พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทบัญญัติศุลกากรที่ถูกต้อง และการแก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินบนรางวัล
การที่จำเลยที่ 2 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางจากผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยยังมิได้เสียค่าภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ อันเป็นความผิดสำเร็จในตัวอยู่แล้วต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 กับพวกนำเลื่อยยนต์ของกลางไปบุกรุกแผ้วถางป่าโดยมิได้รับอนุญาตย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง,74,74 ทวิ อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 66,768 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา 27 ทวิ เป็นการปรับเป็นเงิน 4 เท่า โดยรวมค่าอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเจ็ดเข้าไปด้วยซึ่งไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น หมายถึง ค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยแก้เป็นปรับ 63,128 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ริบสุราของกลางในคดีจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติให้ริบตามกฎหมาย
การที่จำเลยได้จำหน่ายขายสุราของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสุราพ.ศ.2493มาตรา17นั้นมาตรา45ไม่ได้บัญญัติให้ริบสุราในกรณีเช่นนี้ไว้ศาลไม่ริบสุราของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม...และในวรรคที่ 2 ที่บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา 1561 ถึงมาตรา 1584/1) มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความเพียงว่า ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุกมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1562 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ นั้น เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติ พ.ร.บ.การประมงยังใช้ได้แม้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการพิจารณาค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมาย
แม้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองของประเทศและได้ออกประกาศฉบับที่1ลงวันที่23กุมภาพันธ์2534มีผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521สิ้นผลลงก็ตามแต่ก็มิได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับใดยกเลิกพระราชบัญญัติ การประมงพ.ศ.2490มาตรา28ทวิ,64ทวิบทกฎหมายดังกล่าวจึงยังมีผลบังคับอยู่ คณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆเพียงแต่ได้ทำการรวบรวมและคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งทางรัฐบาลได้เสียไปอันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือซึ่งใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนกระทำการละเมิดและแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายพระราชบัญญัติการประมงพ.ศ.2490มาตรา28ทวิเท่านั้นมิได้กระทำการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมแต่อย่างใดซึ่งเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษตามมาตรา64ทวิแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของคณะกรรมการกำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆฯจึงชอบด้วยกฎหมายหาขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย1ปีและปรับ100,000บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้1ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาว่าคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆฯขัดต่อหลักกฎหมายและขาดข้อเท็จจริงสนับสนุนเพียงพอนั้นเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาจากสภาพแห่งข้อหาและบทบัญญัติที่ใช้บังคับ
การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น แม้โจทก์มิได้ยกปัญหาอายุความขึ้นเป็นประเด็นแห่งอุทธรณ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาอายุความไว้ แต่คำแก้อุทธรณ์มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองได้กล่าวแก้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดข้อโต้เถียงของคู่ความไว้เป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงกระทำได้โดยชอบ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองได้นำข้อความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาว่าร่วมกันหมิ่นประมาทซึ่งฟ้องในคดีอาญาล้วนเป็นความเท็จทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์ขึ้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง เท่านั้น หาได้เป็นสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์เป็นการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด โดยมิได้กล่าวในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดในทางอาญาต่อโจทก์ คดีจึงนับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ไม่ได้
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองได้นำข้อความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาว่าร่วมกันหมิ่นประมาทซึ่งฟ้องในคดีอาญาล้วนเป็นความเท็จทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์ขึ้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง เท่านั้น หาได้เป็นสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์เป็นการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด โดยมิได้กล่าวในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดในทางอาญาต่อโจทก์ คดีจึงนับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: ศาลไม่อาจริบได้หากลงโทษอาวุธปืนฯ แล้ว แม้มีบทบัญญัติอาญาที่ให้ริบได้
เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา8ทวิวรรคสอง,72ทวิวรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดและเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา371แล้วก็จะอาศัยประมวลกฎหมายอาญามาตรา371มาสั่งริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้โดยชอบเมื่อความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯที่ลงโทษจำเลยไม่ได้บัญญัติเรื่องริบทรัพย์ไว้ศาลก็ริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาล: ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับใช้ในคดีอาญา
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคแรก จึงจะนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมบังคับใช้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารเป็นความผิดตามมาตรา 42 มิใช่เป็นความผิดอยู่ในบทมาตราเดียวกัน สำหรับมาตรา 65 นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 21, 42 และมาตราอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม โดยระบุวันเวลาที่กระทำผิดแต่ละฐานต่างกันและลักษณะการกระทำผิดย่อมแยกออกต่างหากจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ว่า"ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ" เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ 500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 72แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับ จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ว่า"ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ" เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ 500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 72แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุบทบัญญัติความผิดและบทกำหนดโทษ
บรรยายฟ้องอ้างมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แม้ไม่ได้อ้างบางมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดฟ้องก็สมบูรณ์ครบตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร: ต้องไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ภาษีอากรครอบคลุม และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้