คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ, และการบังคับชำระหนี้ตามอัตราแลกเปลี่ยน
หนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ความสมบูรณ์ของหนังสือมอบอำนาจจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ทำหนังสือมอบอำนาจนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร
ความมุ่งหมายของการบังคับให้มีสำเนาเอกสารหรือคำแปลเอกสารที่รับรองถูกต้องแห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 3 (2) และ (3) ก็คือเพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือ ความไม่ชอบของเอกสารที่มิได้ระบุชื่อผู้แปลหรือผู้แปลได้สาบานตนหรือไม่ ตามที่ผู้คัดค้านอ้าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญแห่งคดี
การชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่กำหนดให้ผู้คัดค้านใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น ถือว่าไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง จึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลอกลวงหางานในต่างประเทศ พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้แจ้งข้อหาอื่นก่อนก็มีอำนาจฟ้องได้
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ++
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ, การแจ้งเอกสาร, และขอบเขตการบังคับ
เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 31 (3) ที่กำหนดให้คำแปลภาษาไทยของคำชี้ขาดและสัญญาอนุญาโตตุลาการที่อ้างส่งต่อศาลนั้นต้องมีผู้แปลซึ่งได้สาบานตนแล้ว เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับรองนั้น เป็นเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อความน่าเชื่อถือของเอกสารซึ่งกระทำในต่างประเทศเท่านั้น จึงไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยสละประเด็นข้อนี้โดยไม่คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จำเลยจึงอุทธรณ์ว่าคำแปลภาษาไทยดังกล่าวไม่มีผู้แปล เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศตัวแทนทางการทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับรองไม่ได้
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ. 1 ถึง จ. 5 ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์หรือไม่ก็ดี และเอกสารหมาย จ. 1 และ จ. 2 ไม่สมบูรณ์เนื่องจากมิได้ปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ดี เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแทนโจทก์ในการ "?ยื่นฟ้องต่อสู้คดีและดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวง?ในประเทศไทย?หรือดำเนินกระบวนพิจารณาทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา?" ข้อความดังกล่าวย่อมหมายถึงการฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการด้วย
หนังสือมอบอำนาจกระทำในต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.รัษฎากรที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 ที่บัญญัติให้สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันคู่กรณีได้ต่อเมื่อ มีหลักฐานเอกสารหรือมีข้อสัญญาอยู่ในเอกสารโต้ตอบทางจดหมาย โทรสาร โทรพิมพ์หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจไต่สวนและชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็อุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องแจ้งรายละเอียดการแต่งตั้งและพิจารณาตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนการแจ้งความใด ๆ ให้คู่กรณีทราบ ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับตามข้อตกลงที่ให้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น
ข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศในเรื่องอนุญาโตตุลาการกำหนดว่า อนุญาโตตุลาการต้องไม่ทำหน้าที่ในกรณีที่ตนมีส่วนได้เสียกับข้อพิพาทนั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณี และลูกจ้างของสมาชิกสมาคมใดจะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในสหราชอาณาจักรสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการขายหรือซื้อยางพาราไม่ได้ แสดงว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านมิให้ทำหน้าที่ได้ จึงเป็นสิทธิในเบื้องต้นของคู่กรณีในอันที่จะได้ทราบชื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการข้อบังคับดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการที่ต้องส่งให้ฝ่ายที่อาศัยอยู่นอกประเทศอังกฤษ กรณีที่ไม่มีผู้แทนอยู่ในกรุงลอนดอน ให้จ่าหน้าตามที่อยู่เดิมถึงบุคคลนั้นแล้วส่งไปที่สำนักงานของสมาคมและไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้ส่งคู่ฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าถึงบุคคลนั้นโดยส่งไปยังที่อยู่อาศัยหรือที่ทำการธุรกิจล่าสุดที่ทราบ ย่อมเห็นได้ว่าจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษและไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนย่อมต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้งเอกสารหรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วย แต่ตามเรื่องราวที่ผู้คัดค้านได้รับแจ้งคงมีเพียงหนังสือและโทรสารลงวันที่เดียวกันจากสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น หาได้มีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวข้างต้นไม่ ส่วนหนังสือจากสมาคมค้ายางระหว่างประเทศ แม้จะมีการแจ้งรายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่ผู้คัดค้านก็ปฏิเสธอยู่ว่าไม่เคยได้รับ เมื่อการส่งหนังสือฉบับนี้โดยทางโทรสารถึงผู้คัดค้านไม่อาจกระทำได้ และไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่า ได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: การแจ้งรายละเอียดสำคัญตามข้อบังคับสมาคม
ข้อตกลงให้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอันเป็นกรณีพิพาทนี้เป็นข้อบังคับของสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศ ตามข้อบังคับดังกล่าวจะต้องมีการแจ้งชื่อของอนุญาโตตุลาการ วิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนกำหนดวันเวลาและสถานที่พิจารณาให้คู่กรณีทราบ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกประเทศอังกฤษ และไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนในกรุงลอนดอนต้องมีการส่งคู่ฉบับของหนังสือแจ้ง เอกสาร หรือหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้คัดค้านด้วยผู้คัดค้านได้รับแจ้งเพียงว่าได้มีการเสนอข้อพิพาทรายนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้นส่วนหนังสือที่มีการแจ้งรายละเอียดครบถ้วนตามข้อบังคับไม่สามารถส่งให้ผู้คัดค้านทางโทรสารได้ และไม่ปรากฏว่ามีการส่งหนังสือฉบับนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้คัดค้านด้วย แม้จ.กรรมการบริหารสมาคมการค้ายางระหว่างประเทศจะบันทึกรับรองไว้ในหนังสือฉบับนี้ด้วยว่าได้ส่งทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามข้อบังคับดังกล่าวแล้วหรือไม่ จึงรับฟังไม่ได้ว่ามีการแจ้งให้ผู้คัดค้านซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการศาลจึงมีอำนาจที่จะปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ พ.ศ. 2530 มาตรา 34(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9758/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานต่างประเทศสำคัญกว่าสถานที่: การกระทำที่ปราศจากเจตนาไม่ถือเป็นความผิด
การจะเป็นผู้กระทำผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้กระทำผิดจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานเมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9658/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องพิสูจน์การส่งคำชี้ขาดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า เมื่อทำคำชี้ขาดแล้ว อนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้น ถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน และในหมวดที่ 6 ที่ว่าด้วยการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ มาตรา 30 บัญญัติให้คู่กรณีฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรคสี่ แสดงว่าผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว หน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ย่อมตกเป็นของผู้ร้อง
การส่งสำเนาคำชี้ขาดทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ลงทะเบียนย่อมไม่มีหลักฐานว่าผู้คัดค้านได้รับคำชี้ขาดแล้ว ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมีสิทธิส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านโดยทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ต้องลงทะเบียน ตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 77 โดยอ้างส่งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษเป็นพยาน และผู้ร้องมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทยต่อศาล แม้เฉพาะข้อความในข้อ 77 ที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านมีการตกลงกันว่าไม่ต้องทำคำแปลหรือศาลอนุญาตให้ส่งเอกสารโดยไม่ต้องทำคำแปล ตามที่ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทั้งผู้คัดค้านก็โต้เถียงอยู่ว่า ข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 76 และข้อ 77 มิได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ หนังสือบอกกล่าวและเอกสารให้แก่คู่กรณีไว้ และข้อความในข้อ 76 และข้อ 77 ก็มิได้ระบุแจ้งชัดว่าอนุญาตให้มีการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ โดยวิธีธรรมดาได้ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าการส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านตามที่วิธีการที่ผู้ร้องได้นำสืบมานั้นถูกต้องตามข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอันเป็นการเพียงพอให้ถือได้ว่าได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้คัดค้านโดยชอบตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 แล้ว
