คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และผลกระทบต่อจำเลยเมื่อฟ้องผิดศาล
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และในกรณีที่ฟ้องผิดศาลหากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ยังศาลที่คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเหตุฟ้องผิดศาล แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ จึงมิได้ทำให้จำเลยเสียหายแต่ประการใด ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ถอนฟ้องก็เพื่อจะไปดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ตามที่จำเลยให้การ โดยเฉพาะเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงหาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน แม้ความผิดบางประเภทไม่อาจยอมความได้ แต่โจทก์สามารถถอนฎีกาได้หากมีการตกลงกัน
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ บริษัท ม. และบริษัท ข. ตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงไม่ประสงค์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ บริษัท ม. บริษัท ข. และจำเลยที่โจทก์ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งต่อกันอีก ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาถอนฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ด้วย จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฎีกาในความผิดฐานดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา และความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารเป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารกับถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย ทำให้คดีระงับตามกฎหมาย
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่คัดค้าน ตามรูปคดีแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้อง เนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมเช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224-2225/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและการระงับสิทธิเรียกร้อง
คดีอาญาโจทก์และจำเลยจะขอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้องของจำเลยทั้งสองหาได้ไม่ แต่เมื่อเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และมีผลให้คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองระงับไปด้วยในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224-2225/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด และผลกระทบต่อคำพิพากษา
ในคดีอาญาโจทก์และจำเลยจะขอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาตามยอมหาได้ไม่
คดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองสำนวนถอนฟ้องได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และมีผลให้คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองระงับไปด้วยในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าฐานความผิด การถอนฟ้องฉ้อโกงกระทบสิทธิบังคับคดีแพ่ง
การจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง แม้คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวันโดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในใต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมายและจะได้รับค่าจ้างอันเป็นความเท็จทั้งสิ้น เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ถือได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อสวนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สำหรับคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายนั้น เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้ว ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ดังกล่าวตกไปด้วย ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเช่นเดียวกัน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6824/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ในการถอนฟ้องคดีเมื่อมีคดีเดียวกันอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลปกครอง การคัดค้านการถอนฟ้องโดยอ้างเหตุไม่มีพยานไม่มีน้ำหนัก
คำร้องขอถอนคำฟ้องของโจทก์คดีนี้อ้างว่า เรื่องตามฟ้องโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมาเมื่อศาลปกครองกลางเปิดทำการเรื่องของโจทก์ได้โอนไปเป็นคดีของศาลปกครองกลางนั้น หากให้ศาลยุติธรรมดำเนินคดีของโจทก์ต่อไปจะเป็นการซ้ำซ้อนกับคดีของโจทก์ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีที่ศาลปกครองเพียงแห่งเดียว เห็นได้ว่า คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ที่จำเลยคัดค้านการถอนคำฟ้องอ้างว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบนั้นเป็นการคาดคะเนของจำเลย ข้อคัดค้านของจำเลยยังไม่มีน้ำหนัก ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนกระทำชำเราและการพรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความสัมพันธ์ในฐานะครู-ศิษย์ และการถอนฟ้อง
คำว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งความหมายของข้อความที่ว่าศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย
จำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์สอนกวดวิชาตามที่มีผู้ไปสมัครเรียนตามความสมัครใจ และเมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ แสดงว่า จำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาโจทก์ร่วมที่ 2 ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 285 หากเป็นเพียงความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281
โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นพออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 จึงหลอกโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าจะพาไปสมัครแข่งขันวาดภาพโดยให้โจทก์ร่วมที่ 2 ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับไป แต่จำเลยกลับขับรถจักรยานยนต์พาโจทก์ร่วมที่ 2 เข้าโรงแรมม่านรูดแล้วข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 การกระทำของจำเลยเป็นการพรากโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร โดยโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ: ศาลต้องสอบถามจำเลยและพิจารณาความสุจริตของโจทก์
สาระสำคัญของการขอถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง(1) อยู่ที่ว่าเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ต้องสอบถามจำเลยก่อนเท่านั้น เมื่อสอบถามจำเลยแล้ว ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยศาลต้องคำนึงถึงความสุจริตของโจทก์หรือการเอารัดเอาเปรียบในคดีเป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้ขายสิทธิการเช่าซื้อให้แก่บริษัท บ. ไปแล้ว ทั้งได้รับอนุมัติจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินให้ถอนฟ้องคดีนี้ได้ จึงเป็นการเชื่อว่าตนหมดอำนาจในการดำเนินคดีต่อไป ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามปกติที่มีอยู่ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยจะคัดค้านแต่ก็มิได้ให้เหตุผลอย่างใดไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องและการถอนฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และต้องให้จำเลยทราบก่อนอนุญาตถอนฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉย มิได้หมายความว่า จะเป็นกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) เสมอไป เช่น โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ตามมาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ ส่วนคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง
of 52