คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินไม่มีทางออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินติดคลองสาธารณะแต่เข้าข่ายที่ดินที่ไม่มีทางออก ย่อมมีสิทธิขอทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นได้
สภาพของคลองสาธารณะซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์แม้จะเป็นคลองสาธารณะก็ถือไม่ได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349เพราะในฤดูฝนน้ำไหลเชี่ยวใช้เรือพายขึ้นไม่ได้เดินผ่านไม่ได้ฤดูแล้งน้ำก็ตื้นเขินใช้เรือไม่ได้ไม่มีประชาชนใช้สัญจรไปมาเป็นเวลาถึง20ปีแล้วที่ดินของโจทก์จึงตกอยู่ในที่ล้อมไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ย่อมมีสิทธิขอผ่านทางพิพาทในที่ดินของจำเลยซึ่งปิดล้อมและใกล้ทางสาธารณะที่สุดทางหนึ่งได้เนื่องจากเคยเป็นทางที่โจทก์เคยผ่านและเจ้าของที่ดินแปลงซึ่งปิดล้อมอื่นไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านต่อไปอีก การที่โจทก์มิได้เสนอค่าทดแทนในการใช้ทางพิพาทมาด้วยจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งให้เป็นประเด็นขึ้นมาในศาลชั้นต้นทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยจำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทาง (ทางจำเป็น) เมื่อที่ดินถูกแบ่งแยก ทำให้ที่ดินแปลงในไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
ที่ดินของโจทก์และจำเลยเดิมรวมอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกันเมื่อมีการแบ่งแยกกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ด้านในไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะบนที่ดินของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ส่วนปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทได้เท่าใดนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าทางพิพาทกว้าง 2 เมตร จำเลยปฏิเสธว่าไม่กว้างเท่าที่อ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีที่ดินแปลงอื่นติดต่อกันก็ไม่ถือเป็นแปลงเดียวกัน
เดิมมีที่ดินแปลงใหญ่อยู่แปลงหนึ่ง เจ้าของได้แบ่งขายและแยกโฉนดไปเรื่อย ๆ จนเหลือที่ดินแปลงเดิมคือที่ดินแปลงหมายเลข 6 ซึ่งเป็นของจำเลย แม้ในขณะยื่นฟ้อง พ. มารดาโจทก์ยังมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหมายเลข 108 และ 122 ซึ่งแบ่งแยกออกมาและอยู่ติดต่อกันแต่ที่ดินทั้งสองแปลงก็เป็นที่ดินคนละโฉนด จะถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันไม่ได้ เมื่อที่ดินแปลงหมายเลข 122 ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะนอกจากผ่านที่ดินแปลงหมายเลข 108 หรือแปลงหมายเลข 6ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดิมแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงเดิมแปลงใดแปลงหนึ่งที่แบ่งแยกไปได้ตามความจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านทางจำเป็น: ผู้รับโอนที่ดินไม่มีทางออก ย่อมมีสิทธิขอผ่านทางที่ดินแปลงอื่นได้ แม้ไม่ได้เสนอค่าทดแทน
ผู้รับโอนที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวกและใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินผู้โอนเคยใช้มาก่อน
กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาด้วย แม้โจทก์จะขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธจะไม่จ่าย และจำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาได้จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11428-11429/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านทางจำเป็นในที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และค่าทดแทนความเสียหาย
ที่ดินเลขที่ดิน 106 และ 107 มีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารบนที่ดินจนเต็มพื้นที่ โจทก์ทั้งสองไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้ หากจะใช้ทางดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ขณะที่ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับเป็นการสะดวกมากกว่า เพราะที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นที่ดินว่างเปล่า และมีระยะทางออกสู่ทางสาธารณะใกล้ที่สุด ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เสียหายน้อยที่สุด โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ และเนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคท้าย บัญญัติให้ผู้มีสิทธิจะผ่านทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 3 ในคราวเดียวกันกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ให้การและฟ้องแย้งในเรื่องค่าทดแทนไว้ก็ตาม มิฉะนั้นจำเลยที่ 3 ก็คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 3 ก็จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว ซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีทางออกอื่นก็ไม่กระทบสิทธิ
ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเท่านั้น จะเรียกร้องเอาทางเดินผ่านจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่ทั้งกฎหมายก็หาได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และบริวารจะได้ใช้ที่ดินของ บ. เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินที่ได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของโจทก์ ตามมาตรา 1350 ดังกล่าวหมดไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7688/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภาระจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่องเมื่อที่ดินไม่มีทางออก แม้เจ้าของที่ดินจะจำกัดเส้นทางเดิม
บุพการีของโจทก์ โจทก์ และบุคคลในครอบครัวและบุคคลข้างเคียงได้เดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี แม้เดิมโจทก์เดินทางด้านทิศเหนือผ่านบ้านของจำเลย แต่ต่อมาจำเลยไม่ให้โจทก์เดินผ่านทางด้านดังกล่าว โจทก์จึงหันมาเดินทางพิพาท ก็มิทำให้ภาระจำยอมของโจทก์หมดไป การที่จำเลยไม่ให้โจทก์เดินทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเดินดั้งเดิม ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์เรียกให้โจทก์ย้ายไปใช้ทางภาระจำยอมส่วนอื่นของที่ดินของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7322/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้มีแม่น้ำแต่ใช้สัญจรไม่ได้
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกจะติดแม่น้ำบางปะกง แต่ก็ได้ความว่า ปัจจุบันแม่น้ำบางปะกงไม่ได้ใช้เป็นทางสัญจร คงมีแต่เรือหาปลา ไม่มีเรือโดยสาร โดยกิจการเรือโดยสารได้เลิกมาหลายสิบปีแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วก็ได้ใช้เส้นทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งเส้นทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 3 เมตร ดังนี้ กรณีที่ดินโจทก์จึงต้องตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง คือ ที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต้องข้ามสระ บึง ทะเล หรือสภาพยากลำบากในทำนองเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพื่อขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินจำเลยทั้งสามออกสู่ทางสาธารณะได้
เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1638 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ไม่มีทางบนบกออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
สิทธิในทางจำเป็นย่อมเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายตามสภาพความเป็นจริงของที่ดินในปัจจุบัน ข้ออ้างของฝ่ายจำเลยทั้งสามที่ว่าโจทก์สมัครใจซื้อที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ซื้อในราคาถูกกว่าปกติ ส่อเจตนาว่าจะไม่ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น มิได้ทำให้สิทธิในทางจำเป็นของโจทก์ระงับสิ้นไปแต่อย่างใด
of 3