การส่งจดหมายหรือเอกสารทางไปรษณีย์ธรรมดาระหว่างประเทศต้องมีการขนส่งโดยพาหนะหลายทอดหลายตอน ไม่มีหลักฐานการตอบรับจากผู้รับ และหากส่งได้ก็จะไม่มีการบันทึกการส่งได้ไว้ หากส่งไม่ได้ไปรษณีย์ ผู้ส่งจะบันทึกลงบนไปรษณีย์ภัณฑ์นั้นถึงเหตุที่ส่งไม่ได้ และจัดการส่งคืนผู้ฝากส่ง แม้ไม่ปรากฏว่าหนังสือแจ้งคำชี้ขาดที่ส่งไปให้แก่ผู้คัดค้านได้มีการส่งกลับคืนไปเพราะส่งไม่ได้ก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าไม่มีการส่งสำเนา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9658/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องพิสูจน์การส่งคำชี้ขาดให้ผู้ถูกบังคับทราบตามกฎหมาย
ผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นให้แก่ผู้คัดค้านแล้วตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่และมาตรา 30
ในการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดของคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ทางสำนักงานอนุญาโตตุลาการได้ขอให้สำนักกฎหมาย ก. เป็นผู้จัดส่งให้แก่ผู้คัดค้านตามเงื่อนไขในมาตรา 77 ของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยจัดส่งแก่ผู้คัดค้านตามที่อยู่ที่ระบุให้โดยจดหมายทั่วไป และให้ทำรายงานการจัดส่งกลับคืนไป ต่อมาสำนักกฎหมาย ก. ได้มีหนังสือตอบกลับว่าได้จัดการส่งสำเนาคำชี้ขาดและหนังสือของสำนักงานอนุญาโตตุลาการให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แต่การส่งสำเนาคำชี้ขาดทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ลงทะเบียนย่อมไม่มีหลักฐานว่าผู้คัดค้านได้รับคำชี้ขาดนั้น ประกอบกับผู้ร้องมิได้ส่งคำแปลข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นภาษาไทยต่อศาล โดยเฉพาะข้อความในข้อ 77 ที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านมีการตกลงกันว่าไม่ต้องทำคำแปลหรือศาลอนุญาตให้ส่งโดยไม่ต้องทำคำแปลตามที่ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทั้งผู้คัดค้านก็โต้เถียงอยู่ว่า ข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 76 และ ข้อ 77 มิได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ หนังสือบอกกล่าวและเอกสารให้แก่คู่กรณีไว้ และข้อความในข้อ 76 และข้อ 77 ก็มิได้ระบุแจ้งชัดว่าอนุญาตให้มีการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ โดยวิธีธรรมดาได้ จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า การส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านตามวิธีการที่ผู้ร้องได้นำสืบมานั้นถูกต้องตามข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อันเป็นการเพียงพอให้ถือได้ว่าได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้คัดค้านโดยชอบตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 แล้ว
สำนักกฎหมาย ก. มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้ร้องมิได้นำสืบให้เห็นว่าสำนักกฎหมาย ก. มีชื่อเสียงเป็นที่เชื่อถือระหว่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด ทั้งข้อความในหนังสือรับรองของสำนักกฎหมาย ก. ก็ได้ความเพียงว่าได้จัดส่งสำเนาคำชี้ขาดและเอกสารต่าง ๆ ให้แก่ผู้คัดค้านแล้วทางไปรษณีย์แต่การส่งจดหมายหรือเอกสารทางไปรษณีย์ธรรมดาระหว่างประเทศต้องมีการขนส่งโดยพาหนะหลายทอดหลายตอน จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจดหมายหรือเอกสารที่ส่งไปโดยวิธีดังกล่าวจะไปถึงผู้รับในอีกประเทศหนึ่งได้อย่างเรียบร้อย เมื่อผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดที่พิสูจน์ได้ว่าผู้คัดค้านได้รับสำเนาคำชี้ขาดดังกล่าว หรือสำเนาคำชี้ขาดได้มีการส่งไปถึงสำนักงานของผู้คัดค้านแล้ว แม้ ว. ผู้ช่วยหัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์จะเบิกความว่าการส่งไปรษณีย์ธรรมดาจะไม่มีหลักฐานการตอบรับจากผู้รับ และหากส่งได้ก็จะไม่มีการบันทึกการส่งได้ไว้หากส่งไม่ได้ไปรษณีย์ผู้ส่งจะบันทึกลงบนไปรษณียภัณฑ์นั้นถึงเหตุที่ส่งไม่ได้และจัดการส่งคืนผู้ฝากส่ง และแม้จะไม่ปรากฏว่าหนังสือแจ้งคำชี้ขาดที่ส่งไปให้แก่ผู้คัดค้านได้มีการส่งกลับคืนไปเพราะส่งไม่ได้ก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าได้มีการส่งสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 30 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์จากต่างประเทศ: ข้อเท็จจริงที่ต้องบรรยายในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยดังที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42 ซึ่งถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แล้ว ซึ่งมาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานจากต่างประเทศ: ฟ้องชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุหลักเกณฑ์คุ้มครองของประเทศนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 61 โดยกล่าวในฟ้องว่างานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ตามคำฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศภาคแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์ว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ลงวันที่ 15พฤษภาคม 2539 จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่า กฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42ซึ่งถูกเลิกโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 61แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไปแล้ว
of 23