พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216-1223/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงอากร ไม่ถือเป็นละเว้นการทำรายงานตามกฎหมายศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38 เป็นเรื่องที่ใช้บังคับกับนายเรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางท่าอนุมัติซึ่งไปถึงท่าที่เป็นเขตศุลกากรโดยชอบในกรณีดังกล่าว นายเรือจึงจะมีหน้าที่ต้องทำรายงานยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เรือมาถึงท่า และกฎหมายมาตรานี้บังคับด้วยว่านายเรือจะต้องแถลงรายละเอียดว่าด้วยสินค้านั้นๆ ลงไว้ในรายงานด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการควบคุมสินค้าที่นำเข้าโดยชอบให้รัดกุมและเพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ทำการตรวจสินค้าและเรียกเก็บภาษีได้โดยสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง
จำเลยผู้เป็นนายเรือได้นำกะปิของกลางบรรทุกเรือเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางซึ่งมิใช่ท่าอนุมัติโดยเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และจะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยได้นำเรือมาถึงท่าโดยชอบแล้วละเว้นไม่ทำรายงานอันถูกต้อง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38
จำเลยผู้เป็นนายเรือได้นำกะปิของกลางบรรทุกเรือเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางซึ่งมิใช่ท่าอนุมัติโดยเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และจะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยได้นำเรือมาถึงท่าโดยชอบแล้วละเว้นไม่ทำรายงานอันถูกต้อง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าควบคุมโดยสำคัญผิดและผู้ร่วมกระทำผิด: ทัพพีจากเครื่องจักรเข้าข่ายสิ่งหัตถกรรม
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้สั่งของต้องห้ามจากต่างประเทศแทนจำเลย ที่ 1 โดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการก่อน แม้จะอ้างว่าสำคัญผิดว่า ของที่สั่งมานั้น ไม่ใช่ของต้องห้าม ก็ยังคงต้องมีความผิด กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสอง เป็นผู้ร่วมกันกระทำผิด
ทัพพีแม้ จะเป็นสิ่งประดิษฐ์ จากเครื่องจักร ก็อยู่ในความหมายว่า เป็นสิ่งหัตถกรรมการความหมายในประกาศของกระทรวงเศรษฐการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2498 ข้อ 10 อันจำต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวง เศรษฐการเสียก่อน จึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2503)
ทัพพีแม้ จะเป็นสิ่งประดิษฐ์ จากเครื่องจักร ก็อยู่ในความหมายว่า เป็นสิ่งหัตถกรรมการความหมายในประกาศของกระทรวงเศรษฐการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2498 ข้อ 10 อันจำต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวง เศรษฐการเสียก่อน จึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าควบคุมโดยสำคัญผิดและความรับผิดของกรรมการบริษัท
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้สั่งของต้องห้ามจากต่างประเทศแทนจำเลยที่ 1 โดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการก่อน แม้จะอ้างว่าสำคัญผิดว่าของที่สั่งมานั้นไม่ใช่ของต้องห้ามก็ยังคงต้องมีความผิด กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันกระทำผิด
ทัพพีแม้จะเป็นสิ่งประดิษฐ์จากเครื่องจักร ก็อยู่ในความหมายว่าเป็นสิ่งหัตถกรรมตามความหมายในประกาศของกระทรวงเศรษฐการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2498 ข้อ 10 อันจำต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการเสียก่อน จึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2503)
ทัพพีแม้จะเป็นสิ่งประดิษฐ์จากเครื่องจักร ก็อยู่ในความหมายว่าเป็นสิ่งหัตถกรรมตามความหมายในประกาศของกระทรวงเศรษฐการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2498 ข้อ 10 อันจำต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการเสียก่อน จึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย: กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดแม้ทำในนามบริษัท
สินค้าที่สั่งให้ส่งมาจากต่างประเทศจนถึงด่านศุลกากรแล้วถือได้ว่า ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
จำเลยเป็นผู้สั่งให้ส่งสินค้าของกลางเข้ามาในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทนิติบุคคล จำเลยจึงเป็นผู้กระทำการซึ่งเป็นความผิดจะอ้างว่าทำในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้
