พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การผิดสัญญาขั้นตอนสำคัญและสิทธิในการบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินมีลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติตามสัญญาว่าชั้นแรกตามสัญญาข้อ 3 จำเลยทั้งสามจะต้องจัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมและบริวารออกไปจากที่ดินรวมทั้งรื้อถอนอาคารตึกแถวและบ้านของจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เสียก่อน หลังจากนั้นก็ส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์พร้อมจดทะเบียนการเช่า ส่วนโจทก์ก็ต้องชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน 8,000,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสามในวันจดทะเบียนการเช่าการที่จำเลยยังมิได้จัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมรวมทั้งบริวารออกจากที่ดินและยังมิได้รื้อถอนอาคารตึกแถวรวมทั้งบ้านของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินภายในวันที่ 31ธันวาคม 2534 แสดงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3 ซึ่งเป็นสาระ-สำคัญของสัญญา จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ส่วนภายหลังจากที่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสามจะนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 31 มกราคม 2535 พร้อมทั้งให้โจทก์ชำระค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000 บาท แต่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนการเช่าและไม่ยอมชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลือ ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะจำเลยทั้งสามยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่า เมื่อครบ 30 ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่า เมื่อครบ 30 ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการบังคับตามสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกันแล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้นโดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัดแต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการเช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทข้อ2ระบุว่า"ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน389,000บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว"จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้นเพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคหนึ่ง(ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000บาทและจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตามแต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วยดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ถูกเนรเทศ: อำนาจฟ้องของโจทก์และการบังคับตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ถูกสั่งเนรเทศทั้งสี่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้เนรเทศตามพระราชบัญญัติการสั่งเนรเทศฯมาตรา6วรรคหนึ่งและอยู่ในความควบคุมของโจทก์จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้เนรเทศโดยกำหนดความรับผิดของจำเลยไว้ว่าหากไม่สามารถส่งตัวผู้ถูกสั่งเนรเทศทั้งสี่ให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดได้จำเลยยอมให้ปรับตามสัญญาเป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งไว้สัญญาประกันจึงใช้บังคับได้และไม่ใช่การประกันตามมาตรา6วรรคสามซึ่งเป็นการประกันต่อรัฐมนตรีตามคำสั่งผ่อนผันให้ส่งตัวผู้ถูกสั่งเนรเทศไปประกอบอาชีพณที่ใดๆตามคำร้องขอของผู้ถูกสั่งเนรเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการครอบครองปรปักษ์และสัญญาประนีประนอมยอมความ การบังคับตามสัญญาและการแบ่งแยกค่าใช้จ่าย
โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยสงบและเปิดเผยจนถึงวันที่ พ.บิดาจำเลยทั้งสองร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของ พ. โจทก์กับ พ.ได้ตกลงกันให้ พ.เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10228 ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้ว พ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมา พ.ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของ พ.และ พ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับ พ.คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อ พ.บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย
ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าเดิมจำเลยที่ 1 ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรก แต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอน จึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ทำให้จำเลยที่ 1 กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี เมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม สมควรให้เสียภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจากสัญญาจะซื้อขายก่อนยึดทรัพย์: การบังคับตามสัญญาไม่ทำให้สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดเปลี่ยนแปลง
จำเลยทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดให้แก่ผู้ร้องไว้ก่อนวันที่19มีนาคม2533ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถึงแก่กรรมต่อมาวันที่14กันยายน2533ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ ล.จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้อง ล. ตกลง ประนีประนอมยอมความยอมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลได้ พิพากษาตามยอมเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2534ภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินไว้ก่อนแล้วเมื่อวันที่18เมษายน2533ดังนี้การที่ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องเป็นการยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้แก่ผู้ร้องก่อนถึงแก่กรรมหาใช่ ล. เพิ่งก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่และผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยซึ่งได้รับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดตามสัญญาจะซื้อขายแก่ผู้ร้องและการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยปฏิบัติตามที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรส, สัญญาจะซื้อจะขาย, สิทธิใช้ทาง, การบังคับตามสัญญา
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้น จะต้องเป็นการจัดการสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480หากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวคู่สมรสฝ่ายนั้นย่อมจัดการได้เองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1473 คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส จึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ให้การเลยว่าที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสและการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการจัดการสินสมรสแต่อย่างใดคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลย โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาท ทั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วย กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง 6 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ด้วย สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง 6 เมตร และต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลย โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาท ทั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วย กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง 6 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ด้วย สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง 6 เมตร และต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับ และอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญา
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นต้องให้คชก.รับทราบและวินิจฉัยและต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไปหากจะต้องปฎิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้นถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกันก็หาต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อนโจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคชก.ตำบลแต่คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัยเพราะประธานคชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850มีผลบังคับได้ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไปการที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิจากสัญญาประนีประนอมยอมความ การฟ้องบังคับตามสัญญายังไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่ตนเองแต่ผู้เดียวซึ่งผิดไปจากข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสิทธิของตนในสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอน หากปฏิบัติได้ตามคำขอหลัก คำขอค่าเสียหายไม่จำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติให้ใช้ค่าเสียหายศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน ส่วนคำขอที่เรียกค่าเสียหายให้ยก โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นการพิพากษาในประเด็นค่าเสียหายและพิพากษาตามคำขอในฟ้องครบถ้วนแล้ว เพราะโจทก์ฟ้องบังคับให้แลกเปลี่ยนที่ดินเป็นประธาน ส่วนค่าเสียหายเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อสามารถปฏิบัติตามคำขอประธานแล้วก็ไม่จำต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำต่อเนื่องอีก และมิใช่กรณีที่จำเลยจะเลือกชำระได้ตามลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิเสธการรับโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจากกรรมสิทธิ์ร่วม และสิทธิในการบังคับตามสัญญา
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำจากโจทก์ทั้งสองการที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยระงับไปแต่อย่างใดจำเลยยังคงมีความผูกพันกับโจทก์ทั้งสองตามสัญญาโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้อย่างไรก็ตามแต่เหตุที่ทำให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสองตามสัญญาได้เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอกที่มิได้เกี่ยวข้องในระหว่างสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่อยู่นอกเหนือวิสัยและความรับผิดชอบของจำเลยกรณีจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้เช่นเดียวกันจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเบี้ยปรับและค่าเสียหายตามที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง