คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ท่าเรือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในท่าเรือ: ความชัดเจนของสถานที่เกิดเหตุสำคัญต่อการลงโทษตามมาตรา 294(3)
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยเข้าไปในบริเวณท่าเรือแล้วงัดโกดังและลักสังกะสีไปดังนี้ จะให้เข้าใจว่าจำเลยลักทรัพย์ที่ท่าเรือตามความในมาตรา 294(3) ยังไม่ถนัดเพราะไม่ได้ความชัดว่าโกดังและสังกะสีนั้นอยู่ที่ไหนแน่คือที่ท่าเรือหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือบรรทุกข้าวไม่ใช่ที่อยู่อาศัยถาวร การลักทรัพย์บนเรือไม่ถือเป็นการลักทรัพย์จากท่าเรือ
เรือฉลอมสำหรับบรรทุกข้าวโดยมีคนนอนอยู่เป็นบางครั้งบางคราวยังไม่เรียกว่าเป็นที่อาศัยตาม ม.6(14) แต่ถ้ามีคนอยู่ประจำจริง ๆ แล้วก็อาจเรียกว่าเป็นที่อาศัยได้ ลักทรัพย์บนเรือที่จอดอยู่ที่ท่าเรือยังไม่มีผิดตาม ม.294(3) ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.222 ถ้าคดีมีปัญหากฎหมายในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพะยานหลักฐานในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ท่าเรือส่วนตัวเพื่อประโยชน์ทางการค้า ไม่ถือเป็นทรัพย์สาธารณ
ท่าเรือแลทางเดิรซึ่งเจ้าของให้สาธารณชนใช้มาตั้ง 10 ปี กว่าเพื่อประโยชน์ในการค้าขายของเขาเท่านั้น ไม่เป็นทรัพย์สาธารณ อนุญาตให้เดิรเพื่อประโยชน์เจ้าของที่ไม่ใช่ยอมให้ที่เป็นสาธารณ
วิธีพิจารณาแพ่ง
พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ สัญญาทางพระราชไมตรีคนบังคับอังกฤษเป็นจำเลยคู่ความฎีกาได้แต่ในข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาขายฟืนร่วมกันเนื่องจากจำเลยอนุญาตให้ผู้อื่นขายแข่งขัน
การแปลสัญญาเป็นปัญหากฎหมาย พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ปัญหากฎหมาย
วิธีพิจารณาแพ่ง ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15080/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การส่งมอบสินค้าแก่ท่าเรือปลายทางเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติถึงอายุความสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายของสินค้าที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ในกรณีที่มีการส่งมอบ ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งตนได้รับไว้แล้ว... (3) ผู้ขนส่งได้มอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความนี้ขึ้นต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าแก่ท่าเรือปลายทางแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 40 (3) และโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบดังกล่าว โดยปรากฏตามรายงานการสำรวจสินค้าของผู้ประกอบการท่าเรือปลายทางว่า เจ้าหน้าที่ท่าเรือได้ตรวจสินค้าตามฟ้องที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 เมื่อท่าเรือปลายทางนี้มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ใช้ปฏิบัติว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องส่งมอบสินค้าตามฟ้องที่ขนส่งมากับเรือแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรือปลายทางจึงจะถือเป็นการส่งมอบของตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 40 (3) ดังนั้น ที่โจทก์มารับสินค้าภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรือ ทำให้โจทก์ทราบถึงความเสียหายของสินค้าในภายหลัง โจทก์ยังคงต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรืออันถือเป็นการส่งมอบของตามมาตรานี้ ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความ 1 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรือเสร็จสิ้นวันที่ 14 มกราคม 2550 แต่โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มกราคม 2551 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037-6065/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะ 'งานขนส่ง' เพื่อสิทธิค่าล่วงเวลาพนักงาน การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในท่าเรือไม่ถือเป็นการขนส่ง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 95 วรรคหนึ่ง
จำเลยไม่มีหน้าที่ขนสินค้าไปส่งให้ลูกค้า จำเลยกำหนดระเบียบให้ลูกค้ามารับสินค้าเองที่ท่าเรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าแล้วเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือที่ลานกลางแจ้งเพื่อรอให้เจ้าของสินค้ามารับไป เป็นการเอาสินค้าออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่งซึ่งเป็นการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นมาเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือลานกลางแจ้ง โดยไม่ได้ทำให้สินค้าเคลื่อนที่พ้นจากบริเวณของท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่การส่งสินค้า เป็นเพียงการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าเพื่อให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างเรือสินค้ากับการขนส่งด้วยยานพาหนะอื่นเท่านั้น
เรือยนต์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่พนักงานปากเรือมีหน้าที่ชี้ตำแหน่งเรือสินค้าและรับเชือกเพื่อให้เรือสินค้าผ่านร่องน้ำเจ้าพระยาเข้าเทียบท่าเท่านั้น โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 ที่ 17 ที่ 24 และที่ 36 มีหน้าที่ขับรถเครื่องมือทุ่นแรงและยกขนสินค้าด้วยเครื่องมือทุ่นแรงจากเรือสินค้าไปเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือที่ลานกลางแจ้ง โจทก์ที่ 19 ที่ 26 ที่ 27 และที่ 37 มีหน้าที่ขับรถลากจูงพ่วงรถบรรทุก ซึ่งเป็นหน้าที่การขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นมาเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือลานกลางแจ้ง โจทก์ที่ 18 มีหน้าที่จัดเก็บสินค้า โจทก์ที่ 20 มีหน้าที่ตรวจสอบบัตรค่าภาระและค่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า โจทก์ที่ 25 มีหน้าที่ตรวจสอบภาระตู้สินค้าและตรวจสอบสินค้าเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งสินค้า โจทก์ที่ 30 ถึงที่ 33 และที่ 35 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในบริเวณท่าเรือไม่ใช่การทำงานขนส่ง ดังนั้นงานที่โจทก์รวม 29 คนทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) (ซึ่งกำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา) โจทก์รวม 29 คน มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25,26
of 3