พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของตัวแทนที่ทดรองจ่ายเงินซื้อหุ้นให้ลูกค้าและรับจำนำหุ้นเป็นประกัน ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย
โจทก์เป็นตัวแทนของลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์ ถือไม่ได้ว่าการดำเนินงานของโจทก์เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงหาใช่เป็นการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือการให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่ดังกล่าวตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ไม่ ดังนั้น การรับเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป โจทก์ย่อมกระทำได้โดยชอบ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์ และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้ จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์ และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้ จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทดรองจ่ายซื้อหุ้นพร้อมจำนำหุ้นประกันเข้าข่ายผิดกฎหมายและโมฆะ
โจทก์เป็นตัวแทนของลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์ ถือไม่ได้ว่าการดำเนินงานของโจทก์เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงหาใช่เป็นการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือการให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือสถานที่ดังกล่าวตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ไม่ ดังนั้น การรับเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่วๆ ไป โจทก์ย่อมกระทำได้โดยชอบ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบว่าการที่โจทก์ให้ลูกค้ากู้ยืมเงินซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์เองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงให้จำเลยกู้ยืมเงินจากบริษัทในเครือแทนเท่ากับว่าโจทก์เองเป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และจำเลยต้องจำนำหุ้นไว้แก่บริษัทในเครือเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายโดยโจทก์เป็นผู้ยึดถือหุ้นนั้นไว้จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายบริษัทไม่ใช่การกู้ยืม และการประนีประนอมยอมความเป็นหลักฐานการเกิดหนี้ที่ใช้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
จ่ายเงินทดรองค่าใช้จ่ายของบริษัทไม่ใช่กู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อเป็นหนี้กันจริงก็ไม่เป็นการสมยอม ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุมและอายุความ - การยืมเงินทดรองจ่ายกิจการ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ทำหลักฐานยืมเอาเงินของโจทก์ไปหลายครั้งแล้วไม่ใช้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามฟ้อง. ซึ่งฟ้องโจทก์ได้กล่าวแสดงรายละเอียดถึงวันเดือนปีและจำนวนเงินที่จำเลยยืมไป และมีสำเนาใบยืมท้ายฟ้อง. ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
จำเลยมิได้ใช้เงินที่จำเลยยืมไปจากโจทก์ในกิจการของโจทก์. กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ต้องใช้อายุความตามมาตรา 164.
จำเลยมิได้ใช้เงินที่จำเลยยืมไปจากโจทก์ในกิจการของโจทก์. กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ต้องใช้อายุความตามมาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้เงินทดรองจ่ายในฐานะตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตัวแทนออกเงินทดรองไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายจากตัวการย่อมมีสิทธิเรียกเงินชดใช้จากตัวการได้ตามมาตรา 816 และการทดรองเงินก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 ซึ่งเป็นบทเรื่องกู้ยืมเงินโดยเฉพาะ
โจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อไปแทนจำเลยตามคำร้องขอของจำเลยถือว่าเป็นการกระทำแทนจำเลยในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ แม้การจ่ายเงินนั้นจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินจำนวนนั้นจากจำเลยได้ตามมาตรา 816
โจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อไปแทนจำเลยตามคำร้องขอของจำเลยถือว่าเป็นการกระทำแทนจำเลยในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ แม้การจ่ายเงินนั้นจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินจำนวนนั้นจากจำเลยได้ตามมาตรา 816
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการทำอุสาหกรรมและการทดรองจ่ายเงิน
อายุความ
อายุความซึ่งพ่อค้าอุสาหะกรรมเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ มีกำหนด 5 ปี อย่างไรเรียกว่าอุสาหะกรรม การจ้างผู้อื่นเอาช้างลากไม้ซุงจากป่ามาเลื่อยเป็นไม้กะดานขายจัดว่าเป็น อุสาหะกรรม การทดลองจ่ายเงินค่าจ้างแทน ไม่เรียกว่าให้กู้เงิน
อายุความซึ่งพ่อค้าอุสาหะกรรมเรียกหนี้สินจากลูกหนี้ มีกำหนด 5 ปี อย่างไรเรียกว่าอุสาหะกรรม การจ้างผู้อื่นเอาช้างลากไม้ซุงจากป่ามาเลื่อยเป็นไม้กะดานขายจัดว่าเป็น อุสาหะกรรม การทดลองจ่ายเงินค่าจ้างแทน ไม่เรียกว่าให้กู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9801/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์: การสร้างสรรค์ การทดรองจ่าย และขอบเขตกรรมสิทธิ์
น. เป็นผู้คิดค้นรูปแบบรายการโทรทัศน์ประเภทสปอร์ตเรียลลิตี้ "THE WINNER" ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์จัดประกวดและคัดเลือกนักฟุตบอลให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อทำการเผยแพร่ออกอากาศทางโทรทัศน์ แม้รูปแบบรายการโทรทัศน์ดังกล่าวที่ น. คิดขึ้นในขณะนำมาเสนอกับจำเลยจะยังไม่มีการแสดงออกทางความคิดจนเกิดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แต่ต่อมาได้มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์โดยมี น. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ โจทก์และจำเลยตกลงร่วมกันผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวและได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน โดยจำเลยตกลงที่จะชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ในการได้สิทธิผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ดังกล่าว ข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์อนุญาตให้สิทธิจำเลยผลิตรายการตามรูปแบบรายการดังกล่าวและนำไปออกอากาศจึงมีผลผูกพันและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ชื่อ "THE WINNER" ก่อนที่โจทก์จะได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวซึ่งขณะนั้นไม่มีงานลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การแจ้งดังกล่าวจึงไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เพราะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นจะต้องมีการสร้างสรรค์งานและเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ตอนที่ 1 ถึง 3 ก่อนที่จำเลยจะนำมาตัดต่อเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เป็นตอนที่ 1 ถึง 3 โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
จำเลยได้มีการประชุมร่วมกับโจทก์และตกลงให้จำเลยตัดต่อเทปต้นฉบับเพื่อออกอากาศใหม่ ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำการตัดต่อเทปตอนที่ 1 ถึง 3 ใหม่ตามการแสดงออกทางความคิดของจำเลยเพื่อออกอากาศ เป็นการที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงงานโสตทัศน์วัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปโทรทัศน์รายการโทรทัศน์ที่ดัดแปลงแล้วนำออกอากาศในตอนที่ 1 ถึง 3 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 11 จำเลยนำเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึง 3 ที่จำเลยได้ออกอากาศมาตัดต่อใหม่เป็นเทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตอนที่ 4 ถึง 6 เป็นการที่จำเลยดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ตอนที่ 4 ถึงที่ 6 ดังกล่าว
เทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 เป็นเทปรายการโทรทัศน์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นภายหลังที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง โดยโจทก์ให้สิทธิจำเลยในการผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในรูปแบบรายการดังกล่าว โดยไม่ปรากฎข้อตกลงอื่นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ผลิต จำเลยซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 ดังกล่าวจึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
โจทก์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ชื่อ "THE WINNER" ก่อนที่โจทก์จะได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวซึ่งขณะนั้นไม่มีงานลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การแจ้งดังกล่าวจึงไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เพราะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นจะต้องมีการสร้างสรรค์งานและเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ตอนที่ 1 ถึง 3 ก่อนที่จำเลยจะนำมาตัดต่อเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เป็นตอนที่ 1 ถึง 3 โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
จำเลยได้มีการประชุมร่วมกับโจทก์และตกลงให้จำเลยตัดต่อเทปต้นฉบับเพื่อออกอากาศใหม่ ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำการตัดต่อเทปตอนที่ 1 ถึง 3 ใหม่ตามการแสดงออกทางความคิดของจำเลยเพื่อออกอากาศ เป็นการที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงงานโสตทัศน์วัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปโทรทัศน์รายการโทรทัศน์ที่ดัดแปลงแล้วนำออกอากาศในตอนที่ 1 ถึง 3 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 11 จำเลยนำเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึง 3 ที่จำเลยได้ออกอากาศมาตัดต่อใหม่เป็นเทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตอนที่ 4 ถึง 6 เป็นการที่จำเลยดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ตอนที่ 4 ถึงที่ 6 ดังกล่าว
เทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 เป็นเทปรายการโทรทัศน์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นภายหลังที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง โดยโจทก์ให้สิทธิจำเลยในการผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในรูปแบบรายการดังกล่าว โดยไม่ปรากฎข้อตกลงอื่นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ผลิต จำเลยซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 ดังกล่าวจึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ทดรองจ่ายให้ผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลย (ผู้ขาย) เป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด ฉะนั้น ตาม ป.รัษฎากร จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้าน (ผู้ซื้อ) อยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้นเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยทดรองจ่ายในคดีล้มละลาย: ไม่ใช่อายุความ 2 ปี แต่เป็น 10 ปี
หนี้ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองชำระให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินหลักประกันที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้เพื่อประกันหนี้กู้ยืมเงินของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์ มิใช่การเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยในระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยอันจะอยุ่ในบังคับอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคสอง อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในกรณีเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้ที่ทดรองจ่ายแทนลูกจ้างที่ลาออก และสิทธิในการเรียกคืนจากลูกจ้าง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบและรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ แม้โจทก์จะส่งสัญญาจ้างซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของโจทก์โดยไม่ยื่นต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน เพิ่งส่งประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลของโจทก์ในวันสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 9 ก็มีอำนาจสั่งรับสัญญาจ้างไว้ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้