คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ติดตามทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้เบิกจ่ายเกินสิทธิ ไม่มีอายุความ การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนไม่ใช่ลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยเบิกไปโดยไม่มีสิทธิเบิกได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินที่จำเลยได้เบิกไปโดยมิชอบซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีมิใช่ฟ้องเรียกให้คืนทรัพย์ตามลักษณะลาภมิควรได้ จึงนำอายุความตามมาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามทรัพย์สินคืน แม้ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากไม่ใช่หนี้ที่ขอรับชำระในคดีล้มละลาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนแต่จำเลยไม่ส่งมอบคืน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อติดตามทรัพย์สินของโจทก์คืนได้ แม้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตนดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แต่มาตรา 26 ก็บัญญัติว่าตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จะฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่นจากจำเลย เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งและเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนเป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ติดตามทรัพย์สินเช่าซื้อ แม้ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์: คดีนี้เจ้าหนี้ยังมีสิทธิฟ้องได้
แม้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 จะบัญญัติว่าเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน แต่การฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยมิได้เรียกร้องค่าเสียหายอื่น เป็นการขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง และเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนเป็นหนี้ที่มิอาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเพิกถอนการโอนหนี้กับคดีติดตามเอาคืนทรัพย์สินมีความเกี่ยวข้องกัน
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง 3 คดี โดยแต่ละคดีได้เรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหนี้ที่ดินและโรงงานพร้อมเครื่องจักร แม้บางคดีจะได้กล่าวหาจำเลยในมูลละเมิดและให้มีการชดใช้ค่าเสียหายมาด้วย แต่วัตถุประสงค์หลักก็คือ ให้เพิกถอนการโอนสินทรัพย์กลับคืนมาทั้งสิ้น จึงไม่ต่างกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของติดตามเอาคืนทรัพย์สินเครื่องจักรบางรายการ โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาเก็บไว้ในโรงงานไม่เกี่ยวกับหนี้ใด ๆ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบความจริงและขอให้ส่งมอบคืนในคดีก่อนได้อยู่แล้ว การมาฟ้องเรียกร้องเครื่องจักรคืนในคดีนี้อีกจึงสืบเนื่องมาจากคดีก่อนที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมถือว่าฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4569/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเงินผิดพลาดของหน่วยงานรัฐ และสิทธิในการติดตามทรัพย์สินคืน
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน โจทก์โดยสำนักงบประมาณได้โอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ถึงปี 2558 เป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่สำนักงานจังหวัดโดยตรง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล จากนั้นจังหวัดขอนแก่นเห็นชอบหลักเกณฑ์ ขั้นตอน แนวทางและคู่มือการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ จึงมอบอำนาจให้นายอำเภอพระยืนเป็นผู้มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในการสั่งซื้อสั่งจ้างและดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุทุกขั้นตอนในวงเงินสั่งซื้อสั่งจ้างไม่เกิน 5,000,000 บาท โจทก์โดยนายอำเภอพระยืนในฐานะผู้รับมอบอำนาจได้ตกลงทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ให้ดำเนินการปรับปรุงผิวจราจรลูกรังวงเงิน 439,000 บาท ตามสัญญาจ้างเลขที่ 15/2559 ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเลขที่ 15/2559 จำนวนเงินค่าจ้าง 439,000 บาท ให้แก่ ก. โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้โจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์กลับโอนเงินตามสัญญาจ้างดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นการโอนเงินให้ผู้รับผิดคนและเป็นการผิดหลง ซึ่งจำเลยให้การและนำสืบรับว่าจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากโจทก์จริง เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินอันเป็นทรัพย์ของแผ่นดินโดยผิดหลง โจทก์จึงมีหน้าที่และสิทธิติดตามนำเงินงบประมาณแผ่นดินดังกล่าวคืนกลับมาเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิรับเงินงบประมาณแผ่นดิน แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเข้าใจว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จำเลยจะต้องได้รับจากโจทก์ และได้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วก่อนที่โจทก์จะทวงถามให้จำเลยคืนก็ตาม จำเลยก็ต้องส่งเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคืนให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของงบประมาณที่มีสิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยคืนทรัพย์ในฐานะลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตามทรัพย์สินจากการฟอกเงิน: สิทธิของเจ้าของเดิม vs. การคืนทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์โดยรับเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อไว้โดยสุจริต เมื่อกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังเป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดมูลฐาน ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งรถยนต์ที่ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อได้ แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานมาชำระเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบที่จะคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เสียทีเดียว แต่ชอบที่จะคืนเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ภายหลังหักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดนั้นชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้ว โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์ แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินเงินลงทุนที่ยังขาดอยู่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้หักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 นั้น เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเท่ากับเป็นการให้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ในระหว่างเช่าซื้อโดยไม่เสียค่าตอบแทน เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
of 3