวัตถุประสงค์เก็ง กำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อ ผู้ซื้อดังนั้น การโอนหุ้นในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่จากการซื้อขายหุ้น: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดหากไม่มีการรับโอนหนี้โดยชัดเจน
บันทึกที่บริษัท ค. ทำกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ค้ำประกันบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเพียงข้อตกลงที่จะซื้อขายหุ้นกันไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ค. ตกลงรับโอนหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือรับจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และปรากฏจากรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ก่อนที่จะมีการโอนขายหุ้นกันว่า จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนเป็นอย่างมากบริษัท ค. เพียงแต่จะให้ความร่วมมือทางการเงินเท่านั้น ทั้งเช็คที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างว่าบริษัท ค. ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ติดต่อกันทุกเดือน ก็เป็นเช็คลงวันที่ก่อนที่จะมีการตกลงโอนหุ้นกัน จึงไม่ใช่เช็คที่บริษัท ค. ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1จากฝ่ายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาเป็นกลุ่มของบริษัท ค. ก็เป็นการดำเนินการของจำเลยที่ 1 สิทธิหน้าที่ตลอดจนความผูกพันของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อบุคคลภายนอกรวมทั้งโจทก์มีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่ต่อไปตามเดิมหาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อบริษัท ค. มิได้ยอมเข้ามาเป็นลูกหนี้รับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่ามีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์และข้อพิพาทเรื่องหนี้จากการซื้อขายหุ้น
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายได้กระทำตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา1129 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย โดยไม่ได้โอนชื่อให้จำเลย แต่มีหลักฐานลงไว้ในบัญชีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งระบุหุ้นทุกหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนลูกค้าในแต่ละวัน ต่อมามีการคิดทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ค้างอยู่แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนผู้อื่นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1129 แม้ชื่อผู้ซื้อไม่ได้อยู่ในทะเบียน
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายได้กระทำตามข้อบังคับของตลาดทรัพย์จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1129 วรรคสองโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยโดยไม่ได้โอนชื่อให้จำเลย แต่มีหลักฐานลงไว้ในบัญชีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งระบุหุ้นทุกหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนลูกค้าในแต่ละวัน ต่อมามีการคิดหักทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ค้างอยู่แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทนในตลาดหลักทรัพย์: สัญญาผูกพันแม้ไม่ได้โอนชื่อหุ้นโดยตรง
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายได้กระทำตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา1129 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย โดยไม่ได้โอนชื่อให้จำเลย แต่มีหลักฐานลงไว้ในบัญชีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งระบุหุ้นทุกหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนลูกค้าในแต่ละวัน ต่อมามีการคิดทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ค้างอยู่แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากมีวัตถุประสงค์เป็นการเก็งกำไร
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะไว้แล้ว และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนหุ้นกันจริงจัง จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง ดังนั้นการซื้อขายและโอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไร
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะไว้แล้ว และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนหุ้นกันจริงจัง จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129วรรคสอง ดังนั้น การซื้อขายและโอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นโดยไม่มีใบหุ้นและขัดต่อระเบียบตลาดหลักทรัพย์ ศาลไม่รับฟังว่าจำเลยสั่งขายหุ้นจริง
ในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่โจทก์ในฐานะเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ได้กระทำแทนจำเลยผู้เป็นลูกค้าของโจทก์ ปรากฏว่าพยานโจทก์ที่อ้างว่ารู้เห็นในการสั่งขายหุ้นของจำเลยมีคนเดียวคือ ก.ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเงินทุนของโจทก์ ส่วนพยานนอกนั้นรวมทั้ง ด. ซึ่งโจทก์ส่งไปทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ทุกคนล้วนแต่เป็นผู้คอยรับคำสั่งจาก ก. แม้ ด.จะเบิกความว่าระหว่างทำการขายหุ้นตามคำสั่งจำเลย จำเลยได้โทรศัพท์มาถาม ด. ตอบว่าขายได้ 1,700 หุ้น หุ้นที่เหลือ1,300 หุ้นจะขายหรือไม่ จำเลยตอบว่าพอแล้ว ซึ่งข้อความดังกล่าวขัดกับข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ต้องกระทำผ่านสำนักงานของสมาชิกเท่านั้นลูกค้าไม่มีสิทธิติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยได้โทรศัพท์ไปถาม ด.จริง คำพยานโจทก์ที่อ้างว่าติดต่อกับจำเลยโดยตรงคงมีแต่คำของ ก. และเอกสารต่าง ๆโจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยประสงค์จะให้มีพยานหลักฐานทุกขั้นตอนของการขายหุ้นโดยเฉพาะสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อความชัดว่าต้องปฏิบัติตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ทุกประการ แต่การขายหุ้นพิพาท ก. กลับเบิกความรับว่าเมื่อจำเลยมาพบ ก. ที่บริษัทโจทก์ ก็ได้ทำใบสั่งซื้อสั่งขายให้จำเลยลงนาม แต่การขายหุ้นพิพาทโจทก์ไม่ได้ให้จำเลยทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ และจำเลยไม่มีใบหุ้นที่จะขายการที่โจทก์ว่าจำเลยไม่มีใบหุ้น แล้วโจทก์ยังเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งห้ามสมาชิกขายหลักทรัพย์โดยไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง ฉะนั้นจึงไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะกลับขายหุ้นให้จำเลยโดยมีจำเลยไม่มีใบหุ้น มาให้ขายเพราะโจทก์ต้องส่งมอบใบหุ้น ที่ขายให้ผู้ซื้อภายใน 4 วันตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์ การกระทำของโจทก์จึงเท่ากับเป็นการขายตัวเลขไม่ใช่ขายหุ้น ประกอบกับจำเลยนำหลักทรัพย์มาประกันต่อโจทก์โดยนำเงินมาฝากโจทก์และโจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยมีวงเงินเพียง 406,500 บาทแต่โจทก์กลับอ้างว่า จำเลยสั่งให้โจทก์ขายหุ้นหลังจากหักค่านายหน้าของโจทก์แล้วเป็นเงิน 6,158,251 บาทหากเป็นจริงก็จะทำให้โจทก์ต้องหาซื้อหุ้นมาให้ผู้ซื้อแทนจำเลยมากกว่าหลักประกันที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิ่งใดซึ่งจะให้โจทก์เชื่อถือนอกจากเงินที่ฝากโจทก์ไว้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์จะยอมขายหุ้นให้จำเลยโดยจำเลยไม่มีใบหุ้นจะขาย ดังนี้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความ, การซื้อขายหุ้น, และการฟ้องล้มละลาย: การกระทำของทนายความและหนี้จากการซื้อขายหุ้น
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามว่า เมื่อทนายความได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีใดแล้วจะทำหน้าที่เป็นทนายความในคดีนั้นอีกไม่ได้ฉะนั้นเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีแทน และโจทก์ได้แต่งตั้งก. ให้ทำหน้าที่เป็นทนายความของตนอีกฐานะหนึ่งด้วย ก. จึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าความแทนโจทก์ในคดีนั้นได้ไม่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรค 2
พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉพาะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายหุ้นโจทก์ได้ทำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง และไม่ถือเป็นเรื่องการพนันหรือขันต่อ
โจทก์ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลย เมื่อมีการคิดบัญชีและหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 397,457.71 บาท โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยบทสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายหุ้น ค้ำประกัน และการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องหนี้และการพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ที่การประกอบกิจการ ซื้อและขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงเป็นครั้งคราวมากกว่า ประสงค์ให้มีการโอนหุ้น แม้การซื้อขายหุ้นเช่นนี้จะไม่มีการโอนหุ้นตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็หาเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย โจทก์ในฐานะตัวแทนย่อมเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมชดใช้เงินที่ได้ออกทดรอง รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย อย่างอื่นตามสัญญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองตกเป็น ลูกหนี้โจทก์อันอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 30,000 บาท (ตามกฎหมายเดิม) และไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสองได้
of 8