พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ทำไม้ในเขตป่าสงวน ความผิดต่อเนื่องเจตนาเดียว
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกัน แต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 38 ต้น แล้วทอนออกเป็นท่อนได้ 250 ท่อน และใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าไปในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกัน และได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้น จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้: การสิ้นสุดสัญญาและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่มิชอบด้วยขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่าการประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหายตามฟ้องอันเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในลักษณะละเมิดและผิดสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียว กรณีไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้" เนื้อความในสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัด โจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทาน โจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตาม ป.พ.พ.
การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้" เนื้อความในสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัด โจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทาน โจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตาม ป.พ.พ.
การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัมปทานทำไม้และการรักษาเงินฝากเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงจะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าในส่วนที่โจทก์ได้ทำไม้ด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เอง โดยการนำเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ในนามของโจทก์ ส่วนสมุดเงินฝากของธนาคารนั้นเก็บรักษาไว้ที่จำเลยที่ 4 แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีคำสั่งยกเลิกสัมปทานการทำไม้ของโจทก์ แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ในเขตสัมปทาน โจทก์ยังค้างการปลูกป่าเป็นเนื้อที่ประมาณหนึ่งพันไร่ คิดเป็นเงินประมาณสองล้านบาท ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ครบถ้วน จำเลยที่ 4มีสิทธิที่จะเก็บรักษาสมุดฝากเงินของโจทก์ไว้ตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนสมุดฝากเงินทั้งหมดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานทำไม้: การปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาและการเพิกถอนสัมปทาน
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักจากรัฐบาลโดยยอมปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทาน บันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวจึงต้องผูกพันโจทก์
โจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 3 โดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตท้องที่ทราบ เมื่อได้รับความยินยอมจากป่าไม้เขตแล้วจึงขอรับสมุดเงินฝากไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทาน และตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 4 ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวง แล้วส่งมอบให้กรมป่าไม้ หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้จนครบถ้วนด้วย เห็นได้ว่า แม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้ว หากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่า จำเลยมีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวอีกด้วย เมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 3 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดเงินฝากของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 4 ได้
โจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 3 โดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตท้องที่ทราบ เมื่อได้รับความยินยอมจากป่าไม้เขตแล้วจึงขอรับสมุดเงินฝากไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทาน และตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 4 ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวง แล้วส่งมอบให้กรมป่าไม้ หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้จนครบถ้วนด้วย เห็นได้ว่า แม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้ว หากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่า จำเลยมีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวอีกด้วย เมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 3 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดเงินฝากของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนฯ ความผิดสำเร็จหรือพยายาม? การคำนวณสินบนรางวัลตามกฎหมาย
คำว่า "ทำไม้" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(4)หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ แต่เมื่อพระราชบัญญัติ ป่าไม้ฯ มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำเหล่านี้ไว้จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า "ตัด"ว่าทำให้ขาดด้วยของมีคม คำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมฟันลงไปคำว่า "กาน" หมายถึง ตัดเพื่อให้แตกใหม่ คำว่า "โค่น" หมายถึงล้มหรือทำให้ล้ม คำว่า "ลิด"หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่งคำว่า "เลื่อย" หมายถึงตัดด้วยเลื่อย จึงเห็นได้ว่าคำว่า"ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธีตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อยผ่าถากทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่เป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้นประกอบกับวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทาง ธรรมชาติไว้ ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย ลึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้นและต้นยางดังกล่าว มิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอด เป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมิใช่ความผิดสำเร็จพระราชบัญญัติ ญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 8ให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไข เพราะประกาศดังกล่าวไม่อาจแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ปริมาณน้อย, รอการลงโทษ, ปรับ
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 45 แผ่น และปริมาตรเพียง 0.675 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักสภาพแห่งความผิดของจำเลยที่ 3 มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้ได้แต่เพื่อให้หลาบจำจึงให้ปรับจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีกสถานหนึ่งเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี จึงให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4ซึ่งมิได้ฎีกา ได้รับผลแห่งการลงโทษโดยรอการลงโทษ และปรับเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 ที่ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษคดีทำไม้โดยพิจารณาจากปริมาณไม้และสภาพแห่งความผิด
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 55 แผ่นและปริมาตรเพียง 0.675 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักสภาพแห่งความผิด ของจำเลยที่ 3 มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้ได้แต่เพื่อให้ หลาบจำจึงให้ปรับจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น อีกสถานหนึ่ง เนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี จึงให้ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้ฎีกา ได้รับผลแห่งการลงโทษโดยรอการลงโทษ และปรับเช่นเดียวกับ จำเลยที่ 3 ที่ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้และมีไม้หวงห้ามในป่าสงวน: การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน และการใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยทั้งสามทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีไม้สักที่มิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้ไม้สักที่จำเลยทั้งสามทำและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ส่วนการทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท และโทษตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถือว่าโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง หนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานป่าไม้ทุจริตทำไม้ผิดพื้นที่และปลอมแปลงหลักฐานการครอบครองไม้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีหน้าที่ควบคุมการทำไม้โดยเป็นผู้ควบคุมการตัดฟันไม้และตีตราประจำตัวชักลากไม้ในบริเวณที่จะสร้างเขื่อน จำเลยได้ควบคุมการทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยทำไม้ที่อยู่นอกเขตการสร้างเขื่อนซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้ทำและเป็นผู้สั่งให้ชักลากไม้ออกจากป่ามากองรวมไว้ที่ริมทางและตีตราชักลากไม้ประจำตัวของตนบนท่อนไม้ที่ชักลากออกมาแล้วเพื่อลวงเจ้าพนักงานให้เห็นว่าเป็นไม้ที่ได้ทำอยู่ในเขตที่ได้รับอนุญาตให้ทำไม้และเป็นไม้ที่ได้ทำโดยถูกต้องตามกฎหมาย พฤติการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องเป็นผู้ครอบครองหรือร่วมกับบุคคลอื่นครอบครองไม้ของกลางไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดฐานมีไม้ท่อนยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว