คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตรบุญธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบุตรบุญธรรมต่อผู้รับบุตรบุญธรรม: การตีความ 'ผู้บุพการี' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมและในวรรคที่2ที่บัญญัติว่าให้นำบทบัญญัติในลักษณะ2หมวด2แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา1561ถึงมาตรา1584/1)มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นหมายความเพียงว่าให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุนมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา1562ที่บัญญัติว่าผู้ใดจะฟังบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้นั้นเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา29เดิม(มาตรา28ที่แก้ไขใหม่)ให้ความหมายของคำว่าผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดาปู่ย่าตายายทวดและผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริงจำเลยเป็นเพียงผู้รับโจกท์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืนยันสถานะทายาทบุตรบุญธรรม ต้องรอให้มีข้อพิพาทจึงจะฟ้องร้องได้ ศาลไม่รับคำร้องขอ
การที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมย่อมเป็นทายาทโดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นอกจากมิได้มีกฎหมายบัญญัติรองรับให้ผู้คัดค้านใช้สิทธิร้องขอต่อศาลได้แล้ว กรณีก็มิใช่ความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพราะหากผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมและทายาท โดยธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเช่นนั้นอยู่แล้ว หากมีผู้ใดโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านมิใช่บุตรบุญธรรมและทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของ ผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทได้ ผู้คัดค้าน ไม่มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของคู่สมรส การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารมหาชน และการไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่จำเป็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โจทก์ยอมรับว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารราชการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนยืนยันว่าทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารที่ถูกต้องเอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารมหาชนเมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมตามทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแล้ว โจทก์ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานสำคัญของโจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดีซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านไปแล้วโจทก์อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้เพราะไม่อาจทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปได้ ฎีกาของโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรศาลอุทธรณ์จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้อนี้อย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของคู่สมรส และความสมบูรณ์ของเอกสารมหาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม (แก้ไขใหม่มาตรา 1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าคู่สมรสจะต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบันทึกด้านหลัง ค.ร.13 ตามคำร้องให้ความยินยอมของคู่สมรสไว้ว่าคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมแล้วการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารมหาชน เมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในที่ดินเช่าและการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัว ถนนเจริญกรุงแขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์, พินัยกรรม, และสิทธิในทรัพย์มรดก: ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและสิทธิการเช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัวถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานครเนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่ 34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับคงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมเจ้ามรดกมีอายุ 25 ปี จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์และการสิทธิในมรดก: ข้อจำกัดด้านอายุและข้อกำหนดการยินยอม
ขณะที่ บ. จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม บ.มีอายุ 25 ปี ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1582 ที่กำหนดว่าผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า30 ปี ส่วนการที่ บ. รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ บ. ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย ขัดต่อ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมของ บ. ย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของ บ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: บิดาผู้ให้กำเนิดหมดอำนาจเมื่อรับบุตรบุญธรรมแล้ว
เมื่อ พ.รับโจทก์ที่6เป็นบุตรบุญธรรมแล้วส. ซึ่งเป็นบิดาโดยกำเนิดย่อมหมดอำนาจปกครองโจทก์ที่ 6 นับแต่วันเวลาที่โจทก์ที่ 6 เป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/28 และแม้ว่าต่อมา พ. จะถึงแก่กรรมอันเป็นเหตุให้ความเป็นผู้ปกครองของ พ. สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/7 เดิม การรับบุตรบุญธรรมก็หาได้สิ้นสุดลงด้วยไม่โดยนิตินัยโจทก์ที่ 6 ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของ พ.อยู่ บิดาผู้ให้กำเนิดเดิมจึงไม่มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย กรณีไม่ใช่เป็นการเลิกรับบุตรบุญธรรมอันจะเป็นเหตุให้บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะอย่างสมบูรณ์ในครอบครัวเดิมของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/37 เดิม ส. จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ (บุคคลวิกลจริต) และสิทธิในฐานะบุตรบุญธรรม
คำว่าบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติ หรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้าเท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจ. ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถนั้นไม่รู้สึกตัวเอง และพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ แสดงให้เห็นว่าจ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว และผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของ จ. ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้อนุบาล จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลทางกฎหมาย ทำให้ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดก
ผู้ตายจดทะเบียนรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมโดยภริยาผู้ตายไม่ได้ให้ความยินยอม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างผู้ตายกับโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/28 โจทก์ทั้งสองจึงไม่เป็นทายาทที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้
of 14