พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการยกให้โดยเสน่หา และสิทธิในทรัพย์สินร่วม
คดีฟ้องหย่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยด่าหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงว่า"อีดอกทองมึงก็ดอกทองเหมือนแม่"ถือว่าได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ทรัพย์ที่ได้รับยกให้ระหว่างเป็นสามีภริยาก่อนป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับต้องเป็นไปตามป.พ.พ.บรรพ5เดิมเมื่อหนังสือยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้รับยกให้ย่อมตกเป็นสินสมรสตามมาตรา1464,1466บรรพ5เดิม ซึ่งสามีภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละกึ่งหนึ่งโดยถือเป็นเจ้าของรวมสามีจึงมีสิทธิอายัดบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสเพื่อมิให้ภริยาจำหน่ายจ่ายโอนแก่ผู้ใดได้ตามป.พ.พ.มาตรา1359และภริยาไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่สามีออกจากบ้านและที่ดินดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวหลังการแบ่งทรัพย์สินร่วม และการสละเจตนาครอบครอง ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นทายาท พ. และ ห. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ปลูกตึกแถวพิพาทได้แบ่งทรัพย์สินกันเองในระหว่างเจ้าของรวม โดยโจทก์ได้ที่ดิน 53 ตารางวา ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นของ ห. โจทก์และ ห. ยอมให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นหลานของ ห. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สำหรับตึกพิพาทนอกจากจะปลูกอยู่บนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 แล้ว โจทก์ให้จำเลยที่ 10 ดำเนินการโอนตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 โดยโจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในเอกสารหมาย ล.1 โดยสมัครใจ ความว่า โจทก์ไม่ขอเกี่ยวข้องในสิทธิและตึกแถวพิพาทแต่อย่างใด จึงเป็นการสละเจตนาครอบครองตึกแถวพิพาทตั้งแต่วันทำเอกสารหมาย ล.1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมได้ครอบครองตึกแถวพิพาทติดต่อกันมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของด้วยการทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่านับแต่วันทำเอกสารหมาย ล.1 ถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่าสิบปี จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 จึงได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่าง ห. กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อทายาทผู้รับมรดก: สิทธิในทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและทายาทผู้รับมรดกของ ก.ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาท 2 แปลงเป็นของโจทก์มีสิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงดังกล่าวมีบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ก. มีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นของโจทก์ยินยอมเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในเอกสารสิทธิให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 และการ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่พิพาทอันจะมีผลใช้ยันทายาทของ ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินร่วมจากหนี้ส่วนตัว: ศาลไม่รับฎีกาข้อเท็จจริง
จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลที่ทำไว้กับโจทก์โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินหนึ่งแปลงพร้อมเรือนหนึ่งหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวไว้จ่ายให้ผู้ร้องครึ่งหนึ่งเพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องและจำเลยรวมกันได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องและจำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาและต่างก็มีรายได้ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นเรื่องเฉพาะตัวดังนี้ การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไปยืมเงินโจทก์มาใช้จ่ายในการดำรงชีพและนำมาซื้อที่ดินพร้อมทั้งปลูกเรือนพิพาทและผู้ร้องรู้เห็นในการกู้ยืมด้วยจึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกทรัพย์สินระหว่างคู่ไม่สมรส: ที่ดินยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว, ห้องแถวปลูกร่วมกันเป็นทรัพย์สินร่วม
หญิงชายอยู่ร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส มารดาหญิงยกที่ดินให้หญิง ไม่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายหญิง ส่วนห้องแถวปลูกในที่ดินโดยชายหญิงร่วมกันปลูกด้วยแรงหรือด้วยเงินของฝ่ายใด ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน ชายถูกยึดทรัพย์หญิงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกตกทอด การแบ่งทรัพย์สินร่วม และค่าเสียหายจากการถูกกีดกันการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน
ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและพระภิกษุ ส. ผู้เป็นทายาท และนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ยังอยู่ภายในอายุความที่พระภิกษุ ส. จะสึกจากสมณเพศมาเรียกร้องขอแบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 ดังนี้ ต้องแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วน โจทก์ได้คนละ 1 ใน 5
เมื่อยังไม่ได้แบ่งที่พิพาทกัน โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ส. เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้และเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ทำให้โจทก์ขาดรายได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งนาพิพาทให้โจทก์ทั้งสองกึ่งหนึ่ง และให้ใช้ค่าเสียหายปีละ 1,500 บาท นับแต่ปี 2516 จนถึงปีที่จำเลยยอมแบ่งนาให้โจทก์ จำเลยมิได้ฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เพราะการที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์คงฎีกาเพียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2516 เป็นการพิพากษาเกินคำขอเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
เมื่อยังไม่ได้แบ่งที่พิพาทกัน โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ส. เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้และเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ทำให้โจทก์ขาดรายได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งนาพิพาทให้โจทก์ทั้งสองกึ่งหนึ่ง และให้ใช้ค่าเสียหายปีละ 1,500 บาท นับแต่ปี 2516 จนถึงปีที่จำเลยยอมแบ่งนาให้โจทก์ จำเลยมิได้ฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เพราะการที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์คงฎีกาเพียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2516 เป็นการพิพากษาเกินคำขอเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของร่วมมรดกและการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินร่วม ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้
ผู้ตายถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกสวนของตนให้แก่ผู้ใดไว้ สวนจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคน
ครอบครัวของจำเลยอยู่ร่วมเรือนเดียวกันกับผู้ร้อง จำเลยแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของสวนยางพารารายนี้เช่น เป็นผู้นำสำรวจที่ดินสวนยางพารานี้เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่และเป็นผู้ไปเสียภาษีบำรุงท้องที่เอง ทั้งได้ไปแจ้งใบสุทธิยางผู้ร้องรับว่าสวนยางพารายังมิได้แบ่งปันกันในระหว่างทายาท ฉะนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นเจ้าของสวนยางพารารวมอยู่ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิที่จะยึดสวนยางพาราซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของรวมบางส่วนเพื่อบังคับชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์มีสิทธิจะยึดที่ดินแปลงใดของจำเลยตามคำพิพากษามาบังคับชำระหนี้ก็ได้เพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยสิ้นเชิง
ครอบครัวของจำเลยอยู่ร่วมเรือนเดียวกันกับผู้ร้อง จำเลยแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของสวนยางพารารายนี้เช่น เป็นผู้นำสำรวจที่ดินสวนยางพารานี้เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่และเป็นผู้ไปเสียภาษีบำรุงท้องที่เอง ทั้งได้ไปแจ้งใบสุทธิยางผู้ร้องรับว่าสวนยางพารายังมิได้แบ่งปันกันในระหว่างทายาท ฉะนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นเจ้าของสวนยางพารารวมอยู่ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิที่จะยึดสวนยางพาราซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของรวมบางส่วนเพื่อบังคับชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์มีสิทธิจะยึดที่ดินแปลงใดของจำเลยตามคำพิพากษามาบังคับชำระหนี้ก็ได้เพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยสิ้นเชิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินร่วม (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยการประมูลหรือขายทอดตลาด และการหักชำระค่าสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยในฐานะเจ้าของร่วมแต่ได้ความว่าในที่พิพาทมีเรือนของโจทก์ปลูกไว้โดยสุจริตหนึ่งหลัง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์การที่สั่งไว้ในคำพิพากษาด้วยว่าถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้ประมูลราคากันระหว่างคู่ความ มิฉะนั้นก็ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน และการประมูลราคากันหรือขายทอดตลาดนี้ให้รวมทั้งเรือนนั้นด้วย เงินที่ได้ให้จัดสรรชำระค่าเรือนแก่โจทก์ก่อนนำไปแบ่งกัน นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะที่ดินตามฟ้องย่อมหมายถึงส่วนควบด้วย และการที่โจทก์ได้ปลูกเรือนนี้ในที่พิพาท ก็เป็นการใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างจดทะเบียนสมรส: เจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน แม้ฝ่ายหนึ่งออกเงินซื้อ
การที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. แม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย. ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีพิงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่.
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน.แต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกัน. เช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง. ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน. และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน. แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา. ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน. ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน. พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้น แม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญ.ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน. และเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน. ทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน.
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน.แต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกัน. เช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง. ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน. และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน. แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา. ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน. ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน. พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้น แม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญ.ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน. และเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน. ทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมโดยปริยายในการขายทรัพย์สินร่วม การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในที่ดิน
การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินมือเปล่าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยโดยที่จำเลยที่ 1 ก็รู้เรื่องและมิได้คัดค้านประการใดนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ขายส่วนของจำเลยที่ 1 โดยปริยายด้วย