พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลากลางคืนตามกฎหมาย: ผลต่อการพิจารณาคดีอาญา
การนับเวลาได้มีประกาศนับเวลาในราชการ พ.ศ.2460 ให้เริ่มนับวันใหม่ตั้งแต่เที่ยงคืน และ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 6 ข้อ 23 บัญญัติว่า วันหนึ่งหมายความว่าระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง เมื่อตั้งต้นนับวันใหม่ตั้งแต่เที่ยงคืน วันหนึ่งจึงมีเวลากลางคืน 2 ตอน คือตอนต้นนับวันใหม่ตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น เป็นเวลากลางคืนตอนหนึ่ง กับอีกตอนหนึ่งระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปสุดสิ้นถึงเวลาเที่ยงคืน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 20 กันยายน 2489 เวลากลางคืน ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 21 กันยายน 2489 เวลา 4.00 นาฬิกา ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 20 กันยายน 2489 เวลากลางคืน ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 21 กันยายน 2489 เวลา 4.00 นาฬิกา ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับเวลากลางคืนตามกฎหมาย: ผลต่อการระบุวันเวลาเกิดเหตุในคดีอาญา
การนับเวลาได้มีประกาศนับเวลาในราชการ พ.ศ.2460 ให้เริ่มนับวันใหม่ตั้งแต่เที่ยงคืน และกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 6 ข้อ 23 บัญญัติว่า วันหนึ่งหมายความว่าระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง เมื่อตั้งต้นนับวันใหม่ตั้งแต่เที่ยงคืนวันหนึ่งจึงมีเวลากลางคืน 2 ตอน คือตอนต้นนับวันใหม่ตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น เป็นเวลากลางคืนตอนหนึ่ง กับอีกตอนหนึ่งระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปสุดสิ้นถึงเวลาเที่ยงคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 20 กันยายน 2489เวลากลางคืนทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 21 กันยายน 2489 เวลา 4.00 นาฬิกา ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 20 กันยายน 2489เวลากลางคืนทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 21 กันยายน 2489 เวลา 4.00 นาฬิกา ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับเวลาแจ้งปริมาณสินค้า: เวลากลางคืนตามกฎหมาย และการเริ่มนับระยะเวลา
เวลากลางคืนตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.อาญานั้น ก.ม.มิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นคืนของวันไหน จึงต้องถือตามประกาศนับเวลาในราชการ ซึ่งให้นับวันเป็น 24 ชั่วนาฬิกา เริ่มต้นแต่ศูนย์นาฬิกาเป็นต้นไป
มีของต้องแจ้งปริมาณไว้ตั้งแต่ 3.00 น. ของวันที่ 3 ไปแจ้งปริมาณในวันที่ 5 เดือนนั้น ถือว่ายังไม่เกินกำหนด 2 วัน.
มีของต้องแจ้งปริมาณไว้ตั้งแต่ 3.00 น. ของวันที่ 3 ไปแจ้งปริมาณในวันที่ 5 เดือนนั้น ถือว่ายังไม่เกินกำหนด 2 วัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับเวลาแจ้งปริมาณสินค้า: เวลากลางคืนตามกฎหมายและการเริ่มต้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมาย
เวลากลางคืนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญานั้นกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นคืนของวันไหน จึงต้องถือตามประกาศนับเวลาในราชการ ซึ่งให้นับวันเป็น 24 ชั่วนาฬิกา เริ่มต้นแต่ศูนย์นาฬิกาเป็นต้นไป
มีของต้องแจ้งปริมาณไว้ตั้งแต่เวลา 3.00 น. ของวันที่ 3 ไปแจ้งปริมาณในวันที่ 5 เดือนนั้น ถือว่ายังไม่เกินกำหนด 2 วัน
มีของต้องแจ้งปริมาณไว้ตั้งแต่เวลา 3.00 น. ของวันที่ 3 ไปแจ้งปริมาณในวันที่ 5 เดือนนั้น ถือว่ายังไม่เกินกำหนด 2 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันเวลาทางกฎหมาย: การกำหนดวันและเวลาเกิดเหตุตามประกาศราชการ
การนับวันและเวลาของวันใด ต้องนับตามประกาศเวลาของราชการ พ.ศ.2460 และ 2471
ฟ้องว่าทำผิดวันที่ 1 พฤษภาคม ทางพิจารณาได้ความว่าทำผิดคืนระหว่างวันที่ 30 เมษายน กับวันที่ 1 พฤษภาคม เวลา 2.00 น. ดังนี้ ไม่ถือว่าฟ้องผิดวันประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2490
ฟ้องว่าทำผิดวันที่ 1 พฤษภาคม ทางพิจารณาได้ความว่าทำผิดคืนระหว่างวันที่ 30 เมษายน กับวันที่ 1 พฤษภาคม เวลา 2.00 น. ดังนี้ ไม่ถือว่าฟ้องผิดวันประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2490
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันเวลาเกิดเหตุและการตีความประกาศกระแสพระบรมราชโองการเรื่องนับเวลาในราชการเพื่อใช้ในการพิจารณาคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดเมื่อวันที่ 6 เวลากลางคืนติดต่อกับเวลากลางวันตอนเช้ามืด ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิด 05.00 น.เศษของวันที่ 6 ดังนี้ ถือว่าไม่เป็นฟ้องผิดวัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17817/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: การนับเวลาที่ถูกต้องและการถือปฏิบัติตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟังโดยถือว่าโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2550 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 4 มกราคม 2551 วันที่ 17 มกราคม 2551 ซึ่งพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ แต่เนื่องจากการพิมพ์คำพิพากษายังไม่เสร็จอันเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมสมควรขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้ ศาลแรงงานกลางจึงอนุญาต การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปต้องนับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ โดยเริ่มนับจากวันที่ 5 มกราคม 2551 ซึ่งครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551
โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้ขยายแล้ว
โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้ขยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7693/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ทำให้ประเด็นนั้นยุติ และการนับอายุความตามกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำการงานและซื้อสินค้าจากโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากเห็นว่าคดีขาดอายุความโดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องอุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่า คดีไม่ขาดอายุความ หากจำเลยที่ 1 ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้ในประเด็นข้อใด อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ด้วย แต่ปรากฏว่าคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คงกล่าวแก้เฉพาะแต่ประเด็นเรื่องอายุความที่โจทก์อุทธรณ์เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249