พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า แม้มิได้ตกลงในบันทึกข้อตกลง ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าเลี้ยงดูได้
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: ข้อตกลงในทะเบียนหย่าสำคัญกว่าการเลี้ยงดูโดยข้อเท็จจริง
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยมีบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือท้ายทะเบียนหย่าให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงผู้เดียว กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลยังไม่ได้สั่งเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 วรรคหนึ่งแล้วโจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566(6) ข้อตกลงตาม สัญญาหย่าระบุเพียงให้จำเลยไปมาหาสู่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ ตลอดเวลา หามีข้อตกลงให้จำเลยรับบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอุปการะเลี้ยงดูไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำผิดของบุตร การรู้เห็นเป็นใจและละเลยการดูแล
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับแข่ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์เป็นและขับเก่ง การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาไม่ทราบว่าจำเลยขับเก่งแสดงว่าไม่สนใจดูแลเอาใจใส่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเท่าที่ควรและไม่ปรากฏว่าผู้ร้องใส่กุญแจลิ้นชักที่วางกุญแจรถจักรยานยนต์ไว้ให้ดีเป็นเหตุให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปขับได้โดยง่ายเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรเมื่อมิได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการส่งมอบบุตรคืนแก่ผู้มีอำนาจปกครอง
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักลดหย่อนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสที่แยกยื่นภาษี
ผู้มีเงินได้สามารถนำบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ไปหักลดหย่อนจากเงินได้ พึงประเมินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 47 เพราะกฎหมายมุ่งหมายที่จะบรรเทาภาระภาษีให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกันสำหรับภริยาที่มีเงินได้และแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) นั้น มาตรา 57 เบญจ วรรคสอง (2) กำหนดให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้สำหรับบุตรที่หักลดหย่อนได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 47(1)(ค) และ (ฉ) คนละกึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าในปีภาษีที่พิพาท โจทก์และ อ. เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายและต่างก็มีเงินได้ โดย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แบบ ภ.ง.ด. 91 ตามมาตรา 40(1) โจทก์และ อ. จึงต่างมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรทั้งสามซึ่งเกิดจากภริยาเดิมของโจทก์ได้คนละกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนเมื่อใช้คำว่า 'หรือ' ในสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ.และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาทโดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรี หรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยปละละเลยให้บุตรใช้รถโดยมิได้ควบคุมดูแล อาจถือเป็นความรู้เห็นชอบในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 3 เป็นบุตรผู้ร้อง ทั้งรถจักรยานยนต์ของกลางผู้ร้องซื้อมาเพื่อใช้ในการทำมาหากินและรับส่งบุคคลในครอบครัวโดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใช้ในการนำออกไปซื้อของและขับไปโรงเรียนบ้าง จึงพออนุมานได้ว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยที่ 3 จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไปใช้นัก พฤติการณ์มีผลเท่ากับผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยที่ 3 นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวาง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 อายุเพียง 17 ปี อยู่ในวัยรุ่นวัยคะนองนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการขับแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรประพฤติเนรคุณต่อมารดาด้วยถ้อยคำรุนแรงและอกตัญญู
หลังจากโจทก์ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรแล้วจำเลยยังคงเลี้ยงดูโจทก์โดยโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าว ต่อมาจำเลยเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยแสดงอาการรังเกียจเมื่อโจทก์ไปที่บ้านจำเลย และต่อมาเริ่มด่าว่าโจทก์ว่า "อีหัวหงอก อีสันดานหมา ไม่รู้จักภาษาคนมึงจะไปอยู่ที่ไหนก็ไป" กับเคยด่าโจทก์ว่า "อีหัวหงอก อีหัวโคน อีสันดานหมา อีตายยาก กูเกิดผิดพ่อผิดแม่ กูเกิดหลงรู"หลังจากนั้นจำเลยขายบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยโดยมิได้บอกกล่าว ผู้ซื้อจึงได้รื้อถอนบ้านดังกล่าวไป จำเลยบอกโจทก์ว่า "ก็ไม่เลี้ยงมึงอีก มึงจะไปอยู่ที่ไหนก็ไป" โจทก์จึงไปอาศัยอยู่กับน้องสาวจำเลย การที่จำเลยด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำรุนแรงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยสิ้นความเคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเป็นการลบหลู่ และอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ หาใช่เป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพหรือไม่สมควรกระทำต่อมารดาไม่ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้ เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 (2) แม้คำเบิกความของพยานโจทก์จะมิได้ระบุว่า จำเลยด่าโจทก์เมื่อใด ก็มิใช่สาระสำคัญที่ถึงขนาดทำให้พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้เสียเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก: การเข้าไปในบ้านเพื่อพบภรรยาและบุตรหลังคลอด ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเข้าไปบ้านของผู้เสียหายที่ 1 เพราะต้องการจะไปหา ส. ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของจำเลยซึ่งเพิ่งคลอดจาก ส. แม้ ม. จะห้ามไม่ให้เข้าบ้านโดยอ้างว่าส. ไม่อยู่จำเลยก็ไม่ยอมฟังเพราะจำเลยไม่เชื่อว่า ส. จะไม่อยู่ในบ้านดังกล่าวการที่จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 จึงมีเหตุอันสมควรเพื่อต้องการไปหาภริยาและบุตรของจำเลย จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่บิดามารดาอุปการะเลี้ยงดูบุตร แม้มีสินสมรสส่วนตัว ก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูและศึกษา
ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของบิดามารดาตามกฎหมายที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุที่จำเลยมิได้ขอแบ่งสินสมรสจากโจทก์มาเป็นข้ออ้างว่าไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ เมื่อโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรผู้เยาว์คนละ 10,000 บาท ในแต่ละภาคเรียน และตามความเป็นจริงนอกจากค่าใช้จ่ายในการศึกษาแล้วยังจะต้องคำนึงถึงค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ในการครองชีพและการดำรงอยู่ในสังคมตามวัยและความเจริญเติบโต ของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองต่อไปในอนาคตจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ ประกอบด้วยตามสมควร โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างประจำมีเงินเดือน เดือนละ 6,590 บาท ในขณะที่จำเลยรับราชการมีเงินเดือน เดือนละ 12,000 บาท และจะเพิ่มมากขึ้นต่อไป ในแต่ละปี และยังมีรายได้พิเศษส่วนหนึ่งจากการเล่นดนตรี จึงมีรายได้มากกว่าโจทก์แม้จำเลยจะอ้างว่าตนต้องผ่อนชำระหนี้ ส่วนหนึ่งนั้น ก็เป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยและเป็น เหตุเพียงชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นมา เป็นข้ออ้างได้ การที่ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แก่ผู้เยาว์ทั้งสองในชั้นประถมศึกษาคนละ 2,000 บาทต่อเดือน ชั้นมัธยมศึกษาคนละ 3,000 บาทต่อเดือน และชั้นอุดมศึกษา คนละ 4,000 บาทต่อเดือน จนกว่าผู้เยาว์ทั้งสองจะ บรรลุนิติภาวะจึงเหมาะสมแก่สภาพและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว