คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่ออายุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำเหมืองแร่และการขัดขวางการทำเหมือง ผู้รับประทานบัตรมีอำนาจฟ้องได้ แม้ประทานบัตรจะหมดอายุและอยู่ระหว่างต่ออายุ
ตามมาตรา 50,73 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 การได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่นั้น. ไม่ทำให้ผู้นั้นได้สิทธิครอบครองที่ดินอยู่ในเขตประทานบัตรด้วย. แต่เมื่อมีผู้ใดเข้าไปขัดขวางในการทำเหมืองแร่ในเขตประทานบัตรโดยไม่มีอำนาจโดยชอบแล้ว. ผู้ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีอำนาจฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนเกิดในไทยถือใบสำคัญคนต่างด้าวขาดต่ออายุ ไม่ผิด พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว
คำว่าผู้ใดในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 20 และพระราชบัญญัติชื่อเดียวกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495 มาตรา 4 หมายความถึงคนต่างด้าวเท่านั้น คนที่เกิดในประเทศไทย แต่ถือใบสำคัญประจำคนต่างด้าว เมื่อขาดต่ออายุใบสำคัญนี้จึงไม่มีความผิดตามมาตราทั้งสองข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นอายุเมื่อชำระเบี้ยเกินกำหนด แม้จะมีการรับเงินภายหลังก็ไม่ถือเป็นการต่ออายุ
การประกันชีวิตซึ่งตามกรมธรรม์ระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันคราวใดเมื่อถึงกำหนด กรมธรรม์เป็นอันสิ้นอายุ นั้น เมื่อผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันเมื่อพ้นกำหนดเวลาและล่วงพ้นวันผ่อนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว กรมธรรม์เป็นอันสิ้นอายุ ไม่มีผลผูกพันต่อไป บริษัทรับประกันจึงไม่ต้องรับผิด แม้ต่อมาผู้เอาประกันจะถึงแก่ความตายก็ตาม
ใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันที่มีเงื่อนไขว่ายังไม่สมบูรณ์มีผลบังคับจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามระเบียบการต่ออายุกรมธรรม์นั้น จะถือว่าการชำระเบี้ยประกันสมบูรณ์และเป็นการต่ออายุกรมธรรม์ย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีคนต่างด้าว: ความผิดแยกตามปีที่ขาดต่ออายุใบสำคัญ
การขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นผิดสำหรับปีที่ขาดต่ออายุปีนั้น
จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวสำหรับ พ.ศ.2495จนถึงวันฟ้อง(1ก.พ.97) เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ถือว่าขาดอายุความฟ้องร้องตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78(4) ซึ่งกำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
แต่การที่จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญสำหรับ พ.ศ.2496 นั้นนับแต่วันจำเลยจะต้องต่ออายุใบสำคัญสำหรับพ.ศ.2496 จนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความจึงลงโทษได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมีความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ และไม่ขาดอายุความ
จำเลยไม่ได้ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตั้งแต่ พ.ศ.2483 ตลอดมา โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในปี พ.ศ.2494 สำหรับความผิดที่จำเลยละเลยไม่ต่ออายุใบสำคัญในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2493 ถึง 22 มิถุนายน 2494 อันอยู่ในระหว่าง 1 ปี ถึงวันฟ้องได้ ไม่ขาดอายุความ
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนต่างด้าวไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัว ความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว และประเด็นอายุความ
จำเลยไม่ได้ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตั้งแต่ พ.ศ.2483 ตลอดมา โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในปี พ.ศ.2494
สำหรับความผิดที่จำเลยละเลยไม่ต่ออายุใบสำคัญในระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2493 ถึง 22 มิถุนายน 2494 อันอยู่ในระหว่าง 1 ปีถึงวันฟ้องได้ ไม่ขาดอายุความ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญคนต่างด้าว ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด ซึ่งมีโทษเบากว่า
จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตั้งแต่หมดอายุในวันที่ 6 กรกฎาคม 2485 ตลอดมานั้น จะปรับเป็น
รายปีตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 และแก้ไข 2495 ไม่ได้ เพราะในขณะกระทำผิด กฎหมายในขณะนั้น คือ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว 247-9 และแก้ไข 2481 บัญญัติไว้ให้ปรับได้เพียงไม่เกิน 12 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495 ยังกำหนดอัตราโทษหนักว่าบทกฎหมายที่ใช้ ในขณะกระทำผิด คดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2495.
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้ว ๆ มา ก็ขาดอากยุความฟ้องร้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 78(4) ซึ่ง กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยคนต่างด้าวที่ขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัว โดยต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำผิดและกฎหมายที่ให้โทษเบากว่า
จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตั้งแต่หมดอายุในวันที่ 6 กรกฎาคม 2485 ตลอดมานั้น จะปรับเป็นรายปีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493และแก้ไข 2495 ไม่ได้ เพราะในขณะกระทำผิดกฎหมายในขณะนั้น คือ พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว 2479 และแก้ไข 2481บัญญัติไว้ให้ปรับได้เพียงไม่เกิน 12 บาท เท่านั้นนอกจากนั้น พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2495 ยังกำหนดอัตราโทษหนักกว่าบทกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดคดีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลยได้ตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวพ.ศ.2495
อนึ่งการขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีที่แล้วๆมา ก็ขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 78(4) ซึ่งกำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบการค้าข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้หลงลืมต่ออายุใบอนุญาต ก็ยังคงมีความผิดตามกฎหมาย
ฟ้องมีข้อหาว่าจำเลยประกอบการค้าข้าว ทำการสีข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนประกาศของเจ้าพนักงาน จำเลยให้การรับว่าจำเลยสีข้าวทั้ง 5 ครั้งโดยไม่มีใบอนุญาต จำเลยจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 18 ข้อที่จำเลยว่าจำเลยหลงลืมในการขอต่ออายุใบอนุญาตนั้นจะจริงก็ไม่ทำให้พ้นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้าข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้หลงลืมต่ออายุใบอนุญาตก็ยังถือเป็นความผิด
ฟ้องมีข้อหาว่า จำเลยประกอบการค้าข้าว ทำการสีข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนประกาศของเจ้าพนักงาน จำเลยให้การรับว่า จำเลยสีข้าวทั้ง 5 ครั้งโดยไม่มีใบอนุญาต จำเลยจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 18 ข้อที่จำเลยว่าจำเลยหลงลืมในการขอต่ออายุใบอนุญาตนั้น หากจะจริงก็ไม่ทำให้พ้นความผิด
of 4