พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620-4621/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีต่างสำนวน แม้โทษจำคุกตลอดชีวิตก็ทำได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
คดีสำนวนแรกและสำนวนหลังมิได้เกี่ยวพันกันไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แม้ทั้งสองคดีศาลต่างลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ก็สามารถนับโทษต่อกันได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
การนับโทษต่อหาจำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยซึ่งต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีสำนวนแรกจะถึงแก่ความตายในเวลาต่อไปอันเป็นเหตุให้โทษเป็นอันระงับไปหรือไม่ ศาลล่างนับโทษจำเลยที่ 1 สำนวนหลังต่อจากโทษจำเลยสำนวนแรกไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 และ 91(3)
การนับโทษต่อหาจำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยซึ่งต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีสำนวนแรกจะถึงแก่ความตายในเวลาต่อไปอันเป็นเหตุให้โทษเป็นอันระงับไปหรือไม่ ศาลล่างนับโทษจำเลยที่ 1 สำนวนหลังต่อจากโทษจำเลยสำนวนแรกไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 และ 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมคดีอาญาที่ความผิดเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การนับโทษจำคุกที่เกินกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คดีนี้กับคดีก่อนมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน จำเลยและผู้เสียหายเป็นบุคคลคนเดียวกัน โจทก์จึงอาจจะฟ้องคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีเดียวกัน แต่ปรากฏว่าโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนโดยศาลชั้นต้นมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมและจำคุกจำเลยทั้งสองมีกำหนด 20 ปีเต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ในคดีก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจนำโทษของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ไปนับต่อกับโทษของจำเลยทั้งสองในคดีก่อนของศาลชั้นต้นได้ เพราะจะทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อประโยชน์ในการนับโทษต่อเมื่อมีโทษถึงที่สุดแล้ว จำเลยต้องให้การรับรองหรือไม่โจทก์ต้องนำสืบพยาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกในคดีดังกล่าว ขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในดคีดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่1894/2540 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ปรากฏแก่ศาล
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีก่อน จำเป็นต้องมีการสืบพยานยืนยันตัวบุคคลจำเลยว่าเป็นคนเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกในคดีดังกล่าว ขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ปรากฏแก่ศาล
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานซ่องโจรและมีอาวุธปืน ครอบครอง/พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ประเด็นการนับโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่กับ ช. ร่วมกันเป็นซ่องโจรโดยสมคบคิดกันตั้งแต่ 5 คน เพื่อกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์และชิงทรัพย์ผู้อื่น แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าในคืนเกิดเหตุ ช. อยู่ร่วมกับจำเลยทั้งสี่ ดังนั้น พฤติการณ์ตามที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานซ่องโจร
ขณะจำเลยที่ 1 ขึ้นไปโดยสารรถของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ได้นำอาวุธปืนซึ่งเป็นของตนเก็บไว้ในช่องที่เก็บของหน้ารถแล้วจำเลยที่ 1 นั่งโดยสารไปด้วย ถือว่าความครอบครองอาวุธปืนยังอยู่ที่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ลงจากรถลืมเอาอาวุธปืนลงมา และต่อมาในเวลาใกล้ชิดกัน เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสี่ได้ ก็ยังถือว่าอาวุธปืนดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกฐานมีอาวุธปืนฯ 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืนฯ 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานมีอาวุธปืนฯ จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนฯ จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนฯ 8 เดือน ฐานพาอาวุธปืนฯ 4 เดือน รวมจำคุก 1 ปี ความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ให้หนักขึ้น ดังนั้นในความผิดฐานมีอาวุธปืนฯ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลดโทษให้จำเลยที่ 1 เพียงหนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 8 เดือน จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ขณะจำเลยที่ 1 ขึ้นไปโดยสารรถของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ได้นำอาวุธปืนซึ่งเป็นของตนเก็บไว้ในช่องที่เก็บของหน้ารถแล้วจำเลยที่ 1 นั่งโดยสารไปด้วย ถือว่าความครอบครองอาวุธปืนยังอยู่ที่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ลงจากรถลืมเอาอาวุธปืนลงมา และต่อมาในเวลาใกล้ชิดกัน เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสี่ได้ ก็ยังถือว่าอาวุธปืนดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกฐานมีอาวุธปืนฯ 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืนฯ 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานมีอาวุธปืนฯ จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนฯ จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนฯ 8 เดือน ฐานพาอาวุธปืนฯ 4 เดือน รวมจำคุก 1 ปี ความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ให้หนักขึ้น ดังนั้นในความผิดฐานมีอาวุธปืนฯ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลดโทษให้จำเลยที่ 1 เพียงหนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 8 เดือน จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังซ้ำซ้อนกรณีคดีอาญาเดิมถูกยกฟ้อง ศาลต้องนับวันต้องขังตั้งแต่ต้น
