คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริษัทในเครือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้า แม้จะขายให้บริษัทในเครือ
บริษัทโจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และยังมีวัตถุประสงค์จัดหาที่ดินมาจำหน่ายแก่ประชาชนโดยตรงตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า มีกฎหมายบัญญัติบังคับห้ามมิให้โจทก์ซื้อหรือมีที่ดินหากซื้อที่ดินมากฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องขายไปในเวลาอันสมควร ดังนั้น เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดในราคา 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นเพียง 8 วัน โจทก์ขายไปในราคาถึง 7,000,000 บาท แสดงว่าการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของโจทก์ โจทก์ทราบดีว่าเป็นการซื้อเพื่อขายต่อ และการซื้อเพื่อขายต่อหากไม่ใช่เพื่อทางค้าหรือหากำไร โจทก์ก็คงจะไม่ลงทุนซื้อด้วยเงินจำนวนมากเช่นนี้ แม้โจทก์จะอ้างว่าจำเป็นต้องเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินที่โจทก์รับจำนองไว้จากลูกค้าเพื่อให้ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ราคาสูงคุ้มต้นเงินและดอกเบี้ยและโจทก์ขายให้กับบริษัทในเครือของโจทก์ก็ตาม โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการขายของโจทก์เป็นทางค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นรายรับตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การจ่ายค่าจ้างจากบริษัทแม่ต่างชาติ แม้ทำงานให้บริษัทในเครือไทย ไม่ถือเป็นลูกจ้างบริษัทไทย
โจทก์เป็นลูกจ้างบริษัท ย. ที่สหรัฐอเมริกาบริษัทดังกล่าวไม่มีสาขาหรือสำนักงานในประเทศไทยและเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทจำเลยเดิมบริษัท ย.ให้โจทก์ไปปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฟ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเช่นเดียวกับบริษัทจำเลยที่ประเทศฟิลิปปินส์ต่อมาบริษัทย. ได้ย้ายโจทก์จากประเทศฟิลิปปินส์มาทำงานให้แก่บริษัทจำเลยในประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างโดยตรงจากบริษัทย.ตลอดมา.แม้บริษัทย. จะเป็นผู้ถือหุ้น 100เปอร์เซ็นต์ของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันและแม้โจทก์จะทำงานให้แก่บริษัทจำเลยและมีเอกสารหลักฐานเช่นรายการเสียภาษีเงินได้คำรับรองของบริษัทจำเลยที่ยื่นต่อกรมแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ก็ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ที่เป็นลูกจ้างบริษัทย. เปลี่ยนแปลงไปได้โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างระหว่างบริษัทในเครือ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากบริษัทเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
เดิมโจทก์ทำงานกับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท ช. จำเลยต่อมาจำเลยรับโอนโจทก์มาทำงานกับจำเลยโดยโจทก์ยินยอม โจทก์ย่อมขาดจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. และเป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเด็ดขาดนับแต่บัดนั้น การที่จำเลยจะโอน โจทก์กลับไปยังบริษัท อ. อีกจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เพราะบริษัท อ. เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างข้ามบริษัทในเครือ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมโจทก์ทำงานกับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท ช. จำเลยต่อมาจำเลยรับโอนโจทก์มาทำงานกับจำเลยโดยโจทก์ยินยอมโจทก์ย่อมขาดจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. และ เป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเด็ดขาดนับแต่บัดนั้นการที่จำเลยจะโอน โจทก์กลับไปยังบริษัท อ. อีกจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เพราะบริษัท อ. เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือถือเป็นการเลิกจ้าง สิทธิค่าชดเชยและค่าหยุดพักผ่อน
เหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ไปทำงานที่บริษัทอื่นก็เนื่องมา จากจำเลยไม่พอใจผลงานของโจทก์ แม้บริษัทนั้นจะอยู่ในเครือเดียวกันกับจำเลยแต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันในการเข้าทำงานโจทก์ก็ต้องทำสัญญาเป็นการตกลงจ้างกันใหม่ การย้ายดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ต่อไปหรือให้โจทก์ออกจากงาน ถึงหากโจทก์จะสมัครใจทำงานใหม่ก็เป็นการสมัครใจหลังจากที่จำเลยไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ต่อไปแล้วและหาได้มีข้อความใดเป็นการตกลงให้นับระยะเวลาทำงานกับจำเลยต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานกับบริษัทใหม่ไม่ จึงมิใช่เป็นการสมัครใจย้ายที่ทำงานของโจทก์ หากเป็นผลจากการเลิกจ้างของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลย
เมื่อจำเลยจ่ายค่าพาหนะและค่าคอมมิชชั่นให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน มิใช่เป็นครั้งคราว หรือโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากโจทก์มิได้ไปติดต่อลูกค้านอกสถานที่ทำงานจะไม่ได้รับค่าพาหนะและค่าคอมมิชชั่น และจำเลยได้จ่ายเช่นนี้มาตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานจนเลิกจ้างจึงถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน อันเป็นค่าจ้างเพียงแต่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นเท่านั้น จึงต้องนำเงินนี้มารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
ข้อบังคับของจำเลยมีความว่า พนักงานที่ทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิพักผ่อนประจำปี โดยได้รับค่าจ้างเต็ม วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ ได้ใช้จะเก็บสะสมไว้ในปีต่อไปไม่ได้ ดังนี้พนักงานที่ทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี กับ 1 วัน ก็ย่อมมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ไม่จำต้องทำงานต่อไปจนครบอีก 1 ปี และการที่พนักงานมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นก็เป็นแต่เพียงจะนำไปเก็บสะสม ไว้ใช้ในปีต่อไปไม่ได้เท่านั้นเอง หาเสียสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2774/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของนิติกรรมข้ามบริษัทในเครือ: ตัวแทนจำหน่ายยาและการกระทำที่ผูกพันบริษัทในไทย
บริษัท พ. แห่งเมืองฮ่องกง กับบริษัทจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นบริษัทในกลุ่มหรือเครือเดียวกัน ค้ายาและผลิตภัณฑ์ยาชื่อ พ. อย่างเดียวกัน การทำนิติกรรมเพื่อที่จะให้มีผลผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยก็ต้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำหรือมอบหมายให้บริษัท พ. เป็นผู้กระทำแทน อ. ผู้จัดการภาคของบริษัท พ. และมีอำนาจควบคุมบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำนิติกรรมตั้งบริษัทโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่ผู้เดียวในประเทศไทยให้มีผลผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1ในประเทศไทยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัตถุดิบ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิได้นำไปจำหน่ายโดยตรง ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 จึงต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 การขายของชนิด 9 (ก) อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 85/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัสดุ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิใช่สินค้าสำเร็จรูป จึงเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 การขายของชนิด 9(ก)อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12849/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของอาคารต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของบริษัทรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้า ซ. จัดลานจอดรถเพื่อให้บริการแก่ร้านค้าที่มาเช่าพื้นที่และลูกค้าของร้านค้าเพื่อจอดรถยนต์ขณะเข้าไปใช้บริการยังร้านค้าที่เช่าพื้นที่ในอาคารศูนย์การค้าและมอบให้บริษัท น. เป็นผู้จัดการให้บริการด้านสาธารณูปโภคทั้งหมดรวมทั้งการรักษาความปลอดภัยภายในอาคารและนอกอาคารโดยมีการแบ่งผลประโยชน์จากการจัดเก็บรายได้จากร้านค้าที่เช่าพื้นที่และรับบริการ จำเลยที่ 2 กับบริษัท น. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้อาคารศูนย์การค้า ซ. ร่วมกัน โดยจำเลยที่ 2 จัดเก็บค่าเช่าพื้นที่อาคาร ส่วนบริษัท น. จัดเก็บค่าบริการด้านสาธารณูปโภค การที่บริษัท น. เข้าทำสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลรักษาความปลอดภัยที่อาคารศูนย์การค้าจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่อาคารศูนย์การค้า จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้าจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้าย่อมแสดงให้ผู้มาใช้บริการที่อาคารศูนย์การค้าเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ของบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบการค้าร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 เป็นตัวการด้วยกันในการทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 รักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้า เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย
of 4