คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องครอบครองปรปักษ์ที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีคดีก่อนหน้านี้
เดิมจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องบิดาโจทก์เป็นจำเลย อ้างว่าบิดาโจทก์อาศัยปลูกเรือนและรั้วในที่ดินของจำเลย ขอให้บิดาโจทก์รื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป บิดาโจทก์ต่อสู้ว่าปลูกสร้างในที่ดินของตนเอง ศาลล่างพิพากษาให้บิดาโจทก์แพ้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนหนึ่งของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ประเด็นในคดีก่อนมีว่าสิ่งปลูกสร้างของบิดาโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์ครอบครองที่ดินของจำเลยโดยปรปักษ์หรือไม่อันเป็นประเด็นคนละอย่างต่างกัน ทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้โจทก์คนหนึ่งในคดีนี้จะเข้าแทนที่บิดาโจทก์ผู้มรณะในคดีก่อนนั้น ก็ไม่มีผลให้โจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8686/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในศาลเดียวกัน กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมรดก และการสืบสิทธิของคู่ความ
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3148/2545 กับคดีนี้มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ส. เป็นเจ้าของรวมหรือมีกรรมสิทธิ์รวมในห้องแถวเลขที่ 1383/32 และเลขที่ 1379/1 - 2 หรือไม่ คดีทั้งสองจึงเป็นประเด็นอย่างเดียวกัน แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีใจความสำคัญเพียงว่าในศาลเดียวกันห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โดยมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องมีความหมายว่าคู่ความที่ฟ้องร้องกันจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันหรือเป็นบุคคลที่สืบสิทธิในการฟ้องร้องและดำเนินคดีมาจากคู่ความเดิมด้วยแล้วแต่กรณี เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจาก ส. และ ว. ตามลำดับ คดีทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในศาลเดียวกัน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8458/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสิทธิเก็บกินที่ดินพิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 เรื่อง สิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาท ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 568/2553 และหมายเลขแดงที่ 229/2555 ของศาลชั้นต้น ประเด็นในคดีดังกล่าวกับคดีนี้มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7956/2557 ว่า นายแผนไม่เคยมอบสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น ประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้คดีนี้จะมีการฟ้องร้องกันก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะมีคำพิพากษาก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องอยู่ใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและผลผูกพันตามคำพิพากษาในคดีเกี่ยวพันกัน
คดีนี้และคดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้แล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุดศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา ผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยต้องชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 7 ถึง 9 แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงควรรอฟังผลคดีดังกล่าวให้ถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18368/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีการฟ้องคดีปล่อยทรัพย์พิพาทมาก่อน
แม้ชั้นบังคับคดีในคดีก่อน จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึด โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่าผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง โดยอ้างเหตุแห่งการนั้นเช่นเดียวกับคำฟ้องคดีนี้ก็ตาม ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยในสาระสำคัญว่า ผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) ฟ้องจำเลยที่ 3 (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ต่อศาลแขวงนครราชสีมาและศาลมีคำพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) แล้ว ถือว่าผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) กับจำเลยที่ 3 (จำเลยที่ 1 คดีนี้) จะทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใดไม่มีประเด็นพิจารณาในคดีก่อน ดังนี้ คดีก่อนศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะและการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสี่คดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันอันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13141/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง: ผลของคำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระเงินค่างวดงานตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านพิพาท ส่วนคดีผู้บริโภคหมายเลขแดงที่ ผบ.480/2553 ของศาลแพ่งธนบุรี จำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้โจทก์ในคดีนี้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านพิพาท ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในประเด็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านพิพาท เมื่อศาลแพ่งธนบุรีมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยแล้ว ฟ้องโจทก์ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุดศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นประการใด ผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องชำระค่าก่อสร้างแก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ดังนั้น หากรอฟังผลคดีผู้บริโภคหมายเลขแดงที่ ผบ.480/2553 ของศาลแพ่งธนบุรีให้ถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีต่อไปย่อมทำให้ความยุติธรรมในคดีนี้ดำเนินไปด้วยดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และอำนาจฟ้อง: การที่โจทก์ฟ้องคดีซ้ำกับคดีเดิมที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว และการที่จำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีดังกล่าวมีฐานะเป็นนิติบุคคล การซื้อขายสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้อ้างว่า จำเลยที่ 1 (โจทก์ในคดีก่อน) ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย การซื้อขายสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่ไม่อาจถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำสำหรับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14113/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ แม้ไม่ได้ถูกฟ้องในคดีก่อน
ในคดีก่อน จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 2 และบริวารออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดิน อันเป็นเอกสารฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องขอให้เพิกถอน ต่อมาโจทก์ที่ 2 และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่ดินพิพาท โดยในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า ภายใน 3 เดือน หากโจทก์ที่ 2 ประสงค์จะซื้อที่ดินคืน จำเลยยินยอมขายคืนให้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ที่ 2 และบริวารยินยอมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท สัญญาประนีประนอมได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน ซึ่งล้วนเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี ต้องถือว่ามีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองนำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับเดิมซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ถูกฟ้องในคดีก่อน แต่ไม่ว่าโจทก์ที่ 1 จะอยู่ในฐานะเป็นสามีของโจทก์ที่ 2 หรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา148
ในคดีก่อน จำเลยขอให้บังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 สามีของโจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอกันส่วนอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบริวารของโจทก์ที่ 2 ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริวารของโจทก์ที่ 2 จึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 คำร้องขอกันส่วนของโจทก์ที่ 1 ในคดีก่อนและคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ร่วมกับโจทก์ที่ 2 คดีนี้ มีประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ให้วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกันและศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีก่อนไปแล้ว คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8491/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยไม่ฎีกาประเด็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่อาจยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1910/2542 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ จำเลยทั้งสองได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จำเลยทั้งสองกลับมิได้อุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ เท่ากับจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์โต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ การที่จำเลยทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9467/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือ ป. เป็นประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกัน คู่ความเดียวกัน เมื่อคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีต้องตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ตาม
of 5