จำเลยเป็นผู้สั่งให้ส่งสินค้าของกลางเข้ามาในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทนิติบุคคล จำเลยจึงเป็นผู้กระทำการซึ่งเป็นความผิดจะอ้างว่าทำในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764-765/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าโดยไม่ผ่านศุลกากรและไม่เสียภาษี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้จะอ้างเหตุจำเป็นหรือเคยเสียภาษีแล้ว
+ผ้าไหมเทียมเข้ามา+ที่ไม่มีด่านศุลกากร+ไม่ใช่ทางที่อนุมัติ โดยได้เสียภาษีนั้น แม้จะโดย+รัฐบาลต่างประเทศ บังคับให้นำออกจากประเทศโดยการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศก็ต้องมีผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร +27 จะอ้างเหตุจำเป็นตามกฎหมายอาญา ม. ++ ไม่ได้ และของนั้นต้อง+ริบด้วยเสมอ
อ้างฎีกาที่ 118/2482
+ที่เคยเสียภาษีแล้วเมื่อนำ+ไปจากประเทศแล้วนำ เข้ามาอีกก็ต้องเสียภาษีใหม่ ศาลล่างพิพากษาต้องกันปรับพันบาทและริบทรัพย์+หมื่นบาทเศษนั้น ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ +ที่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม
อ้างฎีกาที่ 118/2482
+ที่เคยเสียภาษีแล้วเมื่อนำ+ไปจากประเทศแล้วนำ เข้ามาอีกก็ต้องเสียภาษีใหม่ ศาลล่างพิพากษาต้องกันปรับพันบาทและริบทรัพย์+หมื่นบาทเศษนั้น ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ +ที่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบประเด็นการนำเข้าสินค้าข้ามแดนและการเสียภาษี ศาลรับฟังพยานที่จำเลยนำสืบได้
+ที่นำสืบว่าจำเลยนำ+เข้ามาในพระราชอาณาจักรจริงหรือไม่+หน้าที่โจทก์นำสืบมาก่อน+ประเด็นที่ว่าของนั้นได้เสียภาษีหรือได้นำเข้ามา+ชอบหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่จำเลยนำสืบก่อน
ศาลชั้นต้นกะประเด็นหน้าที่นำสืบ+คู่ความไม่คัดค้านในชั้น+และได้นำสืบกันมาแล้วศาลรับฟังได้โดยไม่ต้องให้+สืบกันใหม่
+ของเข้ามาในพระราชอาณาจักร์โดยไม่เสียภาษี+จำหน่ายไปหมดแล้ว ศาล+คำสั่งริบได้ และให้จัการตามกฎหมายอาญา ม.18,29
ศาลชั้นต้นกะประเด็นหน้าที่นำสืบ+คู่ความไม่คัดค้านในชั้น+และได้นำสืบกันมาแล้วศาลรับฟังได้โดยไม่ต้องให้+สืบกันใหม่
+ของเข้ามาในพระราชอาณาจักร์โดยไม่เสียภาษี+จำหน่ายไปหมดแล้ว ศาล+คำสั่งริบได้ และให้จัการตามกฎหมายอาญา ม.18,29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรจากการนำเข้าสินค้าและบริการ การตีความมูลค่าศุลกากรที่แท้จริง
พนักงานสอบสวนมีการแจ้งสิทธิและแจ้งข้อหาแก่ ซ. ขณะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานในประเทศไทยของจำเลย โดย ซ. ให้การปฏิเสธ แม้ ซ. มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยอันจะถือว่าเป็นผู้แทนนิติบุคคล แต่หนังสือรับรองข้อความที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อันเป็นหนังสือรับรองว่าบริษัทจำเลยได้รับใบอนุญาตทำธุรกิจบริการก่อสร้าง ติดตั้งและทดสอบ โครงการก่อสร้าง โรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 ให้แก่บริษัท ป. โดยมี ซ. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานในประเทศไทย ซ. ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้จัดการสำนักงานสาขาของจำเลยในประเทศไทย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนได้ แม้จำเลยจะมิได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ซ. มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลยด้วยก็ตาม เพราะ ซ. อยู่ในฐานะผู้จัดการตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 7 วรรคหนึ่ง แล้ว กระบวนการสอบสวนจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย บรรดากรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 16 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คุณสมบัติประการหนึ่งของคนต่างด้าวตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (2) คือ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ฮ. พำนักอยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี และข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ออกนอกราชอาณาจักรไทยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 ส่วนที่ ฮ. ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับการติดต่อและประกอบธุรกิจและการทำงานในราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ นั้น ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นการตรวจลงตราที่กระทำโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในสาธารณรัฐเกาหลี ฮ. มิได้เดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความเป็นจริงแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อ ฮ. มิใช่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยและมิใช่บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซ. จึงยังเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยในประเทศไทยในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลจำเลยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านอธิบายฟ้อง สอบคำให้การ และสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้า ซ. จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 165 และมาตรา 172 แล้ว
แม้เอกสารการนำเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการตรวจยึดในการค้นในเรื่องที่จำเลยถูกกล่าวหาว่านำเข้าสารเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต และพยานโจทก์ยอมรับว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในข้อหานำเข้าสารเคมีอันเป็นวัตถุอันตราย แต่เอกสารที่ยึดมาชุดเดียวกันนั้นเป็นเอกสารที่นำไปสู่การสอบสวนและดำเนินคดีนี้ อันเกิดจากการตรวจค้นและยึดโดยชอบตามคำสั่งศาล ทั้งเอกสารดังกล่าวสามารถตรวจสอบความมีอยู่และความถูกต้องได้จากหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่งอยู่แล้ว แม้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนจนนำไปสู่การออกหมายค้นจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่หากตรวจพบข้อเท็จจริงในภายหลังจากเอกสารที่ยึดนั้นเองว่าอาจมีการหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากร พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีต่อไปได้ หาใช่พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบแต่อย่างใดไม่ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (6) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เมื่อนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดสิบปี ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว
จำเลยทำสัญญารับจ้างก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 ให้แก่บริษัท ป. โดยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง 480 เที่ยวเรือโดยมีเจตนาที่จะนำมาเพื่อผลิตหรือประกอบเป็นเครื่องจักรแยกก๊าซธรรมชาติในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 โดยมีค่างานวิศวกรรมและการออกแบบโรงแยกก๊าซธรรมชาติชุดเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นที่ขาดไม่ได้สำหรับใช้เป็นแนวทางในการผลิตหรือประกอบเครื่องจักรแยกก๊าซในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามเจตนาที่แท้จริงของการนำเข้าวัสดุปกรณ์ และไม่ได้มีมูลค่าเพียงต้นทุนราคากระดาษในการออกแบบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำค่างานด้านวิศวกรรมและการออกแบบที่บริษัท ป. ชำระแก่จำเลยและเป็นคนละจำนวนกับที่ชำระให้แก่ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ที่นำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ มารวมไว้ในราคาการนำเข้าเที่ยวแรกโดยให้สำแดงรายการแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศกรมศุลกากรที่ 39/2543 เมื่อจำเลยมิได้นำมูลค่าค่าบริการดังกล่าวมารวมเข้ากับราคาการนำเข้าเที่ยวแรกและสำแดงแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าด้วยย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศศุลกากรที่ 39/2543 จำเลยจึงมีความผิดฐานนำของเข้าโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร
การดำเนินคดีนี้ไม่ได้เกิดจากมีบุคคลผู้มิใช่เจ้าพนักงาน ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิดโดยตรง แต่เกิดสืบเนื่องจากการสอบสวนขยายผลของพนักงานเจ้าหน้าที่เอง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับศาลก็ไม่อาจสั่งจ่ายสินบนนำจับตามคำขอท้ายฟ้องได้
กรณีนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย บรรดากรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 16 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 คุณสมบัติประการหนึ่งของคนต่างด้าวตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง (2) คือ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ฮ. พำนักอยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี และข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฮ. ออกนอกราชอาณาจักรไทยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 ส่วนที่ ฮ. ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับการติดต่อและประกอบธุรกิจและการทำงานในราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ นั้น ข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นการตรวจลงตราที่กระทำโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในสาธารณรัฐเกาหลี ฮ. มิได้เดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความเป็นจริงแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อ ฮ. มิใช่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยและมิใช่บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซ. จึงยังเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยในประเทศไทยในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลจำเลยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านอธิบายฟ้อง สอบคำให้การ และสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้า ซ. จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 165 และมาตรา 172 แล้ว
แม้เอกสารการนำเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการตรวจยึดในการค้นในเรื่องที่จำเลยถูกกล่าวหาว่านำเข้าสารเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต และพยานโจทก์ยอมรับว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในข้อหานำเข้าสารเคมีอันเป็นวัตถุอันตราย แต่เอกสารที่ยึดมาชุดเดียวกันนั้นเป็นเอกสารที่นำไปสู่การสอบสวนและดำเนินคดีนี้ อันเกิดจากการตรวจค้นและยึดโดยชอบตามคำสั่งศาล ทั้งเอกสารดังกล่าวสามารถตรวจสอบความมีอยู่และความถูกต้องได้จากหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่งอยู่แล้ว แม้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนจนนำไปสู่การออกหมายค้นจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่หากตรวจพบข้อเท็จจริงในภายหลังจากเอกสารที่ยึดนั้นเองว่าอาจมีการหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากร พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีต่อไปได้ หาใช่พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบแต่อย่างใดไม่ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (6) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เมื่อนับถึงวันฟ้องพ้นกำหนดสิบปี ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว
จำเลยทำสัญญารับจ้างก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 ให้แก่บริษัท ป. โดยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง 480 เที่ยวเรือโดยมีเจตนาที่จะนำมาเพื่อผลิตหรือประกอบเป็นเครื่องจักรแยกก๊าซธรรมชาติในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 โดยมีค่างานวิศวกรรมและการออกแบบโรงแยกก๊าซธรรมชาติชุดเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นลำดับต้นที่ขาดไม่ได้สำหรับใช้เป็นแนวทางในการผลิตหรือประกอบเครื่องจักรแยกก๊าซในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามเจตนาที่แท้จริงของการนำเข้าวัสดุปกรณ์ และไม่ได้มีมูลค่าเพียงต้นทุนราคากระดาษในการออกแบบ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำค่างานด้านวิศวกรรมและการออกแบบที่บริษัท ป. ชำระแก่จำเลยและเป็นคนละจำนวนกับที่ชำระให้แก่ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ที่นำเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ มารวมไว้ในราคาการนำเข้าเที่ยวแรกโดยให้สำแดงรายการแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าตามความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศกรมศุลกากรที่ 39/2543 เมื่อจำเลยมิได้นำมูลค่าค่าบริการดังกล่าวมารวมเข้ากับราคาการนำเข้าเที่ยวแรกและสำแดงแยกไว้ต่างหากจากราคาของนำเข้าด้วยย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ข้อ 11 (4) และประกาศศุลกากรที่ 39/2543 จำเลยจึงมีความผิดฐานนำของเข้าโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร
การดำเนินคดีนี้ไม่ได้เกิดจากมีบุคคลผู้มิใช่เจ้าพนักงาน ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิดโดยตรง แต่เกิดสืบเนื่องจากการสอบสวนขยายผลของพนักงานเจ้าหน้าที่เอง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายสินบนแก่ผู้นำจับศาลก็ไม่อาจสั่งจ่ายสินบนนำจับตามคำขอท้ายฟ้องได้