พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวห้ามโอนที่ดินพิพาท และการกำหนดจำนวนเงินประกันค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 และ จ. ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 ได้ตกลงซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 272 โฉนดเนื้อที่ 49 ไร่ ให้แก่โจทก์ในราคา 90 ล้านบาท โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางส่วนและเข้าครอบครองเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 21 แสดงเจตนาลวงบุคคลภายนอกทำนิติกรรมซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 21 จึงเห็นได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่บุคคลอื่นในระหว่างพิจารณาย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะแม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ได้ กรณีนับว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรเพียงพอที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) ประกอบมาตรา 255(2) ห้ามมิให้จำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาทแก่บุคคลอื่นจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงได้ แต่เมื่อได้ความว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวตั้งอยู่ในย่านที่เจริญสิ่งปลูกสร้างในที่ดินเป็นบ้านจัดสรร มีตลาดพาณิชย์ มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้องมีราคาเกินกว่า 500 ล้านบาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพียง 1 แสนบาทจึงไม่เหมาะสม เพราะจำเลยที่ 21 ก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท และฟ้องโจทก์เป็นเท็จ ซึ่งหากทางพิจารณาได้ความในภายหลังว่าโจทก์นำคดีมาสู่ศาลโดยไม่มีมูลแล้ว เงินจำนวนดังกล่าวย่อมไม่อาจชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ จึงเห็นสมควรให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจำนอง ย่อมผูกพันสิทธิระหว่างเจ้าของรวม และจำกัดสิทธิบังคับคดีของโจทก์
การทำประโยชน์กับการแบ่งแยกการครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้ร้องนั้น การครอบครองอาจยังไม่มีการทำประโยชน์ก็ได้ ดังนี้เมื่อจำเลยกับผู้ร้องได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินกันก่อนที่โจทก์จะรับจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยและก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยกับผู้ร้อง โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ผู้ร้องชอบที่จะขอกันส่วนที่ดินพิพาทด้านทิศตะวันออกตามข้อตกลงดังกล่าวของผู้ร้องออกก่อนขายทอดตลาดได้แม้ยังไม่มีการทำประโยชน์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นหากทรายชายทะเลชาวบ้านใช้ตากกุ้งและตากปลาอันเป็นการใช้ทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะเปลี่ยนแปลงสภาพโดยธรรมชาติทะเลตื้นเขินขึ้น แต่ก็เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ตราบใดที่ทางราชการยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ ผู้ใดหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ไม่ เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ยึดถือที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างการพิจารณาคดี: การระงับการออกโฉนดเพื่อป้องกันความเสียหาย
โจทก์กับจำเลยทั้งสี่พิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่จำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 60 เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับโฉนดที่ดินแล้วอาจมีการโอนที่ดินพิพาทต่อไป ซึ่งหากศาลพิพากษาในภายหลังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์อาจได้รับความเสียหาย กรณีมีเหตุสมควรกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงตามคำท้าในคดีพิพาทที่ดิน และผลผูกพันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)
โจทก์ฎีกา ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วไม่ปรากฏว่าผู้ใดมีคำขอเข้าเป็นคู่ความแทน หรือคู่ความฝ่ายใดมีคำขอให้ศาลหมายเรียกผู้ใดเข้าเป็นคู่ความแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 เสียจากสารบบความของศาลฎีกา
ก่อนชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขต ที่ดินพิพาท รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินรวมทั้งสิ่งอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานที่ดินเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้ว ศาลได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดู ต่างรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้องและอ้างเป็นพยานร่วมกันและคู่ความได้ท้ากันว่า ให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เจ้าพนักงานที่ดินผู้จำลอง แผนที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะในคดี หาก ส. นำแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับรูปจำลองแผนที่ของที่ดินซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ส. เห็นว่าหรือน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่โจทก์นำชี้หรือส่วนที่จำเลยนำชี้เส้นแนวเขตไหนน่าจะเป็นเขตที่ถูกต้องคู่ความยอมรับตามนั้น หากเส้นแนวเขตที่โจทก์นำชี้ถูกต้อง จำเลยยอมแพ้คดี หากส่วนที่จำเลยนำชี้ถูกต้องโจทก์ยอมแพ้คดีและคู่ความต่างแถลงสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด ต่อมา ส. เบิกความต่อศาลว่าน่าเชื่อว่า เส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยนำชี้น่าจะเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) โดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
ก่อนชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขต ที่ดินพิพาท รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินรวมทั้งสิ่งอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานที่ดินเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้ว ศาลได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดู ต่างรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้องและอ้างเป็นพยานร่วมกันและคู่ความได้ท้ากันว่า ให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เจ้าพนักงานที่ดินผู้จำลอง แผนที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะในคดี หาก ส. นำแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับรูปจำลองแผนที่ของที่ดินซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ส. เห็นว่าหรือน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่โจทก์นำชี้หรือส่วนที่จำเลยนำชี้เส้นแนวเขตไหนน่าจะเป็นเขตที่ถูกต้องคู่ความยอมรับตามนั้น หากเส้นแนวเขตที่โจทก์นำชี้ถูกต้อง จำเลยยอมแพ้คดี หากส่วนที่จำเลยนำชี้ถูกต้องโจทก์ยอมแพ้คดีและคู่ความต่างแถลงสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด ต่อมา ส. เบิกความต่อศาลว่าน่าเชื่อว่า เส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยนำชี้น่าจะเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) โดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดิน: ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การต่อเมื่อโจทก์มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งนั้นหากโจทก์ไม่มีคำขอดังกล่าว แต่การที่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดยื่นคำให้การเพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) ผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดก็เป็นผลให้ศาลชั้นต้นอาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้ มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่แต่อย่างใด ดังนั้น การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน เพราะการที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยื่นคำให้การได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือไม่
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การใช้ประโยชน์ร่วมกัน และสิทธิในที่ดิน
ทรัพย์ของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์หนองคูที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ท. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านโบราณคดีถือว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เบิกความประกอบรายงานการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จัดทำขึ้นในทางการศึกษาวิจัยลักษณะของชุมชนโบราณที่มีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์หนองคูที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ท. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านโบราณคดีถือว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เบิกความประกอบรายงานการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จัดทำขึ้นในทางการศึกษาวิจัยลักษณะของชุมชนโบราณที่มีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8771/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทระหว่างสามีภริยา ศาลยกฟ้อง
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ล. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และ ป. เป็นเจ้าของร่วมกัน โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสและตกเป็นของ ป. กับโจทก์ร่วมกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ให้อำนาจเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ การที่ ป. ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์ด้วย แม้ต่อมา ป. และโจทก์จะจดทะเบียนหย่าภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีที่ป. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ ก็ไม่ทำให้สถานะของการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์เปลี่ยนไปต้องถือว่าโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับ ป. ผู้ร้องในคดีก่อนซึ่งมีผู้คัดค้านในคดีก่อนเป็นจำเลยในคดีนี้เช่นกัน และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมากว่า 10 ปีโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะมิได้ระบุในคำฟ้องอ้างมาตรา 1382 มาด้วยก็ตาม จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7672/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และการเพิกถอนโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ก. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยมิได้คัดค้านในกรณีที่โจทก์แจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ดี หรือขอรังวัดออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้ไปด้วยก็ดี อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องหรือไม่เข้าใจ เพราะโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่และเป็นผู้ไปดำเนินการเองโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบ ถึงกระนั้นจำเลยก็ยังคงครอบครองที่ดินส่วนที่พิพาทมาตลอดจนถึงปัจจุบัน การที่โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินโดยรวมเอาที่ดินพิพาทเข้าไปด้วยนั้น หาเป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินส่วนที่พิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไปไม่
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองทำประโยชน์ก่อนออกโฉนดเป็นหลักฐานสำคัญกว่าชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินออกในชื่อโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองด้วย
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข