พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญา, การลดดอกเบี้ยผิดนัด, และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณซ้ำซ้อน
ตามสัญญากู้และตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยผิดนัดไว้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธรรมดาที่ไม่ผิดนัด เพราะฉะนั้นข้อสัญญาระหว่างโจทก์เจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาล เห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้ แต่การลดนั้น จะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าที่ตามปกติสัญญากำหนดไว้ในกรณีไม่ผิดนัด มิใช่ลดลงมาต่ำเกินกว่าอัตราดังกล่าว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ย ครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไปขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปีดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีกศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้น, เจตนาของคู่สัญญา, และการเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้อง
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลย ที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็น หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ในคำฟ้อง ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า หากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ให้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535 แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้งดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่ หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็ มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และ จำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์ จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชี กันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาจำนอง: สิทธิของผู้รับจำนองตามข้อตกลง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ คือ ดอกเบี้ยด้วย และตามสัญญาจำนองระบุว่าผู้จำนองตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้ง การคิดดอกเบี้ยให้คิดทบต้นตามวิธีการของธนาคาร ข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามสัญญาต่อท้ายและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจำนอง ซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองกำหนดว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวนเงินทั้งสิ้นที่ผู้จำนองเป็นหนี้ เงินดอกเบี้ยนี้จะได้คิดในยอดเงินคงเหลือประจำวัน และผู้จำนองยอมส่งดอกเบี้ยทุก ๆ เดือนเสมอไป หากผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นในบัญชีของผู้จำนองด้วย โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราดังกล่าวได้ตามข้อตกลงในสัญญาจำนองดังกล่าวเมื่อดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ถูกทบเข้าเป็นต้นเงินเสียแล้ว จึงไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นจำนอง: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา, ข้อจำกัดระยะเวลา, และความรับผิดของผู้ซื้อจำนอง
ตามสัญญาจำนองกำหนดว่าผู้จำนองตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีโดยส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งและให้คิดทบต้นตามวิธีการของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราดังกล่าวได้เมื่อดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ถูกทบเข้าเป็นต้นเงินแล้วจึงไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า5ปีเมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของว. อันเป็นหนี้ประธานที่จำเลยจำนองเป็นประกันอยู่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากว. ลูกหนี้ได้เพียงถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาความรับผิดตามสัญญาจำนองจึงเป็นอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองและดอกเบี้ยทบต้น: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของเจ้าหนี้จำนองตามสัญญาและข้อตกลง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา715ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์คือดอกเบี้ยด้วยและตามสัญญาจำนองระบุว่าผู้จำนองตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีโดยส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งการคิดดอกเบี้ยให้คิดทบต้นตามวิธีการของธนาคารข้อตกลงอื่นๆให้เป็นไปตามสัญญาต่อท้ายและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจำนองซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองกำหนดว่าผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีในจำนวนเงินทั้งสิ้นที่ผู้จำนองเป็นหนี้เงินดอกเบี้ยนี้จะได้คิดในยอดเงินคงเหลือประจำวันและผู้จำนองยอมส่งดอกเบี้ยทุกๆเดือนเสมอไปหากผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นในบัญชีของผู้จำนองด้วยโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราดังกล่าวได้ตามข้อตกลงในสัญญาจำนองดังกล่าวเมื่อดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ถูกทบเข้าเป็นต้นเงินเสียแล้วจึงไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า5ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญาเมื่อไม่มีการเดินบัญชี
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยจำนอง: หนักที่สุดก่อน, ดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญา
จำเลยที่ 1 มีความรับผิดตามสัญญาจำนองในต้นเงิน10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับ ส่วนเรื่องดอกเบี้ยเมื่อสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินกับเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องในการกู้เงิน เบิกเงินเกินบัญชี และหนี้อื่นทุกประเภททั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาและหนี้ที่จะมีขึ้นในภายหน้า และจำเลยที่ 1ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นให้ผู้ร้อง ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราใดต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือค้ำประกัน และสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์อันก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนอง
หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท
หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกิน 15%, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 21ต่อปี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อสัญญากู้เงินได้มีการตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 และยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 1 ปีทบเข้ากับต้นเงินและให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงในสัญญากู้เงินต่อไปด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและคิดดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 1 ปี ทบต้นได้ต่อไปจนกว่าจะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้นการที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ, สิทธิในการคิดดอกเบี้ยทบต้น, และค่าเบี้ยประกันตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับ มิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป