คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกล้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายจากสติไม่สมบูรณ์และการฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากสติไม่สมบูรณ์และฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างโมฆียกรรมของทายาท: ต้องรอจนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อน
คำว่า "ทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 อันจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมซึ่งผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตได้กระทำลง จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายไปแล้วดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะ ผู้สืบสันดานของบุคคลเช่นว่านั้นจึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะได้ และไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมจากกลฉ้อฉล: สิทธิอยู่ที่ผู้ถูกกลฉ้อฉล และการบอกล้างทำได้โดยการให้การต่อสู้
มาตรา 137 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ.2519 มาตรา 4 สามีไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมที่ภรรยาเป็นผู้กระทำไว้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นของภรรยาผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต
กฎหมายมิได้กำหนดแบบการบอกล้างโมฆียะกรรมไว้ การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยทำเอกสารดังกล่าวเพราะถูกกลฉ้อฉลสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติธรรมจึงไม่ผูกพันจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลย ขอให้ยกฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมจากการถูกกลฉ้อฉล: สิทธิบอกล้างเป็นของผู้แสดงเจตนาวิปริต ไม่ใช่คู่สมรส
มาตรา 137 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2519 มาตรา 4 สามีไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมที่ภรรยาเป็นผู้กระทำไว้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นของภรรยาผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต กฎหมายมิได้กำหนดแบบการบอกล้างโมฆียะกรรมไว้ การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยทำเอกสารดังกล่าวเพราะถูกกลฉ้อฉลสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติธรรมจึงไม่ผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจนำเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลย ขอให้ยกฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมที่ทำภายใต้การข่มขู่เป็นโมฆียะ บอกล้างได้ภายใน 1 ปี
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะผู้สอบสวนของผู้อำนวยการป้องกันและปราบปรามของคณะปฏิวัติขู่ว่าจะขังจำเลยฐานเป็นภัยต่อสังคม ดังนี้เป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างภายใน 1 ปี ก็ตกเป็นโมฆะ บังคับจำเลยตามนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ สัญญาเป็นโมฆียะ หากบอกล้างภายใน 1 ปี
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาด สัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137,138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากสินสมรสหลังบอกล้างสัญญาค้ำประกัน: ต้องแยกสินส่วนตัวก่อนยึด
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นสามีได้บอกล้างสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาทำไว้กับโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สัญญาค้ำประกันนั้นในส่วนที่ผูกพันสินบริคณห์ตกเป็นโมฆะ แต่ยังสมบูรณ์อยู่เฉพาะในส่วนที่ผูกพันสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โจทก์จะต้องบังคับชำระเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ไม่มี หรือมีไม่พอ และโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้เอาจากส่วนของจำเลยที่ 2 ในสินบริคณห์ โจทก์ต้องร้องต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องเสียก่อน แล้วจึงนำยึดส่วนของจำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้ โจทก์จะนำยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 2ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของคู่สมรส แม้ยินยอมโดยปริยาย และความรับผิดของจำเลยที่รู้ถึงความสามารถบกพร่อง
การที่ บ. ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรือนราษฎร์ของ บ. ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นกาประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาาทจาก น. เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ. แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วนบ. จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน ตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห้นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ. มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ. ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย การใช้สิทธิบอกล้างต้องภายใน 1 เดือนนับแต่วันทราบมูล
สามีของโจทก์เอาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยปกปิดความจริงและแถลงเท็จว่าไม่เคยให้แพทย์คนใดวินิจฉัยโรคมาก่อน ทั้งที่สามีของโจทก์เป็นโรคตับแข็งและโรคในลำคออยู่ก่อน ทำให้บริษัทจำเลยไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตเสียได้ สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ แต่บริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิบอกล้างเสียภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้จึงหมดสิทธิจะบอกล้าง
of 7