พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายเนื่องจากไม่ได้กล่าวถึงในฎีกา ทำให้จำกัดทุนทรัพย์ข้อพิพาทและขัดต่อข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ที่ 1 จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ 298,000 บาท ซึ่งเป็นการรวมทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทจำนวน 198,000 บาท กับค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองจำนวน 100,000 บาท เข้าด้วยกันก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่าโจทก์ที่ 1 ยังประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองตามฟ้อง จึงเท่ากับว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มีเพียงประเด็นความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทอันเป็นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจำกัด, ศาลคืนค่าขึ้นศาล, ประเด็นค่าเสียหายเกินคำขอไม่ฟัง
แม้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัว และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนการพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท และจำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 กรณีทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท แม้เป็นการฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน 69,956.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 54,596.43 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ฎีกาว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ไม่จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันจะเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 69,956.72 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเกินทุนทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด และแก้ไขค่าทนายความเกินอัตรา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกับที่ดินของจำเลย สิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้รุกกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์คดีแพ่ง: การคำนวณจากสิทธิครอบครองที่ดินแต่ละแปลง และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาตามมูลค่า
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 จะมีทั้งคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ มิใช่ที่ดินที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 มีสิทธิครอบครอง ประเด็นข้อพิพาทที่เป็นประเด็นหลักจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าคำขอส่วนนี้เป็นคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธาน ส่วนคำขออื่นถือว่าเป็นคำขอต่อเนื่องหรือคำขอรอง เมื่อคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธานเป็นคำขอที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ย่อมถือได้ว่าคดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยคำนวณทุนทรัพย์จากราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนครอบครองเพราะตามรูปคดีเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ มิใช่ถือตามราคาที่ดินพิพาททั้งหมดทุกแปลงที่ฟ้องรวมกันมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทเกินอำนาจศาลอุทธรณ์/ฎีกา, ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในข้อเท็จจริง, การคำนวณทุนทรัพย์จากสิทธิเฉพาะตัว
โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันนำชี้ที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เข้าไปขุดดินในที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 ครอบครอง เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวไม่ได้และต้นไม้ที่ปลูกไว้เสียหาย ขอให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 เกี่ยวข้อง ให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับดังกล่าวโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 นำชี้แนวเขตให้ถูกต้อง และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 พร้อมกับปรับสภาพที่ดินพิพาทให้ใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งถือว่าคำขอส่วนนี้เป็นคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธาน ส่วนคำขออื่นถือว่าเป็นคำขอต่อเนื่องหรือคำขอรอง เมื่อคำขอหลักเป็นคำขอที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ย่อมถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์โดยคำนวณทุนทรัพย์จากราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนครอบครอง เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้และเมื่อรวมกับค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกร้องมาอีกส่วนหนึ่งด้วยแล้วปรากฏว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 คำนวณทุนทรัพย์ได้เป็นเงิน 25,000 บาท 32,500 บาท 45,000 บาท และ 150,000 บาท ตามลำดับ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 5 ย่อมไม่อาจอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลาย: ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา?" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย เว้นแต่? (3) คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน?" เช่นนี้ การอุทธรณ์คำสั่งในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 วรรคสองดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. ว่าด้วยการฎีกา เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นนี้ไม่เกินสองแสนบาท ประกอบกับอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ในปัญหาว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้หรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 และไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะรับคดีนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 วรรคสี่ อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่ใช้ในการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ทุนทรัพย์ที่จะพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 หมายถึง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลภาษีอากร หาใช่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มจากจำเลยรวมเป็นเงิน 49,680 บาท แม้จะระบุจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็นจำนวน 58,788 บาท ก็ตาม ทุนทรัพย์ที่พิพาทคือ 49,680 บาท มิใช่ 58,788 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณมูลค่าทรัพย์มรดกและข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่ เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันราคา 201,000 บาท ที่ดินของโจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง