พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริตเนื่องจากเจ้าหน้าที่ประเมินไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้งดเบี้ยปรับได้
เมื่อโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีสมุห์บัญชีอำเภอเมืองชลบุรี ปฏิบัติราชการแทนสรรพากรจังหวัดชลบุรี รับจดทะเบียนให้ ซึ่งเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก่อนจดทะเบียน น่าจะตรวจสอบให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วจึงจดทะเบียนให้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนจดทะเบียนดังกล่าวจึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจผิดโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งระบบภาษี มูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะนั้น น่าเชื่อว่าการเสียภาษีโดยผิดพลาดครั้งนี้ของโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี สมควรที่จะ งดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผู้รับคืนไม่ชำระคืนตามกำหนด
เงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท ที่โจทก์คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ มีข้อตกลงว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอคืนภาษีอากรต้องเสียภาษี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระภาษีอากรตามการแจ้งการประเมินหรือสั่งให้ชำระไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันที การคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมิใช่การคืนให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขว่า หากผลการตรวจสอบปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าว จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีอากรที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้น เจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.51 บาท ที่ได้รับคืนไป โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที 1 คืนเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ขอคืนไปจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิได้ และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ปรากฏตามคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ. 2529 ข้อ 15.2 ข. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมิน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ตุลาคม 2536 แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรจำนวน 50,677,905.41 บาท มาคืนโจทก์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2536 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 รับคืนไปจากโจทก์จำนวน50,677,905.41 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่14 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 มิใช่นับแต่วันที่14 ตุลาคม 2536 หรือวันที่จำเลยที่ 1 รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงิน 50,677,905.41 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม ดังนี้คำว่าเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 27 กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนและมาตรา 27 ทวิให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษี ดังนั้น เงินเพิ่ม จึงมิใช่ดอกเบี้ย เมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด จึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 683 จำเลยที่ 2 จึงคงรับผิดในวงเงิน 50,677,905.41 บาท แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่ 15 ธันวาคม 2536 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้ว ผลการตรวจสอบจำเลยที่ 1 ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 นำเงินจำนวน 50,677,905.41 บาทไปชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่20 ธันวาคม 2536 แล้วไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่ตรวจสอบงานก่อสร้างถนน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
จำเลยที่ 1 เป็นปลัดสุขาภิบาลได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาลให้เป็นผู้ตรวจงานจ้างในการจ้างเหมาขุดลอกและล้างทางระบายน้ำในเขตสุขาภิบาล จำเลยที่ 1 ได้เข้าดำเนินการขุดลอกและล้างทางระบายน้ำโดยใช้คนงานของสุขาภิบาลทำงานให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่จัดการและดูแลกิจการของสุขาภิบาล เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างคนงานเพียง 1,750 บาท แต่เบิกเงินค่าจ้างตามสัญญาไป 2,900 บาท เป็นเหตุให้สุขาภิบาลได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152,157อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 152 ซึ่งเป็นบทหนัก จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเสนอประธานกรรมการสุขาภิบาลว่าผู้รับจ้างได้ก่อสร้างถนนลาดยางแบบ 2 ชั้น เสร็จเรียบร้อยและถูกต้องตามสัญญาแล้ว เห็นควรเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ตรวจสอบการทำงานของผู้รับจ้าง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอันเป็นการผิดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2528แม้ว่าการตรวจการก่อสร้างถนนลาดยางจะต้องอาศัยผู้มีความรู้เป็นพิเศษเนื่องจากมองดูด้วยตาจะไม่สามารถรู้ได้ว่ามีการลาดยาง 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น แต่ถ้าจำเลยทั้งสี่ออกไปควบคุมดูแลและเอาใจใส่ในการตรวจสอบตามขั้นตอนก็ย่อมสามารถให้ผู้รับจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาและแบบแปลนได้ การที่ปล่อยให้ผู้รับจ้างก่อสร้างถนนโดยลาดยางเพียงชั้นเดียว เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้สุขาภิบาลอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างไปมากกว่าปริมาณของงาน ที่ได้รับ จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นเงินเพิ่มภาษีเนื่องจากความเข้าใจผิดและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (9) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดระเบียบการยกเว้นเงินได้พึงประเมิน ประเภทการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2521 ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ในแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามที่อธิบดีกำหนดด้วย แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดยกเว้นดังกล่าว ซึ่งเห็นได้แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องที่จำเลยไม่รู้ถึงประกาศข้างต้น หาใช่จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระค่าภาษีไม่ เพราะหากจำเลยเพียงแต่ปฎิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ได้รับยกเว้นภาษีในเรื่องนี้อยู่แล้ว การไม่ปฎิบัติของจำเลยส่อแสดงเด่นชัดว่า จำเลยมิได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใดกรณีจึงสมควรงดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาทนั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฎว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่ง ป.รัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน 822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน 164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้น จึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92บาท แก่โจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาทนั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฎว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่ง ป.รัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน 822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน 164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้น จึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92บาท แก่โจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่คู่ความในการมาศาล และผลของการไม่ตรวจสอบข้อมูลนัดความ
เมื่อคู่ความนำคดีมาสู่ศาลจึงมีหน้าที่ต้องนำข้อเท็จจริงมาแสดงต่อศาล หากมีความจำเป็นจนมิอาจมาศาลได้ก็จำต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าว คดีนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและได้กลับไปเพราะตรวจบัญชีนัดความของศาลในช่วงเช้าแล้วไม่พบรายชื่อคู่ความ โดยมิได้ตรวจดูบัญชีนัดความในช่วงบ่าย ทั้ง ๆ ที่คดีของโจทก์ได้นัดไว้ในช่วงบ่าย และมิได้ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ศาลแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดพลาดของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เองดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากหน้าที่ตรวจสอบการจัดซื้อพัสดุ: ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจอนุมัติ
หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อในของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอ และเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ.เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ว่า ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7 รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซอง คณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8 อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเองดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4ซึ่งเป็นวันทำละเมิด
จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด
แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่จำเลยที่ 3ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัด เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆ ซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529 ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายังรองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไปกรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่องไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอเลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ว่า ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7 รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซอง คณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8 อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเองดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4ซึ่งเป็นวันทำละเมิด
จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด
แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่จำเลยที่ 3ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัด เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆ ซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529 ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายังรองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไปกรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่องไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอเลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการสูญหายของรถยนต์ที่ไม่ได้ตรวจสอบบัตรออกอย่างเคร่งครัด
