พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อนเร้นสุราของกลางและการปลอมแปลงดวงตรา ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยตามความผิดฐานซ่อนเร้นสุรา
ศาลเดิมตัดสินว่าจำเลยมีผิดตามม. 211 แบ พ.ร.บ. ภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2467 ม. 5 ให้จำคุก 1ป ปี แบปรับ 100 บาทนั้น แต่ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย ตาม ม. 122 อีกกะทงหนึ่ง มีกำหนด 3 เดือนดังนี้ จำเลยฎีกาได้แต่ฉะเพาะ +ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษ ตามม. 122 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17002/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายบ้านต่อความชำรุดบกพร่องที่ซ่อนเร้นและไม่สามารถตรวจพบได้ง่าย
การผุกร่อนของเหล็กเส้นที่ถูกสนิมกัดกินคานบ้านเป็นความชำรุดบกพร่องที่เป็นเหตุเสื่อมราคาและเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ เมื่อโจทก์ซื้อบ้านเพื่อจะใช้อยู่อาศัยและคู่สัญญาซื้อขายไม่ได้ตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 483 ความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อนเร้นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิง ส. ถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น นอกจากอาวุธปืนซึ่งเป็นทรัพย์ที่ ช. ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงและถือเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีแล้วรถจักรยานยนต์ของกลางที่ ช. ใช้เป็นยานพาหนะขับไปยิง ส. และหลบหนีก็เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงเช่นกัน และเป็นพยานหลักฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดของ ช. ได้หากมีพยานบุคคลมาพบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าว และจดจำลักษณะของรถจักรยานยนต์ของกลางที่ ช. ขับได้ ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการสืบสวนสอบสวนนำไปสู่การติดตามจับกุมตัว ช. มาลงโทษได้ ดังนั้น การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์ของกลางไว้จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของคำฟ้องและความต่อเนื่องของความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้าประเทศและการซ่อนเร้น
การที่โจทก์ระบุวันเวลาเกิดเหตุระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 มิถุนายน 2548 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยพาคนต่างด้าว 15 คน เข้ามาในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุโดยเฉพาะเจาะจงว่าจำเลยพาคนต่างด้าวแต่ละคน คนใดเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันเวลาใด คำฟ้องโจทก์จึงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดการกระทำผิดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 บัญญัติมีใจความว่า เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ คดีนี้การกระทำความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแม่สอดจนถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมจึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดที่กระทำต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 บัญญัติมีใจความว่า เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ คดีนี้การกระทำความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแม่สอดจนถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมจึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดที่กระทำต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือคนต่างด้าวผิดกฎหมายเดินทางออกนอกเขตที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดฐานซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือ
ขณะถูกจับกุม น. และ ร. ไม่มีหนังสือเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลักฐานเหมือนเช่น ส. และ จ. โดยมีเพียงสำเนาหนังสือรับรองการทำงานกับนายจ้างมาแสดงเท่านั้น หนังสือรับรองการทำงานกับนายจ้างดังกล่าวออกโดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสงครามเพื่อรับรองว่า น. และ ร. ทำงานรับจ้างกับ ธ. นายจ้างที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งแม้ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงานตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 จะมิได้กล่าวถึงกรณีที่คนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานในราชอาณาจักรสามารถเดินทางออกนอกเขตที่ได้รับอนุญาตทำงานได้หรือไม่ แต่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2561 ข้อ 4 กำหนดว่า การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน ดังนี้ เมื่อ น. และ ร. ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานกับนายจ้างที่จังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น น. และ ร. จึงไม่สามารถเดินทางออกนอกเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานหรือไปไหนมาไหนได้ตามอำเภอใจอีกทั้ง น. และ ร. ได้แจ้งความประสงค์ไว้ในสำเนาหนังสือรับรองการทำงานกับนายจ้างว่าจะเข้ารับการตรวจสัญชาติในกรุงเทพมหานคร แต่ น. และ ร. กลับว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ขับรถจากจังหวัดสมุทรสงครามไปส่งที่ชายแดนไทย - กัมพูชา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เพื่อกลับไปเยี่ยมญาติที่ประเทศกัมพูชาแต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน ซึ่งการที่ น. และ ร. เดินทางออกนอกเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ และไม่ได้ไปรับการตรวจสัญชาติในกรุงเทพมหานคร แต่ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ขับรถไปส่งที่ชายแดนไทย - กัมพูชา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4 (3) จึงมีผลให้การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวสิ้นผลไป การที่จำเลยทั้งสองขับรถกระบะของกลางนำพา น. และ ร. จากจังหวัดสมุทรสงครามไปส่งที่ชายแดนไทย - กัมพูชา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรู้อยู่แล้วว่า น. และ ร. เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5854/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ซ่อนเร้นขนย้ายบุหรี่เถื่อนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
คดีนี้ฟ้องโจทก์บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งบุหรี่ของกลางอันเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร และบรรยายฟ้องตอนท้ายว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางดังกล่าวในการบรรทุกซ่อนเร้นและขนย้ายบุหรี่ของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพทั้งจำเลยฎีกายอมรับว่าเก็บบุหรี่ของกลางไว้ภายในตู้ลำโพงภายในห้องโดยสารรถยนต์ที่จำเลยตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อการประกวดแข่งขันเครื่องเสียงติดรถยนต์ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางในการซ่อนเร้นขนย้ายบุหรี่ของกลาง ประกอบกับการขนย้ายบุหรี่ของกลาง 200 ซอง จากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักรหรือมีบุหรี่ของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีไว้ในครอบครองดังกล่าว หากไม่มีรถยนต์ของกลางบรรทุกบุหรี่ของกลางจำนวนมากถึง 200 ซอง ย่อมไม่สามารถขนย้ายบุหรี่ของกลางจำนวนดังกล่าวให้รอดพ้นจากการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ได้สำเร็จ ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยมิใช่เป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการสัญจรตามปกติโดยทั่วไป แต่เป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดโดยใช้ซ่อนเร้นและขนย้ายบุหรี่ของกลางอันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถยนต์เพื่อช่วยเหลือซ่อนเร้นผู้กระทำผิดข้ามจังหวัด ศาลมีอำนาจริบได้ตามกฎหมาย
การขับรถกระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)