คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
น.ส.3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ที่ผิดแบบและห้ามโอน สิทธิครอบครองเกิดขึ้นได้หลังพ้นระยะห้าม
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายใน 10 ปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แม้โจทก์ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอนก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองต่อมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดห้ามโอนนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน น.ส.3 ที่มีมาก่อนเขตป่าสงวน การยึดถือแทนเจ้าของ และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงเจตนา
ที่ดินของโจทก์ออก น.ส.3 มาก่อนกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินของโจทก์ยังไม่ถูกเพิกถอน น.ส.3 โจทก์จึงยังคงมีสิทธิในที่ดินตามมาตรา 12 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ การที่จำเลยทั้งห้าทำนาในนาพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ต้องถือว่าจำเลยทั้งห้ายึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ จำเลยทั้งห้าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เท่านั้น เพียงแต่การไปขอให้ทางราชการออกหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินในนาพิพาทได้ชั่วคราว หรือ สทก.1 ยังไม่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินไม่ทำให้มีสิทธิขอเปลี่ยนชื่อใน น.ส.3 หากไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ
โจทก์มิได้มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้โจทก์จะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้จำเลยเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) นั้น ให้เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.) ในชื่อของโจทก์ได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอเช่นนั้น การที่จำเลยไม่รับดำเนินการให้ตามที่โจทก์ขอจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินและการรังวัดเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิยื่นคำขอหากชื่อไม่ปรากฏใน น.ส.3
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 179 โดย พ.ผู้มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ได้ขายและโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโจทก์ยื่นคำขอรังวัดเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3ก.) ในชื่อของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการให้โดยอ้างว่ามีชื่อพ.เป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน ดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เลขที่ 179 แม้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้จำเลยทั้งสองเปลี่ยนแปลงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) นั้น ให้เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3ก.) ในชื่อของโจทก์ให้แก่โจทก์ เพราะไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำขอเช่นนั้นได้ การที่จำเลยทั้งสองไม่รับดำเนินการให้ตามที่โจทก์ยื่นคำขอ จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดิน: น.ส.3 ไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์, สิทธิเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ไม่เกิดขึ้น
ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ซึ่งเป็นเพียงเอกสารแสดงสิทธิครอบครองเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เช่นโฉนดที่ดิน แม้ภายหลังได้มีการออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 ก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 มาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 คือเจ้าของที่แท้จริง
เมื่อคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องบรรยายไว้แล้วว่า ที่ปรากฏใน น.ส.3 ว่าที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ เพราะที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่ ผู้ร้องจึงตกลงให้ใส่ชื่อจำเลยไว้แทนผู้ร้อง ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมเป็นโมฆะกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 ถือว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ที่ดินจึงเป็นของจำเลยซึ่งมีชื่อใน น.ส.3 ศาลชอบที่จะพิจารณาคำร้อง ของผู้ร้องแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ ผู้รับจำนองไม่มีอำนาจยึด น.ส.3 ต้องส่งมอบให้ผู้ครอบครองที่แท้จริง
เมื่อการจำนองที่ดินพิพาทระหว่าง ล.เจ้าของเดิมผู้จำนองกับจำเลยที่ 1ผู้รับจำนองไม่มีผลตามกฎหมายเสียแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะยึด น.ส.3 สำหรับที่ดินพิพาทไว้ได้ ต้องส่งมอบแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินเดิมย่อมได้รับการคุ้มครอง แม้มีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง และการออก น.ส.3 โดยชอบ
จำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศสงวนที่ดินเป็นเขตนิคมสร้างตนเอง แม้จะมีการสงวนที่ดิน แต่กรมประชาสงเคราะห์ก็มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าจะไม่รบกวนสิทธิของราษฎรที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ทั้งตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511ก็มิได้มีบทบัญญัติที่จะเป็นการตัดสิทธิของราษฎรที่มีสิทธิในที่ดินอยู่ก่อนแล้ว ที่พิพาทจึงไม่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จำเลยมิได้สมัครเป็นสมาชิกของนิคมก็ไม่ทำให้จำเลยเสียสิทธิครอบครองอันทำให้ที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของรัฐ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย น.ส.3 ที่ขัดต่อข้อจำกัดการโอนตามกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไป นอกจากตกทอดทางมรดกตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 31 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยทางมรดก และทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวโดยได้รับเงินกับมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองแล้ว แม้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยประกาศรับมรดกเสร็จแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมต้องมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่แค่ น.ส.3
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จะนำมาใช้กับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า และมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หาได้ไม่ หากจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ร่วมผู้ซื้อ และได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้.
of 8