คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างกรรมต่างวาระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีผู้จัดการมรดกต่างกรรมต่างวาระ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ แม้มีประเด็นเกี่ยวกับหน้าที่ผู้จัดการมรดกคล้ายกัน
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก ไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๔๙ ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลไม่ผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา เหตุต่างกรรมต่างวาระ
คดีที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้างเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเพราะถูกไล่ออกจากงานเนื่องจากนายจ้างกล่าวหาลูกจ้างเป็นคดีอาญาว่า ปลอมและใช้เอกสารปลอม ฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกงซึ่งศาลอาญาพิพากษายกฟ้องไปแล้วนั้น ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 แม้ไม่บรรยายฟ้องแยกกระทง แต่เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลลงโทษทุกกระทงได้
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงกันเมื่อตามฟ้องโจทก์มีความผิดเพียง 2 กระทง แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นรายกระทง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด 2 กระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายแล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและคำขอท้ายฟ้องก็อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไว้แล้วศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้ระเบิดจับปลาและการครอบครองปลาที่ได้จากระเบิดเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้ต่อเนื่องกัน
ความผิดฐานใช้วัตถุระเบิดทำการจับปลากับความผิดฐานมีปลาที่ได้จากการใช้วัตถุระเบิดไว้ในครอบครองเพื่อการค้ากฎหมายบัญญัติไว้ต่างมาตรากันการกระทำของจำเลยแยกออกได้เป็นสองตอนต่างกรรมต่างวาระกัน แม้จะเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน ก็ถือว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำหลังถอนฟ้องคดีเดิม: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ขัดมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การพิจารณาความต่างกรรมต่างวาระของการยักยอกทรัพย์และการปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยการหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บค่าหุ้น พบว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ฟ้องได้
จำเลยวางแผนประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันเปิดรับสมัครบุคคลมาทำงานกับบริษัท เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อมาสมัครทำงาน โดยวางอัตราค่าจ้างเงินเดือนสูง ว่างระเบียบให้ต้องซื้อหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้นเป็นเงิน 900 บาท บริษัทตั้งขึ้นแล้วจำเลยก็มิได้ดำเนินกิจการค้าดังวัตถุประสงค์แต่อย่างใด สินค้าในบริษัทก็ไม่มีธุรกิจที่จะมอบหมายให้ผู้สมัครรับจ้างปฏิบัติก็ไม่มีถือได้ว่าจำเลยก่อตั้งบริษัท ดำเนินการด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเพื่อหลอกลวงประชาชนจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับการฉ้อโกงของจำเลยดังกล่าวแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงผู้เสียหายคนอื่นในกรณีนี้อีกได้เพราะผู้เสียหายเป็นคนละคนต่างถูกหลอกลวงคนละวันคนละเวลา จำนวนเงินที่ถูกหลอกแตกต่างกันตำแหน่งงานที่จะจ้างผู้เสียหายไม่เหมือนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระมิใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4-5-6/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: การถอนฟ้องก่อนไต่สวนมูลฟ้องทำให้ไม่สามารถฟ้องคดีเดิมได้อีก และการกระทำที่เป็นกรรมเดียวไม่ถือเป็นต่างกรรมต่างวาระ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลในข้อหาเดียวกัน. บทมาตราที่ขอให้ลงโทษก็เช่นเดียวกันโดยอาศัยหนังสือของจำเลยฉบับเดียวกันเป็นมูลฟ้องร้อง. และโจทก์ได้ถอนฟ้องคดีนั้นไปจากศาลแล้ว. โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยอีกหาได้ไม่.ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.
หนังสือที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ฉบับเดียว แต่บรรยายการกระทำของโจทก์เป็น 3 ข้อ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพียงครั้งเดียวและกรรมเดียว มิใช่ต่างกรรมต่างวาระ.โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพียงครั้งเดียว จะแบ่งฟ้องเป็นข้อเป็นตอนไม่ได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 908/2496).
แม้จะเป็นการถอนฟ้องที่ยังไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม. ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาฟ้องใหม่อีกไม่ได้. เพราะถือว่าได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเนื่องกับการกระทำต่างกรรมต่างวาระ: ยึดครองที่สาธารณะ vs. ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้างบุกเบิก แผ้วถาง ที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ไดรับอนุญาต ย่อมมีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครอง และยงคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินแปลงนี้ ส่วนความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดหลังจากวันที่เจ้าพนักงานสั่งให้จำเลยออกไปจากที่ดิน ความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจึงต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานเข้ายึดถือครอบครอง หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดฐานขายอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำแต่ละคราวเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ
การใช้สถานที่เอกชนทำการขายและสะสมอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำแต่ละคราวย่อมเกิดเป็นความผิดได้
ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2505 ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2505 จำเลยได้ใช้บ้านเรือนจำเลยทำการขายและสะสมอาหารโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยได้ถูกฟ้องและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว ต่อมาในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2505 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2505 จำเลยได้ใช้บ้านเรือนจำเลยทำการขายและสะสมอาหารโดยมิได้รับอนุญาตอีก จำเลยจึงถูกฟ้องหาว่ากระทำผิดในครั้งหลังนี้อีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยในครั้งหลังนี้เป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับการกระทำผิดที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การกระทำของจำเลยไม่ใช่เป็นการกระทำครั้งเดียวคราวเดียวต่อเนื่องกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 6