จำเลยจัดอาคารที่จอดรถให้แก่ลูกค้าผู้นำรถเข้าไปจอดเป็นผู้หาที่จอดรถเองและเป็นผู้เก็บกุญแจไว้โดยไม่ต้องเสียค่าจอดแต่อย่างใดส่วนการที่จำเลยจัดพนักงานไว้คอยฉีกหรือตรวจบัตรจอดรถยนต์ขณะที่นำรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถของจำเลยนั้นเป็นเพียงมาตรการช่วยรักษาความปลอดภัยให้เท่านั้นที่โจทก์อ้างว่าลูกจ้างของจำเลยปล่อยให้รถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถโดยไม่รับบัตรจอดรถคืนนั้นโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าลูกจ้างของจำเลยได้ปล่อยรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปโดยประมาทเลินเล่ออย่างไรแต่กลับได้ความจากพยานจำเลยว่าวันเกิดเหตุมีรถยนต์ขอออกจากอาคารที่จอดรถไปโดยไม่มีบัตรจอดรถยนต์รวม3คันลูกจ้างของจำเลยได้ทำบันทึกทะเบียนรถยนต์บัตรประจำตัวผู้ขับขี่หรือบัตรประจำตัวประชาชนไว้แล้วไม่ปรากฎว่าได้ปล่อยรถคันที่โจทก์รับประกันออกไปแม้แต่ว. พยานโจทก์ก็เบิกความรับว่าเคยขับรถเข้าไปจอดในห้างของจำเลยแล้วออกไปโดยไม่คืนบัตรจอดรถลูกจ้างของจำเลยไม่ยอมให้ออกจนกระทั่งต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับรถให้ดูจึงจะนำรถออกไปได้แสดงว่าลูกจ้างของจำเลยได้ตรวจสอบและปล่อยรถไปถูกต้องตามระเบียบเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเองมิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการดำเนินการสหกรณ์ไม่ต้องรับผิดทุจริต หากไม่มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารการเงิน และการทุจริตซับซ้อนจนผู้ตรวจสอบไม่พบ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 และที่ 25 ถึงที่ 29 เป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์ ซึ่งตามรายงานการประชุม ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ได้ลงมติให้จ่ายเงินกู้แก่สมาชิกเป็นเช็คขีดคร่อมเป็นรายตัวเพียงแต่ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอของกรรมการคนหนึ่งที่ให้มีการจ่ายเงินกู้เป็นเช็คด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกเท่านั้นและในการประชุมครั้งถัดมา ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการประชุมเรื่องการจ่ายเงินกู้สามัญเป็นเช็คว่า ได้มีการดำเนินการจ่ายเช็คเงินกู้สามัญเป็นรายการสำหรับหน่วยอำเภอ ม. และอำเภอ ค. โดยขีดคร่อมผู้ถือออกเท่านั้นและเมื่อการจ่ายเงินให้แก่ผู้กู้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการจะจ่ายให้เป็นเงินสดหรือเช็คก็ได้ ฉะนั้นไม่ว่าการจ่ายเงินกู้แก่สมาชิกจะจ่ายโดยเช็คขีดคร่อมเป็นรายตัวหรือไม่ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้หรือไม่จึงไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อหรือละเลยอันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23และที่ 25 ถึงที่ 29 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งการที่จำเลยดังกล่าวได้ตั้งผู้ตรวจสอบกิจการขึ้นตามข้อบังคับ และผู้ตรวจสอบไม่สามารถตรวจพบการทุจริต เพราะผู้ทุจริตได้ปลอมเอกสารการเงินขึ้นอีกชุดหนึ่ง ก็หาใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23และที่ 25 ถึงที่ 29 ไม่ เพราะจำเลยดังกล่าวไม่มีหน้าที่ เข้าไปตรวจสอบเอกสารการเงินด้วยตนเอง เป็นแต่ต้องควบคุมดูแลและวางมาตรการให้การดำเนินการของโจทก์เป็นไปด้วยความถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับที่วางไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม – สภาพแห่งข้อหาไม่ชัดเจน – การลงนามอนุมัติถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อ – สาระสำคัญของฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องข้อแรกว่า เมื่อ พ.นำใบถอนเงินมาขอถอนเงินแทนผู้ฝาก จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ลงนามอนุมัติให้ถอนเงินหลายครั้งหลายหนในเอกสารใบถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงินหรือผู้มอบฉันทะแล้วแต่กรณีในใบถอนเงินว่าเหมือนหรือคล้ายกับตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากในบัตรคู่บัญชีหรือไม่ หากมีการตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่เหมือนหรือไม่คล้ายกันก็ยังอนุมัติให้ถอนเงิน และอีกข้อบรรยายว่า จำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ละเลยการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่บรรยายไว้ในข้อแรกทุกประการหลายครั้งหลายหน โดยไม่ได้บรรยายว่าใบถอนเงินที่จำเลยทั้งเก้าอนุมัติให้ถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบ และใบถอนเงินที่จำเลยทั้งเก้าตรวจสอบแล้วเห็นว่าลายมือชื่อไม่เหมือนก็ยังอนุมัติให้ถอนเงินนั้นเป็นเงินในบัญชีของผู้ฝากรายใด ถอนเงินไปจำนวนเท่าใด เมื่อวันเดือนปีใดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งโจทก์ไม่ได้แนบบัญชีผู้ฝากเงินดังกล่าวมาท้ายฟ้อง เพื่อที่จะให้จำเลยเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์ย่อมขาดสาระสำคัญตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 เป็นฟ้องเคลือบคลุม และเมื่อโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยอื่นอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้แล้ว แม้จำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นให้การต่อสู้ไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในประเด็นดังกล่าวไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและแก้ไขค่าทดแทนได้ แม้มีคำวินิจฉัยของหน่วยงานอื่น
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบังคับใช้แก่กรณีพิพาทนี้แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดค่าทดแทนออก 3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่กำหนดเงินค่าทดแทนในเบื้องต้นระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีรักษาการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับขั้นตอนดังกล่าวหากมีข้อบกพร่องในการกำหนดเงินค่าทดแทนจากการกระทำของคณะกรรมการในระดับแรก คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลก็จะมีโอกาสตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนทั้งแปลง 70 ตารางวา คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 490,000 บาท โจทก์ไม่พอใจได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์)และฟ้องคดีต่อศาลในเวลาต่อมา ระหว่างพิจารณาคดีของศาลได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ประกาศใช้บังคับ แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาท แต่จำเลยทั้งสองยังมิได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาท โดยในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลได้หยิบยกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่44 มาวินิจฉัยแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน 318,500 บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้โจทก์อีก