คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
น้ำมัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ กรณีเจ้าหน้าที่จ่ายน้ำมันเกินจำนวน
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัทค้าน้ำมัน มีหน้าที่เพียงจ่ายหรือเติมน้ำมันให้แก่ผู้ที่นำใบสั่งจ่ายมายื่นเท่านั้นน้ำมันเก็บรักษาไว้ในคลังน้ำมันซึ่งมีผู้อื่นเป็นผู้จัดการ ดังนี้ ไม่ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองน้ำมัน เมื่อจำเลยจ่ายน้ำมันเกินกว่าจำนวนตามใบสั่ง แล้วเอาน้ำมันที่จ่ายเกินนั้นไปโดยทุจริต ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ vs. ยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างสั่งซื้อน้ำมันแล้วนำไปขายเอง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างของโรงแรมโจทก์ร่วมทำหน้าที่เป็นช่างไฟฟ้าควบคุมเครื่องยนต์นำสตีมสำหรับทำน้ำร้อน และเครื่องซักผ้า และได้รับมอบหมายให้สั่งซื้อน้ำมันดีเซลมาใช้กับเครื่องยนต์ครั้งละ 6,000 ลิตร โดยบริษัทผู้ขายน้ำมันจะบรรทุกน้ำมันมาถ่ายลงถังที่โรงแรมโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 เป็นผู้เซ็นรับในใบสั่งน้ำมัน คราวเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคนขับรถส่งน้ำมันของบริษัทผู้ขายได้บรรทุกน้ำมันมาส่งให้โรงแรมโจทก์ร่วมตามที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อ จำเลยที่ 1 เป็นผู้เซ็นรับน้ำมัน และโจทก์ร่วมก็ได้จ่ายค่าน้ำมันไปแล้ว จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันเอาน้ำมันดังกล่าวไปขายเสียไม่ได้ถ่ายน้ำมันลงเก็บในถังไว้ใช้กับเครื่องยนต์ ดังนี้ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกน้ำมันราชการ: การเบียดบังทรัพย์สินของรัฐโดยทุจริต
จำเลยเป็นพลทหารเรือประจำการ มีหน้าที่เป็นพลขับรถยนต์ของราชการทหารเรือ จึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการใช้และรักษาน้ำมันรถที่จำเลยทำหน้าที่ขับนั้นด้วย การที่จำเลยยอมให้บุคคลอื่นดูดเอาน้ำมันในรถไป แล้วรับเงินจากบุคคลนั้นเป็นค่าตอบแทนเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว ย่อมเป็นการเบียดบังน้ำมันของทางราชการไปโดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังน้ำมันของราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยเป็นพลทหารเรือประจำการมีหน้าที่เป็นพลขับรถยนต์ของราชการทหารเรือ จึงเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการใช้และรักษาน้ำมันรถที่จำเลยทำหน้าที่ขับนั้นด้วย การที่จำเลยยอมให้บุคคลอื่นดูดเอาน้ำมันในรถไปแล้วรับเงินจากบุคคลนั้นเป็นค่าตอบแทนเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัวย่อมเป็นการเบียดบังน้ำมันของทางราชการไปโดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ของทางราชการ: ผู้คุมตรีเบียดบังน้ำมันรถ
จำเลยเป็นผู้คุมตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลนักโทษ และยังมีหน้าที่ขับรถยนต์ของเรือนจำด้วย พัศดีเรือนจำให้จำเลยเอารถยนต์ของเรือนจำไปบรรทุกแกลบ จำเลยก็ขับไป เมื่อจำเลยมีหน้าที่ขับรถยนต์ก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันรถยนต์ด้วย การที่จำเลยเบียดบังเอาน้ำมันในรถยนต์จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในน้ำมันที่ได้มาโดยสุจริต ผู้ซื้อมีสิทธิเหนือกว่าเจ้าของเดิมที่ถูกลักทรัพย์
น้ำมันและถังรายพิพาทเป็นของราชการทหาร ถูกคนร้ายลักไปโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตในท้องตลาด แล้วต่อมาจำเลยได้ซื้อและยืมถังไปจากโจทก์และโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเหนือน้ำมันที่ตนซื้อจากโจทก์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แม้เจ้าของอันแท้จริงก็จะมาเรียกน้ำมันคืนไปจากจำเลยไม่ได้ เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา จำเลยต้องชำระราคาน้ำมันและถังให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เรื่องรอนสิทธิ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฝ่าฝืนประกาศควบคุมราคาน้ำมัน แม้ขายไม่ถึงปริมาณที่กำหนด
ประกาศของคณะกรรมการฯ กำหนดไม่ให้ขายน้ำมันเบ็นซินเกินกว่าถังละ 32 บาท(ถังหนึ่งมี 20 ลิตร) แม้จำเลยขายน้ำมันเบ็นซินไม่ถึง 20 ลิตรก็ตาม แต่จำเลยขายไปเป็นปีบมีจำนวนน้ำมัน 19 ลิตรและขายไปในราคา 34 บาทดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการฯลฯ จึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร 2490 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12163/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายน้ำมันราคาคงที่ ความรับผิดในสัญญา และการคำนวณค่าเสียหายจากส่วนต่างราคา
โจทก์กับจำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายราคาคงที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมน้ำมันเตาจำนวน 6,030,000 ลิตร ภายในช่วงเวลาที่กำหนด วันเดียวกัน โจทก์ทำสัญญาสั่งซื้อน้ำมันชนิดดังกล่าวจากบริษัท ช. เพื่อสำรองส่งมอบให้จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โดยทำเป็นสัญญาซื้อขายเพื่อความแตกต่างซึ่งเป็นประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน หลังจากจำเลยทำสัญญากับโจทก์แล้ว จำเลยซื้อน้ำมันจากโจทก์ไม่ครบจำนวนตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามสัญญาซื้อขายราคาคงที่ฯ ข้อ 4.1 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่อาจสั่งซื้อสินค้าได้ครบตาม ข้อ 1.4 ของสัญญานี้...ผู้ขายมีสิทธิเลือกที่จะปรับผู้ซื้อตามข้อ 4.3 และสัญญาดังกล่าว ข้อ 4.3 ระบุว่า ค่าเสียหายจะเท่ากับค่าปรับดังต่อไปนี้ของจำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อยังซื้อไม่ครบ (แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า) 4.3.1 ร้อยละ 10 (สิบ) ของจำนวนราคาสินค้าที่ผู้ซื้อยังซื้อไม่ครบตามสัญญาข้อ 1.4 ของสัญญานี้ 4.3.2 หรือเท่ากับมูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสินค้าตามสัญญากับราคาเฉลี่ยของสินค้าของผู้ค้ารายอื่น ๆ ภายในประเทศที่ต่ำกว่าในประเภทสินค้าเดียวกันอย่างน้อย 2 ราย และเอกสารแนบท้าย ก. ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีที่ไม่สามารถรับสินค้าปริมาณการสั่งซื้อนั้นไว้ได้...ผู้ซื้อจะถูกปรับ (และอาจถูกปรับสูงขึ้น) โดยจะต้องชำระราคาเพิ่มอีก 10% จากราคาตามข้อ 5 หรือชำระมูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสินค้าที่ตกลงกันตามข้อ 5 กับราคาตลาด (เฉพาะกรณีที่ราคานั้นต่ำกว่าราคาตามข้อ 5) ของผู้ค้าน้ำมันหลักรายอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ราย คูณจำนวนที่ยังสั่งซื้อไม่ครบ เมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้า (Invoice) หรือใบแจ้งหนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าค่าเสียหาย คือ ส่วนต่างระหว่างราคาคงที่ตามสัญญากับราคาน้ำมันในตลาดขณะนั้นซึ่งต่ำกว่า เมื่อโจทก์จ่ายค่าเสียหายนี้ให้แก่บริษัท ช. ตามสัญญาเพื่อความแตกต่างที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขายราคาคงที่ฯ ข้อ 4.3.2 แม้โจทก์จะไม่ได้คิดคำนวณค่าเสียหายจากมูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสินค้าตามสัญญากับราคาเฉลี่ยของสินค้าของผู้ค้ารายอื่น ๆ ภายในประเทศที่ต่ำกว่าในประเภทสินค้าเดียวกันอย่างน้อย 2 ราย ตามข้อสัญญา ก็ตาม แต่การคิดค่าเสียหายตามที่โจทก์เรียกร้องไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพราะค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ช. เป็นผู้ค้ารายใหญ่ ต้นทุนการดำเนินการย่อมต่ำกว่าผู้ค้ารายย่อยอื่น ๆ ในประเทศอยู่แล้ว โจทก์นำสืบค่าเสียหายว่าต้องจ่ายเงินที่เป็นส่วนต่างของราคาน้ำมันให้แก่บริษัท ช. เป็นเงิน 42,587,757 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และเนื่องจากเป็นหนี้เงิน จึงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11692/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า: การกำหนดค่าปรับที่เหมาะสมและความเสียหายที่แท้จริง
หนังสือรับรองข้อความที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ออกโดยนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ถือเป็นเอกสารมหาชน ดังนั้น สำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวที่ทนายโจทก์รับรองความถูกต้อง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้และถูกต้อง เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่าหนังสือรับรองข้อความมีข้อความไม่ถูกต้องอย่างไร ย่อมต้องฟังว่าเป็นหนังสือรับรองที่แท้จริงและถูกต้อง ข้อความในหนังสือที่รับรองว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียน ณ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือย่อมรับฟังได้
โจทก์อ้างสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านการนำเอกสารมาสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานโดยไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ เมื่อศาลมิได้รับฟังต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานหลักฐาน ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ปิดอากรแสตมป์แล้วไม่ได้ขีดฆ่าหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานเปลี่ยนแปลงไป
แม้เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่เอกสารท้ายฟ้องส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นการรับรองการมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในต่างประเทศโดยโนตารีปับลิกแห่งกรุงลอนดอน ซึ่งคำฟ้องโจทก์บรรยายเป็นภาษาไทยไว้ชัดเจนว่า โจทก์ได้แต่งตั้งและมอบอำนาจให้ ว. กระทำการแทนโจทก์รวมทั้งมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่าการมอบอำนาจไม่ว่าการมอบอำนาจภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร มิได้กระทำโดยผู้มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจปลอมและตราประทับไม่ใช่ตราประทับที่แท้จริง การที่ไม่มีคำแปลหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นภาษาไทย ก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญากันว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์ตามราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา และโจทก์ก็ตกลงจะขายให้จำเลยที่ 1 ในราคาดังกล่าว เมื่อถึงช่วงเวลาตามสัญญาคู่สัญญาก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงต่อกัน ฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการพนันขันต่อ จึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
ค่าปรับคือ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า กำหนดให้ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าปรับที่กำหนดไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการที่ศาลจะกำหนดให้ฝ่ายที่ผิดสัญญารับผิดชำระค่าปรับเพียงใด ศาลจะต้องคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริงที่เกิดขึ้นแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่เฉพาะแต่ความเสียหายในเชิงทรัพย์สิน
โจทก์เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ มีการสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศหรือในประเทศมาจำหน่ายให้แก่ลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยจำนวนมากเป็นธรรมดาที่โจทก์ต้องมีการเจรจาตกลงสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้าจากผู้ผลิตน้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งโจทก์ต้องยอมรับความเสี่ยงเรื่องการขึ้นลงของน้ำมันในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศซึ่งเคลื่อนไหวตลอดเวลา การแนะนำลูกค้าให้ทำสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าจากโจทก์ ถือเป็นการแบ่งเบาภาระและความเสี่ยงอันเกิดจากราคาน้ำมันของโจทก์ไปให้แก่ลูกค้าของโจทก์นั่นเอง สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่เข้าลักษณะของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักลอบขนส่งน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาต, การกระทำเป็นขบวนการ, การริบของกลาง, และการจ่ายเงินรางวัลเจ้าหน้าที่
คดีนี้ไม่มีการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำความผิดร้อยละยี่สิบของราคาของกลางหรือค่าปรับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง นั้น ยังไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขเป็นว่า ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7, 8 วรรคสอง
of 3