คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำเข้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ซื้อไม่ดำเนินการตามกฎหมายนำเข้า ทำให้การส่งมอบสินค้าไม่สามารถทำได้
เมื่อเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการอนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งจำเลยได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึดถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อการส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ที่ถูกยึดให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ผู้ซื้อมีหน้าที่ดำเนินการนำเข้าเมื่อมีข้อตกลงในสัญญา
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนโดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขายไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ดังกล่าวข้างต้นส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึดจึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าต้องห้าม: เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์และอุปกรณ์ ไม่อำนวยให้เข้าตามกฎหมาย
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติล พร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ.2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 91 พ.ศ.2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ต้องห้ามและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและป่าไม้
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติลพร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ. 2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร ต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่สามารถอ้างอิงราคาสูงสุดภายใน 3 เดือนได้
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลังอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตามพระราชบัญญัติศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันโดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไป ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาสูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเองแต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้นส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลังอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าการที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าโจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด2ปีนับจากวันที่นำของเข้าและตามพระราชบัญญัติศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมและมาตรา193/30ใหม่แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันโดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนนั้นแม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่8/2530และ47/2531แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไป ในระยะเวลา3เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมินราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามและช่วยเหลือซ่อนเร้น เป็นความผิดคนละกระทง โจทก์มีสิทธิฟ้องทั้งสองฐาน
จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้อง เป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากร: การนำเข้าของต้องห้ามและการช่วยเหลือซ่อนเร้น ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาโดยยกข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้องเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด: การประเมินภาษีอากรศุลกากรต้องอ้างอิงราคาซื้อขายจริง ณ วันนำเข้า
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2วรรค12บัญญัติว่า"คำว่า"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"หรือ"ราคา"แห่งของอย่างใดนั้นหมายความว่าราคาขายส่งเงินสด(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาและที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด"เวลาที่นำสินค้าเข้ามาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงเวลาที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เวลาที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7261/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้ายุทธภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญาและการยกเลิกการยกเว้นอากร ภาษีอากรยังคงต้องชำระ
โจทก์นำเครื่องเอกซเรย์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรมตำรวจตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ได้ทำกับสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังแม้จะเป็นยุทธภัณฑ์แต่เมื่อกรมตำรวจมิได้รับเครื่องเอกซเรย์ไว้ในราชการและโจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์กลับคืนไปให้บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วเครื่องเอกซเรย์จึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการซึ่งได้ยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2530ภาค4ประเภท13 การที่กรมศุลกากรจำเลยได้อนุมัติให้ยกเว้นอากรสำหรับเครื่องเอกซเรย์ที่จำเลยนำเข้าเนื่องจากจำเลยได้รับหนังสือขอยกเว้นภาษีอากรขาเข้าจากกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมาจำเลยได้รับแจ้งจากกรมตำรวจผู้ที่จะรับเครื่องเอกซเรย์ไว้ใช้จากสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังผู้ซื้อจากโจทก์ว่าเครื่องเอกซเรย์ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายและโจทก์ได้ส่งคืนบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วจำเลยชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการยกเว้นอากรได้เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรขาเข้าให้จำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา41,10ทวิวรรคหนึ่งการที่โจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์คืนให้แก่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ใช้ประโยชน์อย่างใดในราชอาณาจักรไม่ทำให้ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องเสียภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการนำเข้าสำเร็จซึ่งโจทก์มีสิทธิจะจัดการกับสินค้าของโจทก์อย่างไรก็ได้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีอากรให้จำเลย
of 17