พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองและหนี้เบิกเงินเกินบัญชี: สัญญาไม่ถือว่าผิดนัดหากบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องหลังครบกำหนด
ในวันที่จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่ผู้ร้องส. มีหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้แม้ ส. จะขอต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ร้องและ ส. ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ทั้งปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้บอกเลิกสัญญาและยังให้บัญชีเดินสะพัดเดินต่อไป จึงเห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดเมื่อหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่าง ส. กับผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด-ดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน 1,000,000บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจากทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงินที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่31 กรกฎาคม 2537 แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้งก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติอีก โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตและการคิดอายุความหนี้สินจากสัญญาที่ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้ และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่า โจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้ และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่า โจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอายุความสัญญาบัตรเครดิต สัญญาไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด อายุความ 2 ปี
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าวโดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตโจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่าโจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระ เป็นการ ผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้ อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7 มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี หากเป็นค่าทดรองจ่าย ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้วจำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิตต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หัก เงิน ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตาม พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระ เงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียก เก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ10 ปีแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม 2534เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และการสิ้นสุดสัญญา
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปีเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ดังนี้ หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปีเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ดังนี้ หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญาเมื่อไม่มีการเดินบัญชี
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ปัญหาข้อกฎหมาย, การบอกเลิกสัญญา, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, บัญชีเดินสะพัด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคสอง
จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว
จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยยอดหนี้ตามบัญชี และการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ และเพิ่มวงเงินกู้ 2 ครั้ง รวมเป็นวงเงิน 5,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบํญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนด จำเลยที่ 1 คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไป แต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชี โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไป จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,095,820.70 บาท รายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณา ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด (บัญชีกระแสรายวัน) ของจำเลยที่ 1 แนบมาท้ายฟ้อง แต่สัญญาบัญชี-เดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 มาท้ายฟ้อง จึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น