จำเลยต้องขังคดีนี้นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2539 แม้คำพิพากษาคดีนี้จะให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาก่อน แต่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยต้องขังคดีนี้ซ้ำซ้อนกับ คดีอาญาก่อน และต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในคดีก่อน ต้องถือว่าจำเลยต้องขังคดีนี้ตลอดมาตั้งแต่ต้นจึงต้องหักวันต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาที่ซ้ำซ้อนให้จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังคดีซ้ำซ้อน แม้มีคำพิพากษานับโทษต่อจากคดีอื่น ศาลต้องหักวันต้องขังทั้งหมดตั้งแต่ต้น
จำเลยต้องขังคดีนี้นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2539แม้คำพิพากษาคดีนี้จะให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาก่อน แต่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยต้องขับคดีนี้ซ้ำซ้อนกับ คดีอาญาก่อน และต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในคดีก่อน ต้องถือว่าจำเลยต้องขับคดีนี้ตลอดมาตั้งแต่ต้น จึงต้องหักวันต้องขับระหว่างอุทธรณ์ฎีกาที่ซ้ำซ้อน ให้จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอ: โจทก์ต้องขอให้นับโทษจำคุกในคำฟ้อง มิเช่นนั้น ศาลพิพากษาเกินเลย
คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ได้ขอรวมการพิจารณาพิพากษา เข้าด้วยกัน และจำเลยไม่ได้คัดค้านทั้งสามสำนวน ดังนั้น คำขอท้ายฟ้องคดีทั้งสามสำนวนนี้จึงถือเป็นข้อเท็จจริงและ เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มีความประสงค์มาแต่ต้น โดยต้องการให้ศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับคดีอื่น โจทก์ต้องระบุหรือกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องในภายหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 เสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและไม่มีคำขอให้นับโทษจำคุกจำเลย ต่อกันไว้การที่โจทก์ขอรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวน ด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการนำสืบพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ของคู่ความเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องทำนองขอให้นับโทษในคดีต่อกันดังที่โจทก์แก้ฎีกา ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวมทั้งสิ้น 11 กระทง และให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันจึงเป็นการพิพากษา เกินคำขอของโจทก์ที่มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีเช็คและอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ รวมถึงเหตุผลที่ไม่สามารถจำหน่ายคดีได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาได้ คือ คดีอาญาเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 กรณีหนึ่งคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 กรณีหนึ่ง และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39อีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์คดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายก็เป็นกรณีที่โจทก์ไปดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งในคดีล้มละลาย บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 ไม่เกี่ยวกับกรณีคดีอาญาเลิกกันหรือสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแต่อย่างใดจำเลยจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีนี้หาได้ไม่ จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็ค แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยแยกฟ้องเป็น 2 สำนวนโดยแต่ละสำนวนโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษของจำเลยต่อจึงนับโทษ ต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งเป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใด ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีหลายสำนวน และข้อยกเว้นตาม ป.อ.มาตรา 91 กรณีรวมพิจารณาคดี
ป.อ.มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้
การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทง จึงต้องอยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตาม ป.อ.มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัติไว้
โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตามเมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในป.อ.มาตรา 91 (3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 22วรรคหนึ่งได้
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามป.อ.มาตรา 91 (3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอันที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วย ป.อ.มาตรา 91 (3) หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทง จึงต้องอยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตาม ป.อ.มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัติไว้
โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตามเมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในป.อ.มาตรา 91 (3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 22วรรคหนึ่งได้
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามป.อ.มาตรา 91 (3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอันที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วย ป.อ.มาตรา 91 (3) หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย