คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีหนี้: การออกเช็คโดยที่เจ้าหนี้ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้แทนลูกหนี้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้ต่อธนาคารเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารดังกล่าว และต่อมาจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อนำไปเบิกเงินและไถ่ถอนจำนองที่ดิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ปรากฏว่าขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทโจทก์ยังไม่ถูกธนาคารฟ้องบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินหรือโจทก์ได้ชำระหนี้จำนองแล้ว ทำให้ขณะนั้นจำเลยยังไม่มีหนี้ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยฉะนั้น การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยที่ยังไม่มีหนี้ซึ่งอาจบังคับได้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 แม้โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นและการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัย
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535คงมีเพียงมาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยและจำเลยผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้อีก
ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 16 ที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์นั้น ไม่เป็นการแตกต่างขัดกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ส. ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในฐานผิดสัญญาประกันภัยมิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 31จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 31 อีก โจทก์ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 40,000 บาทให้แก่ บ. ไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8754/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นจำเลยร่วมในคดีบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนร่วมในหนี้สินโดยตรง
ตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องสอดไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับหนี้เงินกู้และการจำนองที่ดินประกันหนี้เงินกู้ตามที่โจทก์ฟ้องบังคับ คงอ้างแต่เพียงว่า ผู้ร้องสอดเป็นภริยาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยและอยู่ร่วมกับจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี อีกทั้งจำเลยเองก็ขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยที่ขาดนัด การร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ย่อมหาประโยชน์มิได้ ที่ศาลล่างมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความบังคับชำระหนี้ภาษีอากร ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
หนี้ภาษีอากรที่เป็นภาษีอากรค้าง อธิบดีกรมสรรพากรผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 และมาตรา 30แต่ต้องดำเนินการภายใน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อจำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ 31 สิงหาคม 2530 จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินการที่กรมสรรพากรโจทก์นำหนี้ภาษีอากรค้างมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 เป็นการล่วงเลยระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้แล้ว ส่วนการที่จำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนเป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้และวิธีการในการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้ระยะเวลาในการบังคับชำระหนี้ขยายออกไป โจทก์หมดสิทธิในการบังคับชำระหนี้แล้วจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ, และการบังคับชำระหนี้ตามอัตราแลกเปลี่ยน
หนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ความสมบูรณ์ของหนังสือมอบอำนาจจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ทำหนังสือมอบอำนาจนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร
ความมุ่งหมายของการบังคับให้มีสำเนาเอกสารหรือคำแปลเอกสารที่รับรองถูกต้องแห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 3 (2) และ (3) ก็คือเพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือ ความไม่ชอบของเอกสารที่มิได้ระบุชื่อผู้แปลหรือผู้แปลได้สาบานตนหรือไม่ ตามที่ผู้คัดค้านอ้าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญแห่งคดี
การชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่กำหนดให้ผู้คัดค้านใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น ถือว่าไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง จึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147-148/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน, การบังคับชำระหนี้, การผิดสัญญาซื้อขาย และค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ธนาคาร ก. ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า หากบริษัท จ. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา ซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆจากบริษัท จ. ได้แล้ว ธนาคาร ก. ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้บริษัท จ. ชำระก่อน การที่บริษัท จ. ผิดสัญญาซื้อขาย การสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับ และค่าเสียหายตามสัญญาและเมื่อบริษัท จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดแล้วการสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก. ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 แม้ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิก สัญญาซื้อขายต่อบริษัท จ. ก่อนก็ตาม
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ภาษีอากร 10 ปี และผลกระทบต่อการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนด
การใช้วิธีการยึดอายัดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้นมีกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526ซึ่งถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยที่ 1ชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 กับพวกยึดทรัพย์สินของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะใช้วิธีการนี้บังคับแก่โจทก์
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาหลังฟ้องล้มละลาย สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หากมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด
แม้จำเลยจะเพิ่งได้รับโอนที่ดินมาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายแล้วย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หามีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลายไม่ จำเลยจึงไม่ใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้ซ้ำซ้อน: สิทธิของเจ้าหนี้และการขาดมูลหนี้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตามความประสงค์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 314, 315 และ 321 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินเลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับชำระหนี้เงินกู้แทนโจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้: เมื่อเจ้าหนี้เลือกฟ้องผู้กู้แล้ว ผู้รับชำระหนี้แทนไม่อาจฟ้องเรียกเงินจากผู้อื่นได้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ดังนี้ เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ที่ 1 เลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีกเพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป
of 23