คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต้องห้ามฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญาถึงที่สุดแล้ว คดีแพ่งก็ยังต้องห้ามฎีกาหากข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ข้อหาในทางอาญาได้ยุติแล้วโดยต้องห้ามฎีกา ก็ไม่เป็นเหตุให้ข้อหาในทางส่วนแพ่งซึ่งอาจฎีกาต่อไปอีกได้นั้น ต้องห้ามฎีกาด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9647/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทความผิดและโทษจากรอการกำหนดโทษเป็นฝึกอบรมเยาวชน: กรณีต้องห้ามฎีกา
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340, 340 ตรี จำเลยให้การปฏิเสธแต่รับว่าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจริง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 และ 357 วรรคหนึ่ง ให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลย ยกฟ้องฐานปล้นทรัพย์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 340 ตรี ประกอบมาตรา 83 จำคุก 8 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 (จังหวัดเชียงใหม่) มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย 25,540 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยฎีกาว่าไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขบทความผิดและแก้โทษจากรอการกำหนดโทษเป็นฝึกและอบรม มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขมากแต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย เพราะการฝึกและอบรมไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกประเด็นฟ้อง: สัญญาไม่ใช่ซื้อขายแต่เป็นสัญญาเช่าซื้อ เงินที่ชำระไม่ใช่เงินมัดจำ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับโจทก์ราคา 1,502,424 บาท ตกลงชำระค่ามัดจำ 360,000 บาท โดยชำระในวันทำสัญญา 60,000 บาท ในวันติดตั้งสินค้า 37,500 บาท อีก 262,500 บาท ชำระหลังจากที่จำเลยผ่อนชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือ 1,142,424 บาท ให้แก่บริษัทเงินทุนครบถ้วนแล้ว ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ผ่อนชำระเงินค่างวดแก่บริษัทเงินทุนเป็นเหตุให้ถูกบอกเลิกสัญญาและยึดสินค้าคืน ถือว่าจำเลยสละเงื่อนเวลาและไม่ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาอีกต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย การที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาตามฟ้องแม้ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาแล้วมิใช่สัญญาซื้อขายเพราะโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงที่จะให้มีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ และสัญญามีข้อตกลงให้โจทก์เป็นฝ่ายจัดหาบริษัทเงินทุนเพื่อให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อผ่อนชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือ สัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาชนิดหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ เงินจำนวน 262,500 บาท ที่ระบุในสัญญาจึงมิใช่มัดจำ เมื่อจำเลยตกลงจะชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เป็นฎีกานอกเหนือประเด็นที่กล่าวในฟ้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษโดยคำนึงถึงความรู้สึกผิดชอบของจำเลย แม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาได้
การใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษโดยคำนึงถึงความรู้สึกผิดชอบของจำเลยที่ 3 เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลฎีกาลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 3 ในความผิดฐานที่ไม่ต้องห้ามฎีกาแล้ว ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษในความผิดฐานที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย
of 3