พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้อง แม้จะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารที่ดัดแปลงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 4 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่รับอนุญาตภายใน 30 วัน จำเลยรับแจ้งคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ตามมาตรา 42 วรรคสาม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยรื้อถอนอาคารเดิมออก มิฉะนั้นจะถือว่าปลูกสร้างผิดจากแบบแปลงแผนผังที่ได้รับอนุญาต ปรากฏว่าจำเลยมิได้รื้อถอนผนังกำแพงด้านข้างและต้นเสา 2 ด้านของอาคารเดิม กลับก่อสร้างอาคารชั้นเดียวเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ไปด้านหน้าด้านถนนและก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อจากอาคาร 4 ชั้น ปกคลุมแนวร่นของอาคารไว้ทั้งหมด โดยก่อสร้างขึ้นหลังจาก พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับแล้วไม่ใช่ก่อสร้างอาคารพิพาทภายในแนวเขตที่ดินและตามแนวอาคารเดิมซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ จึงเป็นการดัดแปลงที่ผิดไปจากแบบแปลนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยต้องรื้อถอน การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์ฟ้องให้รื้อถอนได้ตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงผิดกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องค่าเสียหาย แต่เป็นการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ แม้ไม่มีกำหนดอายุความ
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารขัดกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ ไม่มีกำหนดอายุความฟ้อง
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรเป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้ โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย
การที่ ฮ. บิดาจำเลยได้ยกโครงหลังคาอาคารด้านหลังตึกแถวจากเดิม สูง 4 เมตรเป็น 6 เมตร เปลี่ยนเสากลางจากสูง 6 เมตรเป็นสูง 7 เมตร และเปลี่ยนหลังคาสังกะสีซึ่งคลุมพื้นที่ว่างด้านหลังตึกแถวเป็นหลังคากระเบื้องโดยใช้กำแพงรั้วอิฐบล็อก เดิม และก่อสร้างรั้วอิฐบล็อก โปร่ง เสริมจากรั้วอิฐบล็อก เดิม สูงขึ้นอีก 1 เมตร และใช้สังกะสีกั้นเป็นผนังต่อจากกำแพงรั้วขึ้นไปจนถึงขอบหลังคา เป็นการขยายรูปทรงและสัดส่วนของโครงสร้างอาคารและต่อเติมส่วนต่าง ๆ ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม ถือว่าเป็นการดัด แปลงอาคารตามบทบัญญัติดังกล่าวและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) เมื่อจำเลยให้ ฮ.ดัด แปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทด้านหลังตึกแถวออกไปทั้งหมดได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลพิพากษาลงโทษได้ตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติม มีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้ บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึง วันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอด เวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วยจำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ได้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6570 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอด ระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ครอบครองไม่ต้องเป็นเจ้าของ
จำเลยเป็นผู้เช่าอาคารพิพาท จึงมีสิทธิครอบครองอาคารในฐานะผู้เช่า ว. น้องชายจำเลยมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอาคารพิพาทก็โดยการมอบหมายจากจำเลย ว. จึงเข้าครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยเท่านั้น และแม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าบ้านแห่งอื่นก็มิได้หมายความว่าจำเลยจะเป็นผู้ครอบครองอาคารอื่นอีกไม่ได้ จำเลยยังคงเป็นผู้ครอบครองอาคารดังกล่าวอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจขอให้ศาลสั่งให้ผู้ครอบครองอาคารที่ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นผู้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,40,42 โดยผู้ครอบครองอาคารหาจำเป็นต้องเป็นเจ้าของอาคารด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการบังคับใช้กฎหมายอาคารหลังได้รับอนุญาตแล้ว
จำเลยดัดแปลงผนังทึบอาคารตึกแถวด้านหลังซึ่งมีเขตติดต่อกับทางเดินอันเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ตามที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างโดยเจาะทำประตูเหล็กยึดและหน้าต่างกระจกบานเกล็ดมิได้รุกล้ำเขตที่ดินข้างเคียง การกระทำของจำเลยก็ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 เมื่อการดัดแปลงดังกล่าวเสร็จพร้อมกับการก่อสร้างตึกแถวซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุเวลาของใบอนุญาต แต่ขณะนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับแล้ว กรณีก็ต้อง บังคับตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องกฎหมายมีผลบังคับย้อนหลังจำเลยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุดแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและหัวหน้าเขตโจทก์ที่สั่งให้รื้อถอนประตูหน้าต่างผนังอาคารที่พิพาทโจทก์มีอำนาจขอให้ศาลสั่งบังคับจำเลยรื้อถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928-2934/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา, อายุความ, เจตนาบุกรุก และการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารและพระราชบัญญัติควบคุมอาคารนั้นเทศบาลหรือทางราชการเป็นผู้เสียหาย เป็นเรื่องของเทศบาลหรือทางราชการที่จะเข้าควบคุมฟ้องร้องเอาเอง โจทก์ร่วมซึ่งเป็นราษฎรหรือเอกชนไม่ใช้ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีที่ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้ววินิจฉัยผลักหน้าที่ให้จำเลยสืบแก้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ผิดกฎหมายเพราะในปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
คดีที่ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้ววินิจฉัยผลักหน้าที่ให้จำเลยสืบแก้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ผิดกฎหมายเพราะในปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารเช่าโดยปริยาย: ผู้ให้เช่ายอมรับการดัดแปลงโดยไม่ทักท้วง แม้จะนำมาเป็นเหตุฟ้องไล่ไม่ได้
ผู้เช่าอาคารได้ทำการดัดแปลงเพิ่มเติมอาคารหลายอย่าง บางอย่างก็ได้รับความยินยอมเห็นชอบโดยตรงจากผู้ให้ เช่า บางอย่างผู้เช่าก็กระทำไปโดยลำพัง แต่ปรากฎว่าผู้เช่ากับผู้ให้เช่าได้ติดต่อกันอยู่เสมอ และผู้ให้เช่าได้มายังอา คารที่เช่าเนือง ๆ การที่ผู้เช่าซ่อมแซมดัดแปลง ผู้ให้เช่าย่อมทราบดี มิได้ทักท้วงอย่างใด ต่อเมื่อเกิดผิดใจกันขึ้น จึง ได้ถือเป็นเหตุมาฟ้องขับไล่นั้น ย่อมไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ เพราะมีเหตุถือได้ว่าผู่ให้เช่าได้อนุญาตดดยปริยาย.