คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิในการติดตามเอาคืน
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารโจทก์ สัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้จำเลยเพียงเท่าจำนวนเงินที่โจทก์รับฝากไว้จากจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 การที่พนักงานของโจทก์บันทึกรายการในบัญชีของจำเลยซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยอาศัยความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานโจทก์ เป็นการกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์ เงินที่จำเลยเบิกถอนไปจากโจทก์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการและสิทธิเรียกร้อง: ธนาคารรับโอนสิทธิฟ้องแทนโจทก์ได้ตามกฎหมาย
โจทก์โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯ และโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลย โดยขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการคือ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการโอนกิจการธนาคาร: สิทธิเรียกร้องโอนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล
ธนาคารมหานคร จำกัด โจทก์ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 14กันยายน 2541 และโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2541 ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโดยการนำใบบันทึกรายการขายปลอมไปขอรับเงินจากธนาคาร
ร้านค้าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเครดิตของธนาคาร ผู้เสียหายรับมอบเครื่องรูดบัตรไปใช้ที่ร้านจำเลยที่ 1 ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อมีลูกค้าถือบัตรเครดิตมาซื้อสินค้า จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรและของตัวลูกค้าผู้ถือบัตรนั้น ถ้าผู้ถือบัตรเป็นชาวต่างชาติก็ต้องตรวจสอบหนังสือเดินทางด้วย เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จึงนำบัตรเครดิตเข้าเครื่องรูดบัตร ทำใบบันทึกรายการขายออกมาให้ลูกค้าลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเหมือนกับลายมือชื่อตัวอย่างที่ปรากฏบนบัตรเครดิตด้วยและลูกค้านั้นต้องเป็นเจ้าของบัตรที่นำมาใช้เองจะมอบให้คนอื่นนำมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกรายการขาย 26 ใบ ทะยอยส่งไปขอรับเงินจากผู้เสียหายย่อมเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 2 ได้พบลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาใช้และตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างถึงความไม่รู้ว่าเป็นบัตรเครดิตปลอมและโยนความรับผิดไปให้ผู้เสียหายไม่ได้เพราะเป็นคนละขั้นตอนกันทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสพบปะลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเหมือนจำเลยที่ 2 การที่ลูกค้านำบัตรเครดิตปลอมมาใช้นั้นหากมีปะปนหลงเข้ามานาน ๆ ครั้ง ก็คงไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทุจริต แต่การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกการขายไปขอรับเงินโดยปะปนไปกับบันทึกรายการขายอื่น ๆ จำนวนมากถึง 26 ฉบับภายในเวลาเพียง 20 กว่าวัน และทำให้ได้รับเงินไปเป็นจำนวนมากนั้นนับว่าเป็นพิรุธ และบัตรเครดิตแต่ละใบผู้ถือบัตรล้วนเป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่เคยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะได้เคยพบกับผู้ถือบัตรและมีการตรวจสอบบัตรยอมให้ซื้อสินค้าไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประกอบกับใบบันทึกรายการขายทั้ง 26 ฉบับ มีลักษณะผิดปกติเป็นพิรุธ โดยตัวอักษรในใบบันทึกการขายทับกัน และมีรอยต่อเป็นรอยเส้นแบ่งครึ่งระหว่างข้อความส่วนบนที่เป็นชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรกับข้อความส่วนล่างที่เป็นชื่อร้านค้าคล้ายกับมีการรูดบัตร 2 ครั้ง ยิ่งทำให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าใบบันทึกการขายทั้ง 26 ฉบับ เป็นเอกสารสิทธิปลอม แต่ก็ยังนำไปใช้แสดงขอรับเงินจากผู้เสียหายโดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงทั้งสองฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรเครดิตปลอม, ความเสียหายของธนาคาร, และการดำเนินคดีตามลำดับชั้นศาล
จำเลยได้ใช้บัตรเครดิตปลอมไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆจากร้านค้าสมาชิกผู้รับบัตรเครดิตรวม 82 ครั้ง ผลการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยเป็นเหตุให้ธนาคาร น. ต้องจ่ายเงินตามใบบันทึกการขายซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากบัตรเครดิตปลอมให้แก่ร้านค้าสมาชิกผู้รับบัตรเครดิต ธนาคาร น. จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลย มีอำนาจร้องทุกข์คดีนี้ได้
การหักวันต้องขังของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยฎีกาในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าพิพากษาคดีไม่ถูกต้องแต่ประการใดเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกหักวันต้องขังคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เป็นลำดับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ทำให้โจทก์เสียหายต้องรับผิดละเมิด
++ เรื่อง ละเมิด ++
เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่บริษัท ด.สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน ฉบับที่สองเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ (A/C PAYEE ONLY) ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเช่นกัน โจทก์มอบหมายให้ ร.พนักงานของโจทก์เป็นผู้ไปรับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาจากบริษัท ด. เมื่อ ร.ได้รับเช็คพิพาทมาแล้ว ร.กับพวกได้ร่วมกันทุจริตปลอมเช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าว โดยการขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงิน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด.แล้วกับพวกได้นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไป อันเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินดังกล่าวไปทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด.และในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. มีว่า จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด.ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่าเหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด.ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงิน จึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร.กับพวกนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร.ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงิน และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร.ไปเป็นเหตุให้ ร.กับพวกได้รับเงินไปจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ทำให้เจ้าของสิทธิได้รับความเสียหาย ต้องรับผิดทางละเมิด
การที่ ร. กับพวกร่วมกันปลอมข้อความในช่องผู้รับเงินโดยเพียงขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงินแล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด. กำกับบริเวณที่มีการขีดฆ่าชื่อโจทก์โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของบริษัท ด. จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด. ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่า เหตุใดการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด. ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินจึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข และทำการสอบถามผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายถึงเหตุที่ไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไขก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค ตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเช็คมากกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป แม้เช็คดังกล่าวจะเป็นเช็คผู้ถือดังที่จำเลยให้การก็ตาม เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินซึ่งไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ดังกล่าว เป็นเหตุให้ ร. กับพวกนำเช็คพิพาทที่ปลอมนั้นเข้าฝากในบัญชีของพวก ร. ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมายเพื่อเรียกเก็บเงินและจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวกร. ไป เป็นเหตุให้ ร. กับพวกได้รับเงินไปในการกระทำทุจริตดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อปล่อยให้พนักงานเบิกเงินฝากลูกค้าโดยไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยองชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาชาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการ เพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาโดยมิได้ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควรพึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบโดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แมัลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามประกาศธนาคาร ชอบด้วยกฎหมายหากไม่เกินอัตราที่ธปท.กำหนด
หนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยงวดหนึ่งงวดใด ผู้กู้ยินยอมให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทุกงวด และให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กำหนดไว้ตามประกาศของธนาคารที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนจนครบถ้วนและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีข้อความว่าถ้าผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้ ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดนัดได้ในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดไว้ตามประกาศของผู้รับจำนอง ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้ การที่ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีตามประกาศของโจทก์จึงเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญากู้และสัญญาจำนอง และเมื่อในขณะนั้นประกาศของโจทก์ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปีตามที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้อำนาจไว้ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดร่วมกัน: ธนาคาร, โจทก์, โจทก์ร่วม มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาเป็นกรณีร่วมกัน
จำเลยฟ้องแย้งและขอให้ศาลหมายเรียกธนาคาร ก.เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมเพื่อให้รับผิดตามฟ้องแย้ง โดยกล่าวหาว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และบริษัทโจทก์ร่วมได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยด้วยการร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยโดยใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทกันขึ้นว่าโจทก์ ธนาคาร ก. และ บริษัทโจทก์ร่วม ร่วมกันทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก.ได้ และลำพังตามคำฟ้องแย้งของจำเลยยังไม่อาจรับฟังได้ว่าธนาคาร ก. ไม่ได้ทำละเมิดต่อจำเลยโดยแน่ชัด การที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยว่าธนาคาร ก. เป็นเพียงเจ้าหนี้เสียงข้างมากของบริษัท อ. ที่หยุดการจำหน่ายเบียร์ให้จำเลย จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องให้ธนาคาร ก. รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยได้จึงไม่ชอบคดีจึงมีเหตุสมควรหมายเรียกธนาคาร ก. เข้ามาในคดีนี้เพื่อพิจารณารวมกันไปว่าต้องร่วมกับโจทก์และบริษัทโจทก์ร่วมรับผิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)
of 40