พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอใบสำคัญคนต่างด้าวไม่ระงับแม้ยื่นหลังกำหนด-นายทะเบียนต้องออกใบสำคัญตามกฎหมาย
แม้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเกินเวลา 30 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ก็ตาม แต่ก็หาหมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ของผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยโดยมีเวลาบังคับให้ปฏิบัติตาม ถ้าหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ ตามมาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติ เดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิหรือหมดสิทธิไม่ จำเลยมีฐานะเป็นนายทะเบียนตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตาม พระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ข้อ 3 จึงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ผู้ยื่นคำร้องขอ การที่จำเลยยังไม่ออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ และเป็นเวลานานเกินสมควรแก่เหตุ ถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการโดยอ้างว่าเป็นระเบียบของกรมตำรวจหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งมิใช่กฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเครื่องหมายการค้า: ผู้ขอจดทะเบียนต้องทำข้อตกลงหรือฟ้องผู้มีสิทธิอื่น มิใช่ฟ้องนายทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยเป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการของจำเลยที่ 1ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมี คำขอท้ายฟ้องให้จำเลยรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้บรรยายให้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีอำนาจและหน้าที่ อะไรเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกระทำการใด อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อมาจำเลยที่ 2 ในฐานนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่ ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับของโจทก์ โดย ส. ได้ยื่นคำขอไว้ก่อนโจทก์ จึงดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ต่อไป โจทก์ต้องดำเนินการตามกฎหมาย 2 ประการ คือทำความตกลงกับ ส. เองว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นหรือนำคดีไปสู่ศาลโดยฟ้อง ส.ให้ศาลพิจารณาว่าโจทก์หรือส. ฝ่ายใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน มิใช่มาฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ไม่ถูกต้องหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าตามคำของของโจทก์เหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของ ส. และไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ จะว่าเป็นการไม่ชอบก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 17 วรรคแรก ได้ให้อำนาจจำเลยที่ 2 ไว้เช่นนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการ ตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการใช้สิทธิทางศาลเพื่อจัดการพรรคการเมืองเป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมือง สมาชิกพรรคไม่มีอำนาจฟ้อง
การใช้สิทธิทางศาลที่อ้างว่า หัวหน้าพรรคการเมืองจัดให้พรรคการเมืองกระทำการใด ๆ อันมิชอบนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะดำเนินการโดยเฉพาะ ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 มาตรา 34 และมาตรา 48 ประกอบมาตรา 37หาได้มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ดังกล่าวให้อำนาจสมาชิกพรรคการเมืองใช้สิทธินั้นไม่ การที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าพรรคการเมืองจำเลยที่ 1 นำข้อบังคับใหม่ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ไปดำเนินการบังคับใช้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค อันเป็นการนำข้อบังคับที่มิชอบด้วยกฎหมายมาใช้บังคับแก่สมาชิกพรรคนั้น ตราบใดที่โจทก์ทั้งหกยังไม่ได้ถูกบังคับให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยอาศัยอำนาจจากการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคจำเลยที่ 1 ใหม่จึงเป็นเรื่องของความขัดแย้งกันในทางความคิดเท่านั้น กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกพรรคไม่มีอำนาจฟ้องคดีการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค เหตุอำนาจอยู่ที่นายทะเบียนและศาลฎีกา
ตามฟ้องโจทก์ทั้งหกอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นพรรคการเมือง โจทก์ทั้งหกเป็นสมาชิกพรรคจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าพรรคได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกพรรคทั่วประเทศเพื่อพิจารณาความเห็นในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของพรรคเสียใหม่ เมื่อมีการแก้ไขบังคับใหม่แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าพรรคไม่ได้นำข้อบังคับใหม่ไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่กลับนำมาดำเนินการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทันทีในวันเดียวกันนั้น อันเป็นการนำข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้บังคับแก่สมาชิกพรรค การกระทำของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ทั้งหกและสมาชิกพรรคได้รับความเสียหายนั้นในข้อที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิทางศาลกรณีมีการอ้างว่าหัวหน้าพรรคการเมืองจัดให้พรรคการเมืองกระทำการใด ๆ ที่มิชอบนั้น พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะดำเนินการโดยเฉพาะ โดยตามมาตรา 34นายทะเบียนมีอำนาจเตือนเป็นหนังสือให้หัวหน้าพรรคการเมืองระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำเช่นนั้น และหากหัวหน้าพรรคการเมืองไม่ปฏิบัติ นายทะเบียนอาจยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำนั้นหรือให้หัวหน้าพรรคการเมืองออกจากตำแหน่งได้ และตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 47 หากการกระทำรุนแรงถึงขนาด นายทะเบียนอาจแจ้งต่ออธิบดีกรมอัยการให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกามีคำสั่งยุบเลิกพรรคการเมืองเสียได้ หาได้มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ที่บัญญัติให้สมาชิกพรรคการเมืองใช้สิทธิทางศาลไม่โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาให้ศาลวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคจำเลยที่ 1ตามข้อบังคับใหม่ปี 2530 เป็นโมฆะส่วนในข้อที่ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งหกตามกฎหมายแพ่งหรือไม่นั้น ตราบใดที่โจทก์ทั้งหกยังไม่ได้ถูกบังคับให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยอาศัยอำนาจจากการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคจำเลยที่ 1 ใหม่ สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งหกมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้น ข้ออ้างตามฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าพรรคจำเลยที่ 1 ดำเนินการประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคโดยมิชอบ จึงเป็นเรื่องของความขัดแย้งกันในทางความคิดเท่านั้น กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งหกตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนสัญชาติ: การปฏิเสธการจดทะเบียนสัญชาติถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ทั้งสามโดย ค. มารดาได้ขอให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนอำเภอลงชื่อและสัญชาติไทยแก่โจทก์ทั้งสามลงในทะเบียนบ้าน จำเลยไม่ยอมลงโดยเห็นว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรคนญวนอพยพเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสามไม่มีสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ที่จำเลยออกคำสั่งแจ้งให้ ค. ไปยื่นคำร้องขอมีสัญชาติที่สำนักงานจังหวัดโดยตรงเป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการก็เป็นการกระทำที่ทำให้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม แต่ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ ดังนี้โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประเภทผิดพลาด และสิทธิของนายทะเบียนในการปฏิเสธการต่อทะเบียน
รถยนต์คันพิพาทเดิมเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หลังจากดัดแปลงให้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว เบาะสองแถวหน้าที่วางขวางตามตัวรถใช้นั่งในลักษณะปกติได้ 5 คน ส่วนพื้นที่ตอนท้ายของรถซึ่งมีเบาะอีก 2 เบาะ วางไว้กับพื้นรถตามความยาวของรถ ใช้เป็นที่เก็บยางอะไหล่และมีรอยวงล้อหลังโป่งนูนขึ้นมาทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ของรถและใช้เป็นที่บรรทุกสิ่งของไม่อาจติดตั้งเบาะสำหรับคนนั่งในลักษณะการนั่งอย่างธรรมดาได้ เบาะที่วางไว้กับพื้นรถดังกล่าวไม่มีพนักพิงและเมื่อนั่งแล้วผู้นั่งต้องชันเข่าขึ้นเพราะไม่มีที่ห้อยเท้า ศีรษะก็อยู่ติดกับหลังคารถ ลักษณะของเบาะดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นที่นั่งตามความหมายในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2524)ที่จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณจำนวนที่นั่งในรถตามกฎกระทรวงดังกล่าว รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน การที่นายทะเบียนยานพาหนะรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนมาแต่แรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์มาขอต่อทะเบียนและชำระภาษีในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนโดยไม่ยอมจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนยานพาหนะมีอำนาจที่จะไม่รับชำระภาษีและไม่ต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และการไม่อนุญาตถอนรถออกจากบัญชี ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารได้ยื่นหนังสือถึงจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดขอถอนรถโดยสารบางคันออกจากบัญชี ขส.บ.11ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 79แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบหรือข้อบังคับใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยจะพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่อนุญาตจะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้
เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสารถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขได้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสารถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขได้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และการไม่อนุญาตถอนรถออกจากบัญชีไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารได้ยื่นหนังสือถึงจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดขอถอนรถโดยสารบางคันออกจากบัญชี ขส.บ.11 ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบหรือข้อบังคับใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องปฏิบัติตาม โดยจะพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนรถร่วมออกจากบัญชี ขส.บ.11 จะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้ เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสาร ถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522จำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขจำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และการไม่อนุญาตถอนรถออกจากบัญชี ไม่ถือเป็นปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารได้ยื่นหนังสือถึงจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดขอถอนรถโดยสารบางคันออกจากบัญชี ขส.บ.11ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 79แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบหรือข้อบังคับใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยจะพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่อนุญาตจะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้ เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสารถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขได้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดจำนวนรถสามล้อรับจ้างและการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนตามกฎกระทรวง
กฎกระทรวงฉบับที่ 28(พ.ศ. 2504) ข้อ 4 ที่ออกตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 มีความว่าในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้กำหนดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาที่จะจดทะเบียนได้ไม่เกิน 8,000 คันนั้น มีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารโดยให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 8,000 คันจะรับจดทะเบียนเกินกว่านี้ไม่ได้ หาได้หมายความว่าถ้ายังจดทะเบียนไม่ครบจำนวนดังกล่าวแล้ว หากมีผู้มาขอจดทะเบียนอีกก็จะต้องรับจดทะเบียนให้จนครบจำนวนดังกล่าวไม่ เพราะอยู่ในดุลพินิจของนายทะเบียนที่จะเห็นสมควรตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสารผู้ใช้ถนนสัญจรไปมา และความสะดวกในการจราจร คณะกรรมการพิจารณาปัญหารถผิดกฎหมายและการประกอบการรถยนต์รับจ้างของ กระทรวงมหาดไทย เคยมีมติว่า ไม่ควรเพิ่มโควต้าป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีที่จะให้จำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครค่อย ๆ ลดลงไปตามลักษณะและการสิ้นสภาพของรถ ทั้งหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5(12) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ให้งดรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่านอกจากจะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครแล้วยังต้องการให้ลดจำนวนลงไปตามลักษณะการสิ้นสภาพของรถด้วยดังนั้น การที่จำเลยใช้ดุลพินิจไม่รับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาให้โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเพื่อสนองนโยบายของ รัฐบาล ถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 28(พ.ศ. 2504) ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.