คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทดลองงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อตกลงทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฏข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลยให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน180วันยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่าจำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้นทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกันต่อมาจำเลยตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงานก็หามีข้อความใดแสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่จึงไม่เป็นการแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน: สิทธิในการรับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2528 ต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2528 จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำโดยกำหนดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน โจทก์จึง เป็นลูกจ้างประจำที่นายจ้างให้ทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงทหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม การนับระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานของโจทก์ต้องนับตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2528 เป็นต้นไป มิใช่นับตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยบรรจุโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2528 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอ ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้น เป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้ว โจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้นเป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้วโจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่ ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้วจะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลาหลังผ่านทดลองงาน ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้ สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้าง ซึ่งมีข้อตกลง หรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของ นายจ้างหรือข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อ ประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็น ข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้าง ไว้แน่นอนได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน การแจ้งล่วงหน้า และค่าเสียหาย
ปัญหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุใดเป็นข้อเท็จจริงเมื่อศาลแรงงานฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลการทดลองปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ดี ข้อเท็จจริงย่อมยุติ โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่หาได้ไม่
ข้ออุทธรณ์ที่โต้เถียงฝืนข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างจำเลยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงาน 180 วัน และภายในระยะเวลานี้คู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน ข้อตกลงนี้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ จึงมีผลใช้บังคับจำเลยจะอ้างว่าระยะเวลาที่จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่เพียงพอมาเป็นเหตุที่จะปฏิเสธไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ก่อนวันที่โจทก์เรียก เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน, การแจ้งล่วงหน้า, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยค่าล่วงเวลา
ปัญหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุใดเป็นข้อเท็จจริงเมื่อศาลแรงงานฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากผลการทดลองปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ดี ข้อเท็จจริงย่อมยุติ โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่หาได้ไม่
ข้ออุทธรณ์ที่โต้เถียงฝืนข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างจำเลยให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงาน 180 วัน และภายในระยะเวลานี้คู่สัญญามีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยแจ้งล่วงหน้ามาเป็นเหตุที่จะปฏิเสธไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่ไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อตกลงนี้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้จึงมีผลใช้บังคับจำเลยจะอ้างว่าระยะเวลาที่จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่เพียงพอ เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ก่อนวันที่โจทก์เรียก เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดลองงานเกิน 180 วัน การยินยอมของลูกจ้าง และสิทธิในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้ายเป็นเพียงข้อยกเว้นว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกิน 180 วันแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้ทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ดังนั้นการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน 120 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายจ้างจึงมีสิทธิที่จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานอีก 60 วันได้ และการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกนั้นแม้ลูกจ้างจะมีบันทึกข้องใจในคำสั่งนี้ แต่ลูกจ้างก็ยังคงทำงานต่อไปกับนายจ้างอีก จึงถือได้ว่าลูกจ้างยินยอมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างจึงยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานอยู่ และเมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่ทดลองปฏิบัติงาน ผลงานของลูกจ้างไม่เป็นที่พอใจของนายจ้างนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่เนื่องจากนายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อทำงานครบ 1 ปี
การรับลูกจ้างทดลองงาน 3 เดือนก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้น เป็นการจ้างในฐานะลูกจ้างประจำแล้ว เพียงแต่ลูกจ้างไม่มีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยหากถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานเท่านั้น ส่วนอายุการทำงานในฐานะลูกจ้างประจำเริ่มนับแต่วันที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงานเกิน 180 วัน ไม่โมฆะ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นข้อยกเว้นค่าชดเชย
กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้าย นั้น เป็นเพียงข้อยกเว้นว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างได้แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือเมื่อเริ่มเข้าทำงานแล้วว่าจะทดลองปฏิบัติงานมีกำหนดไม่เกิน 180 วัน และนายจ้างได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลา 180 วันที่ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานนั้น นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย มิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้จ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน
of 4