คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิยาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ปศุสัตว์' ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์: สุกรเข้าข่ายหรือไม่
คำว่า "ปศุสัตว์"' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(2)ย่อมหมายถึงสัตว์สี่เท้าที่เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร จำเลยใช้มีดฟันขาสุกรผู้เสียหายเป็นแผลเกือบขาด ย่อมมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เป็นปศุสัตว์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99-101/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 และการนิยามค่าจ้าง รวมถึงค่าล่วงเวลา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างนั้น คำว่า'ค่าจ้าง' มิได้มีบทนิยามไว้ จึงต้องเข้าใจตามความหมายสามัญคือหมายถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ หรือนัยหนึ่งหมายถึงสินจ้างที่ให้ตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง''ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างและหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกันไปตามเวลาหรือวันที่ลูกจ้างทำงานให้ คำว่า 'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'เป็นค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลาปกติ หรือทำงานในวันหยุดในอัตราพิเศษ อันมีลักษณะและหลักเกณฑ์ในการจ่ายต่างกับคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทยส่วนที่บทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง'ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม'ค่าล่วงเวลา'และ 'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า 'ค่าล่วงเวลา' และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไปจึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนิยามคำว่า 'ยา' ตาม พ.ร.บ.ขายยา พิจารณาจากความมุ่งหมายในการใช้ ไม่ใช่ผลลัพธ์การรักษา
คำว่า 'ยา' ตามพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493มาตรา4 นั้น หาได้อยู่ที่ว่าวัตถุนั้นจะบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคได้จริงหรือไม่ แต่อยู่ที่ความมุ่งหมายในการใช้ฉะนั้น กำไลแหวน และสร้อย ซึ่งมุ่งหมายจะใช้เพื่อบำบัดรักษาและป้องกันโรคจึงเป็นยาตามความหมายแห่งกฎหมายดังกล่าวและเมื่อผู้ใดโฆษณาหรือขายวัตถุเหล่านี้โดยมิได้รับอนุญาตก็ย่อมมีความผิด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่42/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ฝิ่น' ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น: แม้มีสิ่งเจือปนก็ถือเป็นฝิ่นได้
ตาม พ.ร.บ. ฝิ่น พ.ศ.2472 คำว่า "ฝิ่น" หมายความว่า (1) ฝิ่นดิบซึ่งจะเป็นฝิ่นบริสุทธิก็ดี หรือมีสิ่งอื่นผสมอยู่ด้วยเป็น รูปหรือของปรุงใด ๆ ก็ดี (2) ฝิ่นสุก แม้จะไม่มีคำวิเคราะห์ศัพท์ไว้ ก็เมื่อฝิ่นดิบมีสิ่งอื่น ๆ เจือปนคือเสมือนว่าสิ่งที่เจือ ปนเป็นฝิ่นแล้ว เมื่อทำให้ฝิ่นสุก สิ่งเจือปนก็ย่อมถือเสมือนว่าเป็นฝิ่นด้วย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'สัตว์พาหนะ' ใน ก.ม.ลักษณะอาญา และ พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482: การลักกระบือ
พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 หาได้มีความประสงค์จะลบล้างคำวิเคราะห์ศัพท์ คำว่า " สัตว์พาหนะ " ใน ก.ม.ลักษณะอาญาแต่อย่างใดไม่
จำเลยลักกระบือของผู้เสียหายไป 3 ตัวแม้ปรากฎว่ามีตัวเดียวที่ทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณแล้ว ส่วนอีก 2 ตัวยังใช้งานหรือลากเข็นอย่างใดไม่ได้ ทั้งยังมีอายุไม่ถึงกำหนดที่จะต้องทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณก็ดี ก็ยังถือได้ว่าจำเลยลักสัตว์พาหนะ 3 ตัว เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตาา 296 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'เคหะ' ใน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: สิ่งปลูกสร้างใช้ประกอบธุรกิจ ไม่ถือเป็นเคหะ แม้มีส่วนที่อยู่อาศัย
'เคหะ' ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489มาตรา 5 นั้น มีความหมายในเบื้องต้นว่า ต้องเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ถึงประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วย ก็ยังนับว่าเป็น'เคหะ' แต่ถ้าสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'เคหะ' แล้ว แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ก็ไม่กลับกลายเป็นเคหะขึ้นมาได้
โจทก์เช่าโรงเลื่อยเพื่อเลื่อยไม้จำหน่าย นับว่าเช่าสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมโดยตรง ไม่ต้องด้วยลักษณะของคำว่า'เคหะ' ตามความในพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำนิยาม 'ทหาร' และผลกระทบต่อความผิดทางอาญา: ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
ราษฎรทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลาที่ใช้พระราชบัญญัติที่บัญญัติวิเคราะห์ศัพท์ให้ราษฎรในเขตกฎอัยการศึกเป็นทหาร ต่อมามีพระราชบัญญัติวิเคราะห์ศัพท์ใหม่ ให้ทหารหมายความเฉพาะผู้อยู่ในอำนาจกฎหมายฝ่ายทหาร ดังนี้ถือว่า กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องยกฟ้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8
เดิมมีคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บลวดหนาม ต่อมามีประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ให้ยกเลิกคำสั่งนั้นดังนี้ไม่ถือว่าเป็นการยกเลิกความผิด หรือมีกฎหมายต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10284/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อกระทำชำเรา การนิยามความหมายของการ “พราก” และการรบกวนอำนาจปกครอง
คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลยังเอาใจใส่ เด็กย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนี้ การพรากเด็กไม่ว่าผู้พรากเด็กจะเป็นฝ่ายชักชวนโดยมีเจตนามุ่งหมายที่จะกระทำชำเราเด็กเพียงอย่างเดียวก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 อยู่บ้าน จำเลยโทรศัพท์ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ให้ไปหาที่บ้านจำเลย แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปที่ห้องนอนของจำเลย และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ดังนี้ อำนาจปกครองผู้เสียหายที่ 1 จึงยังคงอยู่ที่ผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอมจากผู้เสียหายที่ 2 ย่อมทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่รู้เห็นยินยอมด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: โครงสร้างชั่วคราวที่บุคคลใช้สอยได้ถือเป็นอาคาร
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 คำว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม้ชั่วคราว โดยต่อเติมพื้นไม้และหลังคาสังกะสีมีขนาด 2.50 เมตร x 20 เมตร ออกไปทางด้านหลังของร้านอาหารซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ แม้ไม่มีลักษณะของโครงสร้างติดตรึงตราถาวรก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยามความผิดฐานกระทำชำเราตามกฎหมายใหม่ และความผิดฐานกระทำอนาจารเด็ก แม้ไม่มีการล่วงล้ำทางเพศโดยตรง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ความใหม่แทน และมาตรา 3 ให้เพิ่มความในมาตรา 1 แห่ง ป.อ. "(18) "กระทำชำเรา" หมายความว่า กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น" กรณีเป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานกระทำชำเราว่า จะต้องเป็นการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้ถูกกระทำจึงจะเข้าเกณฑ์เป็นความผิด
จำเลยใช้มือจับอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมที่ 1 สอดใส่เข้าไปในช่องทวารหนักของจำเลย และใช้ปากของจำเลยอมอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมที่ 1 โดยไม่ได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของโจทก์ร่วมที่ 1 การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 227 วรรคสาม อีกต่อไป และแม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวจะไม่ได้เข้าไปในอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมที่ 1 แต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศอันเป็นการล่วงเกินโจทก์ร่วมที่ 1 แล้ว จึงเป็นการล่วงล้ำอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมที่ 1 เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยการล่วงล้ำตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่)
of 3