พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ศาลกำหนดค่าเสียหายตามความเหมาะสม
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา (จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว"ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินธุรกิจ, การเชิดตัวผู้กระทำการ, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจการค้า การประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงต้องมีการซื้อขายและต้องมีเงินทุนในการดำเนินกิจการ การกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 นั่นเอง หาใช่เป็นการกระทำนอกเหนือวัตถุประสงค์อย่างใดไม่ การที่จำเลยที่ 1ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
หลังจากจำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงแสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อกับโจทก์รวมทั้งดำเนินการขายลดเช็คแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดหรือให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดในวันที่ 19 เมษายน 2523 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มิได้บอกเลิก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีอยู่ ดังนั้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อมาได้ ภายหลังโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ซึ่งครบกำหนดวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหักทอนบัญชีนับแต่นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป
หลังจากจำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงแสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อกับโจทก์รวมทั้งดำเนินการขายลดเช็คแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดหรือให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดในวันที่ 19 เมษายน 2523 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มิได้บอกเลิก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีอยู่ ดังนั้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อมาได้ ภายหลังโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ซึ่งครบกำหนดวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหักทอนบัญชีนับแต่นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการต่างจากสัญญาเช่า และอายุความตามลักษณะธุรกิจ
การบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัยการบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภคเป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่างๆดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคารโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลยอันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7)มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้นมิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมดดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(3)(4)(5)หรือมาตรา193/34(1)มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่าจำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(เดิม)563โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใดไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ศาลไม่อนุมัติผู้จัดการทรัพย์สินหากทรัพย์สินนั้นไม่มีรายได้ประจำจากการประกอบธุรกิจ
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว3ชั้น2คูหาและห้องแถวไม้เก่าๆชั้นเดียวจำนวน8ห้องปลูกอยู่แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว2คูหาเป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนต์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรมจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิลม์ภาพยนต์แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนต์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้จัดส่งคนงานไม่ได้ ก็ยังมีความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความ ว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงาน ในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัด: การกู้ร่วมเพื่อธุรกิจจัดสรร ไม่ถือเป็นหุ้นส่วนทางกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1012
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในบ้านเพื่อเจรจาปัญหาธุรกิจและการมีอาวุธไม่ถือเป็นเหตุบุกรุก หากมีเหตุอันสมควร
จำเลยเข้าไปในบ้านของโจทก์โดยมีปืนเป็นอาวุธ เพื่อจะตกลงกับโจทก์เรื่องดำเนินกิจการต้มหอยแล้วปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นนับว่าเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร แม้จะมีปืนติดตัวไปด้วยก็ไม่ทำให้การเข้าไปนั้นกลับไม่มีเหตุอันสมควรอันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร: งานแปลข้อมูลทางธรณีวิทยาเข้าข่ายธุรกิจไม่ใช่การรับทำงานให้
เงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ฯลฯ ควรอยู่ในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันคือลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายไม่มากประมวลรัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายน้อยและหักค่าใช้จ่ายเท่ากัน ส่วนเงินได้ตามมาตรา 40(8)เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ ฯลฯ เป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ประมวลรัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายมากกว่าเงินได้ตามมาตรา 40(2) งานที่ ด. รับทำให้โจทก์ คือการรับทำการแปลข้อมูลทางธรณีวิทยา ต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีเทคโนโลยีสูงเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมซับซ้อน ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงร้อยละ 70 ของรายได้ เงินได้ที่โจทก์จ่ายให้ ด.จึงมิใช่เงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2)แต่เป็นเงินได้จากการธุรกิจตามมาตรา 40(8) โจทก์ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตและการครอบครองโดยชอบธรรม การที่สถานที่ประกอบธุรกิจไม่ใช่ตลาดทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ ไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการใช้ต่อเนื่องโดยบริษัทใหม่
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขายใบชาซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียนไว้มาประกอบกิจการค้าใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในรูปของบริษัทจำเลย ตลอดจนการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับใบชาของบริษัทจำเลยในลักษณะที่แสดงว่าบริษัทจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังปรากฎที่กล่องบรรจุใบชา นั้น ถือได้ว่าบิดาโจทก์ได้สละสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยยอมให้เป็นทรัพย์สินของบริษัทจำเลยแล้วตั้งแต่ขณะบิดาโจทก์เลิกประกอบการค้าใบชาเป็นการส่วนตัวมาประกอบการค้าใบชาในรูปบริษัทจำเลยโดยมีตนเป็นกรรมการผู้จัดการ แม้หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทจะปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โดยบิดาโจทก์ยังมิได้ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้จำเลยเพื่อให้สมบูรณ์ตามมาตรา33 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อไป การที่ปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตามหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีผลเพียงเท่ากับบิดาโจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเท่านั้น เมื่อต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท การที่ ว. และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าพิพาท จึงมีผลเป็นเพียงการถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าใบชาที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ.2494 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยทำการค้าขายใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์และย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์ยื่นจดทะเบียนต่ออายุดังกล่าวได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474