คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่ การปิดบัญชีและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
ผู้ตายได้โอนที่ดินให้บุคคลอื่นไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนเงินฝากของผู้ตายในธนาคาร ผู้มีอำนาจในการถอนเงินได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก จึงไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดกของผู้ตายเพราะไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ กฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาจัดการผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกจริง การไม่มีทรัพย์สินไม่อาจเป็นเหตุให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดเหตุในการร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 3 กรณี คือ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายหรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ เหตุในการขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ร้องเป็นการอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดก แต่ปรากฏว่าที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น ผู้ตายได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเงินฝากในบัญชี ผู้มีอำนาจในการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการดำเนินการโดยชอบตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากที่ทำไว้กับธนาคารจึงไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดกของผู้ตายเพราะไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ กฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาจัดการแต่อย่างใด กรณีไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นทรัพย์มรดกและการอุทธรณ์ข้อที่ยกขึ้นว่ากันแล้ว ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
แม้จำเลยทั้งห้าจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่า ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นทรัพย์มรดกของนางเป๋าหรือไม่ ที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงมิใช่ทรัพย์มรดกของนางเป๋า จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ประเด็นทรัพย์มรดก จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัย
จำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(เดิม) หรือ 198 ทวิ (ใหม่) คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นทรัพย์มรดกของ ป. หรือไม่ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงมิใช่ทรัพย์มรดกของ ป. โดยที่ดินแปลงแรกเป็นของจำเลยที่ 2 ส่วนที่ดินแปลงที่ 2และแปลงที่ 3 เป็นของจำเลยทั้งห้านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามมาตรา 225 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์มรดกส่วนแบ่งของทายาทให้แก่ทายาทอื่น ถือเป็นการแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ที่ 1 และทายาทอื่นของเจ้ามรดกขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของเจ้ามรดกส่วนของตนที่ได้รับนั้น เป็นการแสดงเจตนาขายสิทธิในทรัพย์มรดกส่วนของทายาทแต่ละคนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดก และมีการโอนทางทะเบียนเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เนื่องจากทายาทแต่ละคนมีอำนาจขายทรัพย์มรดกส่วนของตนได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 1745 ทั้งเป็นกรณีที่ถือได้ว่า โจทก์ที่ 1 จำเลย และทายาทอื่นตกลงแบ่งทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาทตามป.พ.พ. มาตรา 1760 วรรคหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิในทรัพย์มรดกของทายาทแต่ละคนให้แก่ทายาทอื่น ย่อมมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ บ. และทายาทอื่นของ ส. ได้ขายส่วนของตนในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เป็นการแสดงเจตนาขายสิทธิในทรัพย์มรดกส่วนของทายาทแต่คนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ ส. และมีการโอนทางทะเบียนเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เนื่องจากทายาทแต่ละคนมีอำนาจขายทรัพย์มรดกส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1745 ทั้งถือได้ว่า โจทก์ที่ 1 จำเลย บ. และทายาทอื่นตกลงแบ่งทรัพย์สินโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาทตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก: โมฆะตามหลักจริยธรรมวิชาชีพ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามมีใจความทำนองว่า จำเลยแต่ละคนตกลงให้ค่าตอบแทนโจทก์จำนวนร้อยละ 3 ของมูลค่าทรัพย์มรดกหรือจำนวนเงินที่ได้รับโดยจะจ่ายให้เมื่อได้รับเงินจากการแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นคราว ๆ ไป แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับทรัพย์มรดกหรือจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับ หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือเงินส่วนแบ่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยทั้งสาม สัญญาจ้างว่าความเช่นนี้มีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความ ไม่เหมือนกับสัญญาจ้างว่าความที่ทนายพึงได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนเงินตายตัวโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลคดีว่าจะแพ้หรือชนะอย่างไร ทั้งการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยทั้งสามโดยคิดในอัตราร้อยละ 3 ของทรัพย์มรดกแต่ละรายการที่จำเลยทั้งสามได้รับไปแล้วนั้น ยิ่งทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับค่าจ้างตามผลแห่งคดีที่จำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกโดยตรง สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามแม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และเมื่อข้อความในสัญญาจ้างว่าความชัดเจนอยู่แล้ว กรณีไม่อาจตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงให้เป็นอย่างอื่นไปได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกกรณีหนี้สินไม่ล้นพ้นตัว แม้มีเหตุให้สันนิษฐานได้แต่ทรัพย์มรดกเพียงพอชำระหนี้
เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้แก่รถบรรทุกและเงินฝากธนาคารชำระหนี้แล้ว เมื่อหักกลบกับหนี้ ตามฟ้องแล้วจะเหลือหนี้ค้างชำระเพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นลูกหนี้ บุคคลอื่นอีก รูปคดีจึงยังไม่พอฟังว่าลูกหนี้ที่ตายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกและการส่งคืนโฉนดที่ดิน ผู้จัดการมรดกมีสิทธิเรียกคืนจากผู้ยึดถือโดยมิชอบ
ผู้ตายมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยได้ยึดถือต้นฉบับโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทจากจำเลยมิใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืน แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนด จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
การวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องคืนโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลต้องวินิจฉัยเป็นก่อนว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ตายหรือไม่ หากเป็นทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ก็เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวมาแบ่งปันแก่ทายาทและมีสิทธิเรียกทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้อื่นยึดถือไว้โดยมิชอบกลับคืนมาได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยจึงต้องส่งคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์
ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยชำระแทนเกินอัตราค่าทนายความขั้นสูง จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทรัพย์มรดกเกี่ยวข้องกับหลายศาล
อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือที่ดินน.ส. 3 ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 4 จัตวา และขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคำร้องเดียวกันได้
of 49