พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้ยืม: แยกพิจารณาต้นเงินและดอกเบี้ยได้, การใช้เงินกู้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตกลงกู้เงิน 40000 บาทคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 10 เดือนเป็นเงิน 2000 บาท เอารวมไว้เป็นเงินกู้ด้วย เมื่อกรณีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาที่จะแยกการกู้เงินและเรียกดอกเบี้ยออกต่างหากจากกันแล้ว ส่วนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราก็ตกเป็นโมฆะ แต่ต้นเงินกู้หาเป็นโมฆะด้วยไม่
การใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมา แสดงหรือได้เวนคืนเอกสาร หรือได้แทงเพิกถอนลงไว้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้จะเป็นตัวผู้กู้ชำระเองหรือบุคคลที่ 3 เป็นผู้ชำระก็เช่นเดียวกัน เพราะมาตรา 653 มิได้บัญญัติยกเว้นถึงตัวบุคคลผู้ชำระหนี้ไว้เลย
การใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมา แสดงหรือได้เวนคืนเอกสาร หรือได้แทงเพิกถอนลงไว้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้จะเป็นตัวผู้กู้ชำระเองหรือบุคคลที่ 3 เป็นผู้ชำระก็เช่นเดียวกัน เพราะมาตรา 653 มิได้บัญญัติยกเว้นถึงตัวบุคคลผู้ชำระหนี้ไว้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้จำนองเป็นขายฝาก: สัญญาเดิมระงับ สัญญาใหม่บังคับได้ ดอกเบี้ยค้างชำระรวมต้นเงินได้
เดิมจดทะเบียนจำนองที่ไว้แก่เขา ภายหลังตกลงเปลี่ยนเป็นทำสัญญาทะเบียนขายฝาก ดังนี้ เป็นการแปลงหนี้จำนองเดิมเป็นขายฝาก สัญญาจำนองเดิมเป็นอันระงับสิ้นไปในตัว บังคับตามสัญญาขายฝากได้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเพิกถอนสัญญาจำนองเดิมเสียก่อน
การตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างอยู่กว่า 5 ปี ตามสัญญาจำนองมาคิดรวมเป็นต้นเงินในสัญญาขายฝาก+ขึ้นใหม่นั้นก็หาต้องห้ามตามกฏหมายไม่
การตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างอยู่กว่า 5 ปี ตามสัญญาจำนองมาคิดรวมเป็นต้นเงินในสัญญาขายฝาก+ขึ้นใหม่นั้นก็หาต้องห้ามตามกฏหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา: โมฆะเฉพาะดอกเบี้ย แต่ต้นเงินไม่เป็นโมฆะ
การกู้เงินเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น ในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่ต้นเงินไม่เป็นโมฆะ ผู้ให้กู้ฟ้องเรียกต้นเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ไม่ครบจำนวน หักเป็นดอกเบี้ยก่อน การพิสูจน์การชำระต้นเงิน
ชำระหนี้ไม่พอเปลื้องหนี้ทั้งหมด ต้องจัดใช้เปนดอกเบี้ยก่อน วิธีพิจารณาแพ่งหน้าที่นำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจำนองที่ชำระแล้ว หักต้นไม่ได้ คิดดอกเบี้ยเพิ่มได้
ผู้จำนองส่งดอกเบี้ยไปแล้วเท่าใดให้ถือว่าเป็นการชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเมื่อจะไถ่การจำนองจะเอามาคิดหักให้แก่ผู้รับจำนองเพียงต้นชนดอกอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13381/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักชำระหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงิน ความสุจริตในการใช้สิทธิฟ้อง และการนำสืบพยาน
จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระในแต่ละครั้งตามที่โจทก์อ้างนั้นนำไปหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเวลาหลายปี จึงทำให้มีดอกเบี้ยค้างชำระจำนวนมาก โจทก์จึงนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระมาทั้งหมดไปหักออกจากดอกเบี้ยที่ค้างชำระในคราวเดียวกันได้ การหักชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง แต่ประการใด และการที่โจทก์มิได้นำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระอีก 3 ครั้ง ไปหักชำระหนี้เกิดจากความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลทางบัญชีหรือในการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีอันเป็นความผิดพลาดเล็กน้อยมากกว่าที่จะมีเจตนาเอาเปรียบจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ พฤติการณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์แนบตารางสรุปการผ่อนชำระหนี้มาท้ายอุทธรณ์เพื่อแจกแจงรายละเอียดการคิดคำนวณ เพื่อให้เห็นว่าได้มีการหักชำระหนี้กันอย่างไรอันเป็นการอธิบายให้เห็นถึงรายละเอียดการคำนวณมิใช่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 แต่อย่างใด
การที่โจทก์แนบตารางสรุปการผ่อนชำระหนี้มาท้ายอุทธรณ์เพื่อแจกแจงรายละเอียดการคิดคำนวณ เพื่อให้เห็นว่าได้มีการหักชำระหนี้กันอย่างไรอันเป็นการอธิบายให้เห็นถึงรายละเอียดการคำนวณมิใช่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14143/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาภารจำยอมและการเรียกร้องดอกเบี้ยของต้นเงินที่ชำระคืน
กรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยสมัครใจซึ่งคู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามวรรคสองของบทมาตราดังกล่าวบัญญัติถึงเงินที่ต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวนั้นให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย โดยให้คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ สำหรับการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานและดอกเบี้ย ป.พ.พ. มาตรา 329 ไม่ได้บังคับว่าลูกหนี้จะขอชำระหนี้อันเป็นประธานโดยยังไม่ชำระดอกเบี้ยไม่ได้เสียเลย เพียงแต่ให้สิทธิเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ระบุให้จัดใช้หนี้อันเป็นประธานก่อนโดยยังไม่ชำระดอกเบี้ย เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้เท่านั้น คดีนี้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2538 จำเลยได้รับเงินค่าตอบแทนการใช้ที่ดินภาระจำยอมจากโจทก์ 6,749,540 บาท ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2547 โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาใช้ที่ดินภาระจำยอมดังกล่าวและจำเลยขอชำระต้นเงินจำนวน 6,749,540 บาทคืน โจทก์รับชำระไว้โดยไม่ได้บอกปัด จึงถือว่าโจทก์ได้รับชำระต้นเงินจำนวน 6,749,540 บาทแล้ว จำเลยจึงยังคงค้างชำระดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2538 (ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับต้นเงินดังกล่าวจากโจทก์) ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยนำต้นเงินมาชำระคืนให้แก่โจทก์ เป็นเงินค่าดอกเบี้ยค้างชำระ 4,558,713.28 บาท เมื่อโจทก์รับชำระต้นเงินทั้งหมดไว้แล้วในวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงิน 6,749,540 บาท ภายหลังวันที่ 11 มิถุนายน 2547 อีกต่อไป