คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมโมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะจากเจตนาลวงร่วมกัน และสิทธิในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ซื้อเดิม
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยแต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียย่อมยกข้อความเสียเปล่าได้
เมื่อศาลพิพากษาให้บุคคลใดตกเป็นบุคคลล้มละลายแล้วตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24ถ้าฝ่าฝืนนิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 เดิม (มาตรา 172 ใหม่) หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ หากนิติกรรมที่กล่าวอ้างว่าเป็นโมฆะเป็นผลหรือไม่เป็นหรือกลับกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าบิดาโจทก์ทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส.ผู้ล้มละลาย ต่อมาบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลยให้การต่อสู้ว่าบิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.ขณะที่ส. เป็นบุคคลล้มละลาย นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้จำเลยจึงเป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์จากที่นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างส. กับบิดาโจทก์ทั้งสี่เป็นโมฆะจำเลยจึงชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะจากความสำคัญผิดและอาศัยความอ่อนวานของผู้สูงอายุ ศาลบังคับให้เพิกถอนรายการจดทะเบียน
นิติกรรมที่ตก เป็นโมฆะย่อมถือเสมือนว่าไม่มีการทำนิติกรรมกรณีไม่จำต้องมีการเพิกถอนนิติกรรมนั้นอีก การที่ศาลล่างพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ มีความหมายเป็นเพียงการบังคับให้มีการเพิกถอนรายการจดทะเบียนต่าง ๆ อันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะจากความสำคัญผิด การเพิกถอนรายการจดทะเบียน
จำเลยพาโจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้จัดการมรดกบิดาไปสำนักงานที่ดินแล้วจัดการให้โจทก์ทำนิติกรรมรับโอนที่ดินและบ้านมรดก แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย โดยอาศัยความไม่รู้หนังสือและระเบียบการของทางราชการ และความสุงอายุของโจทก์โจทก์มิได้มีเจตนากระทำเช่นนั้น นิติกรรมดังกล่าวจึงเกิดจากความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119
นิติกรรมที่เป็นโมฆะถือเสมือนไม่มีการทำนิติกรรม ไม่จำต้องเพิกถอนศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รายพิพาทจึงมีความหมายเพียงบังคับให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนอันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่จะรู้ได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ท่านว่าเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้วผู้ใดอ้างว่า ไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษโดยแน่ชัดว่า ตนไม่รู้ และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นนั้น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยทำ หนังสือสัญญาขายฝากกันเองโดยมิได้จดทะเบียนการขายฝาก ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์เพิ่งทราบจากทนายความว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ จึงฟ้องเรียกเงินค่าซื้อฝากคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ จำเลยให้การต่อสู้คดีหลายประการและว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้ปัญหาจึงมีว่าฝ่ายโจทก์ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินนั้นแต่เมื่อใด ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีหน้าที่จะต้องสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และ ไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่การที่ศาลชั้นต้น สั่งงดสืบพยานคู่ความและฟังว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาลวง นิติกรรมโมฆะ สิทธิในทรัพย์สินระหว่างสมรส การจัดการทรัพย์มรดก
การแสดงเจตนาลวงที่จะเป็นเหตุทำให้เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 นั้น ต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่จะไม่ให้ผูกพันกัน การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยแจ้งเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าสามีจำเลยที่ 1 ตาย จำเลยที่ 1 ยังไม่มีสามีใหม่นั้น เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมยกที่ดินให้กันจริง ไม่ปรากฏว่าได้แสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เคยทวงถามเงินกู้จากผู้กู้หลังจากเจ้ามรดกตาย โดยยอมลดจำนวนเงินกู้ให้ หรือให้ผู้กู้เปลี่ยนเป็นกู้จำเลยที่ 1 แทนแต่ผู้กู้ไม่ยอม และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ส่งมอบสัญญากู้เงินดังกล่าวให้ จำเลยที่ 1 บิดพลิ้วโดยขอหักเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกรูปเรื่องน่าจะเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะทำได้ และเป็นการใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ ไม่พอฟังว่าปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีแพ่ง: เหตุผลความผิดพลาดในการส่งหมายเรียกและนิติกรรมเป็นโมฆะ
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยสรุปใจความได้ว่า จำเลยไม่เคยร่วมออกเงินปลูกสร้างตึกลงในที่ดินที่เช่า ความจริงจำเลยว่าจ้างโจทก์สร้างบ้านให้จำเลยและจำเลยไม่เคยตกลงให้โจทก์เช่าบ้านสัญญาเช่าท้ายฟ้องเกิดจากจำเลยถูกโจทก์ใช้อุบายหลอกลวงว่าโจทก์จะนำไปใช้แสดงต่อบุคคลภายนอกเพื่อให้เชื่อถือ โดยจำเลยมิได้รับเงิน 10,000 บาทตามสัญญา สัญญาเกิดจากการแสดงเจตนาลวง เป็นโมฆะ ถ้าจำเลยได้เข้ามาต่อสู้คดีก็มีทางชนะคดีได้ ข้อความดังกล่าวจึงเป็นข้อที่คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นโดยยกเหตุผลขึ้นประกอบโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งถ้าจำเลยนำสืบฟังได้เช่นนั้น จำเลยย่อมชนะคดีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้และอยู่ในฐานะที่จะรู้
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มา โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษ โดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นกัน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้สิทธิและพยานหลักฐาน
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษโดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นนั้น
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ แม้ได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรม สิทธิติดตามทรัพย์สินตามกฎหมาย
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่ ก. กับพวก ไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส. และ ก.กับพวก เป็นคดีแรก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก.กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส.กับ ก.และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสีย ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส.กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรก การที่ ก. กับพวก โอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก็ดีหรือจำเลยที่ 1 ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดีเป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
of 5