พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสโดยปริยายและการขายสินส่วนตัว: โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งที่ดิน สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินสินสมรสซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วนได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวแล้วขายไปโดยจำเลยที่1รู้เห็นด้วยต่อมาจำเลยที่1ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือคือที่พิพาทในชื่อของจำเลยที่1ผู้เดียวเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้วที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่1จำเลยที่1ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบันทึกประจำวันสถานีตำรวจ ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์และได้ออกจากที่พิพาทไปแล้วก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลชี้ขาด ข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสำเนาเอกสาร ท้ายฟ้องมิใช่สัญญาเช่าและจำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่สัญญาเช่านั้นไม่ชอบ ขอให้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์แล้วพิจารณาใหม่ตามรูปคดีดังนี้ ประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์มีเพียงว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องเป็นหลักฐานการเช่าหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงว่ามีข้อโต้แย้ง เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่พิพาท ต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก่อนแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น จึงไม่ตรงตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าบันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่ หลักฐานการเช่าแล้ว ก็ต้องยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์ โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครบกำหนด ห้ามลดค่าจ้างโดยไม่ตกลงกัน ยอดขายตกเป็นเรื่องว่ากล่าว
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยไม่เลิกจ้างโจทก์ แต่ลดค่าจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทำให้ยอดการขายตก ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยจำเลยก็หาอาจลดค่าจ้างโจทก์ได้ไม่ เพราะการที่โจทก์ทำให้ยอดการขายตกลงนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์อีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยมีผลเมื่อตกลงกัน แม้กรมธรรม์จะออกภายหลัง และการตีความสัญญาต้องเป็นไปตามเจตนาสุจริต
จำเลยให้การว่า นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใดด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆ นั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆ นั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีวันที่ออก ไม่ถือเป็นความผิดอาญา แม้ตกลงกันลงวันที่ภายหลัง
จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้โจทก์โดยไม่ลงวันออกเช็ค ถือว่าไม่มีวันที่จำเลยกระทำความผิด แม้จะตกลงกันให้โจทก์ลงวันในเช็คนั้นเป็นวันใดวันหนึ่ง ก็เป็นเพียงให้เช็คได้มีรายการครบถ้วนตามกฎหมายเพื่อใช้ฟ้องร้องบังคับกันได้ในทางแพ่ง หาทำให้กลับเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างถูกสั่งทำงานซ่อมรถนอกเวลาราชการ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าล่วงเวลา แม้มีการตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลา
ผู้แทนโจทก์สั่งให้ลูกจ้างไปซ่อมรถบดถนนที่เสีย ลูกจ้างได้เดินทางไปทันทีและโดยดี แต่รถยนต์ที่ใช้เดินทางไปเกิดเสีย ลูกจ้างช่วยแก้ไขอยู่จนกระทั่งเวลา 16 น. เศษ จึงใช้การได้ ที่ลูกจ้างไม่เดินทางต่อไปเพื่อซ่อมรถบดถนนก็เพราะเห็นว่าจวนจะหมดเวลาทำงานตามปกติ (17 น.) แล้ว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างขัดคำสั่งโจทก์ โจทก์ให้ลูกจ้างออกจากงาน (เมื่อ พ.ศ. 2513) จึงต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯ ซึ่งกำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณีนิยม หรือในวันหยุดงานพักผ่อนประจำปี นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามอัตราที่กำหนดนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุมครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน ซึ่งกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้ไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นบทบัญญัติเด็ดขาดซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์กับลูกจ้างตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลาเพราะลูกจ้างขอทำงานในวันหยุดชดใช้วันทำงานปกติที่ขาดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯ ซึ่งกำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณีนิยม หรือในวันหยุดงานพักผ่อนประจำปี นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามอัตราที่กำหนดนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุมครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน ซึ่งกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้ไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นบทบัญญัติเด็ดขาดซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์กับลูกจ้างตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลาเพราะลูกจ้างขอทำงานในวันหยุดชดใช้วันทำงานปกติที่ขาดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783-1799/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อประกัน ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริตตาม พ.ร.บ. เช็ค หากตกลงกันไม่ขึ้นเงิน
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ร่วมให้สินเชื่อซื้อยาปราบศัตรูและพืช โดยเมื่อถึงหนดชำระเงินตามเช็คจำเลยจะซื้อดราฟท์ส่งไปให้โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมก็จะคืนเช็คพิพาทให้ ดังนี้ แม้ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยก็หามีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 ไม่ ข้อความในมาตรา 3(1) ที่ว่า "โดยเจตนาที่จะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค" ย่อมเป็นความผิดหมายความว่าเมื่อออกเช็คนั้นผู้สั่งจ่ายต้องมีเจตนาจะไม่ให้มีการจ่ายเงินในเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินหาได้หมายความว่าหากคู่กรณีตกลงกันไม่ให้นำเช็คไปขึ้นก็จะต้องเป็นความผิดไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ไม่สมบูรณ์, อายุความ และการเรียกเงินตามเช็ค
กู้เงินโดยออกเช็คให้แก่ผู้ให้กู้ เช็คนั้นมิได้ลงวันที่ ดังนี้ไม่ถือว่าได้ตกลงกันอยู่ในตัวว่าผู้กู้ผิดนัดลงเมื่อใด ผู้ให้กู้กรอกวันลงและนำเช็คไปขึ้นเงินได้ ผู้ให้กู้กรอกวันหลังจากออกเช็คกว่า 10 ปีธนาคารไม่จ่ายเงิน คดีขาดอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา1002
คำฟ้องระบุข้อหาว่า ตั๋วเงิน กล่าวถึงกู้เงินโดยออกเช็คให้ไว้แล้วธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ขอให้ใช้เงินกับดอกเบี้ยในต้นเงิน เป็นคำฟ้องเรียกเงินตามเช็ค
คำฟ้องระบุข้อหาว่า ตั๋วเงิน กล่าวถึงกู้เงินโดยออกเช็คให้ไว้แล้วธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ขอให้ใช้เงินกับดอกเบี้ยในต้นเงิน เป็นคำฟ้องเรียกเงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลจากทรัพย์สินขายฝาก: กรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้ซื้อฝาก เว้นแต่ตกลงกันเป็นอื่น
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ก็ให้ถือเป็นอันว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้นหมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์สินเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินด้วย เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่า จะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่า จะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด